" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวทั่วไป  
NEWS องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ พร้อมผลักดันให้การมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงปลอดภัย ต้องเป็นภาระเร่งด่วนในเอเชียแปซิฟิก
วันที่ลง : 30-Jul-2011   จำนวนคนอ่าน 670

เกือบ 70 % ของประชากรที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้รับผลกระทบจากภัยธรรมขาติในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2554
ในจำนวนนี้ มากกว่า 1 ล้านคนเป็นประขากรที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
          การประชุมฯ ระดับภูมิภาค มุ่งหาทางออก เรื่องที่อยู่อาศัยท่ามกลางสภาวะความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และภัยธรรมชาติ

          ผู้นำขององค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากลเปิดเผยว่า พายุไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว สึนามิ และอุทกภัยและผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น ในขณะที่จำนวนประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพิ่มมากขึ้น หากยังมีการขาดแคลนที่อยู่อาศัยที่ถูกออกแบบและก่อสร้างอย่างถูกต้อง จำนวนผู้ได้รับผลกระทบก็จะเพิ่มสูงขึ้นและผลกระทบนั้นก็ยิ่งจะร้ายแรงมากขึ้นตามไปด้วย
          นายริค แฮททะเวย์ (Mr. Rick Hathaway) รองประธานองค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่าประชากรที่เพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกต้องการที่อยู่อาศัยซึ่งมั่นคงไม่พังทะลายเมื่อประสบภัยแผ่นดินไหวหรือพายุไต้ฝุ่น ทนทานต่อภาวะน้ำท่วมและปลอดภัยจากเถ้าถูเขาไฟ เนื่องจาก 60 เปอร์เซนต์ของประชากรในชุมชนแออัดทั้งโลกอาศัยอยู่ในแถบนี้ บ้านและที่อยู่อาศัยที่มั่นคงปลอดภัยจึงต้องมีความสำคัญเป็นอันดับแรก
          ดังนั้น การหาทางออกที่มีประสิทธิผลในการปกป้องผู้ยากไร้ในเอเชียจากผลกระทบของภัยพิบัติทางธรรมชาติ จึงเป็นหัวข้อหลักในเวทีการประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 3 การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นทุกสองปี และกำลังจะมีขึ้นที่กรุงเทพฯ ในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งเป็นโอกาสที่ผู้แทนรัฐบาล องค์กรไม่แสวงผลกำไร นักวิชาการ และบริษัทเอกชน จะได้พบปะเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเสนอทางออกของปัญหาที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นปัญหาที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
          “คนหลายล้านทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องการที่พักพิงสักแห่งที่เรียกได้ว่าบ้าน บ้านซึ่งมีความหมายมากกว่าที่พักสักแห่งที่เป็นของพวกเขา แต่ยังเป็นที่ที่เด็กๆจะได้รับการศึกษา และเป็นที่ๆครอบครัวใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ และยังรวมถึงโครงสร้างที่พร้อมเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติ” ดร. ชัยณรงค์ มนเทียรวิเชียรฉาย (Dr Chainarong Monthienvichienchai) ประธานกรรมการ มูลนิธิที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติ ประเทศไทย กล่าว “นี่คือสิ่งท้าทายยิ่งใหญ่ และทางออกของที่อยู่อาศัยที่ยั่งยืนทั่วทั้งภูมิภาค เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวด”
          การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 7 - 9 กันยายน พ.ศ. 2554 นี้ คาดว่า จะมีผู้เข้าร่วมการประชุมราว 800 คน จาก 30 ประเทศ สามารถลงทะเบียนได้แล้วที่เว็บไซด์ www.aphousingforum.org การประชุมบ้านและที่อยู่อาศัยภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกปีนี้ จะรวมนิทรรศการ การนำเสนอเทคนิคและบริการทางการเงิน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับบ้านและที่อยู่อาศัย

ผู้บรรยายและผู้สนับสนุนที่ยืนยันเข้าร่วมงานรวมถึง:
          - ฯพณฯ ท่าน นางแอนนา ทิไบจูคา (Honorable Anna Tibaijuka) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาที่ดิน ที่อยู่อาศัย และการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ แห่งสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย (Minister for Lands, Housing and Human Settlements of the United Republic of Tanzania) และอดีตผู้อำนวยการบริหารใหญ่โครงการตั้งถิ่นฐานมุนษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-HABITAT)
          - นาย อัศวิน ดายาล (Mr. Ashvin Dayal) ผู้อำนวยการ ประจำสำนักงานภูมิภาคเอเชีย (Managing Director , Asia)
มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation )
          - นาย ยัง วู ปาร์ค (Mr. Young-Woo Park) ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคและตัวแทนประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Regional Director and Representative for Asia and the Pacific) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)
          - นาย เทรเวอร์ เพียร์ซ (Mr. Trevor Pierce) หัวหน้าการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Head of FX Trading (Asia-Pacific)) ไอเอ็นทีแอล โกลบอล เคอเรนซีส์ (INTL Global Currencies)
          - นายอังเดร เฮอร์ซ็อก (Mr. Andre Herzog) ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านชุมชน สถาบันวิชาการแห่งธนาคารโลก (World Bank Institute)
          - นายทีโอฟิดโต กินโนน่า III (Mr. Teofisto Guingona III), วุฒิสมาชิก สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

          ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยมีประสบการณ์จากภัยฤดูแล้ง แผ่นดินไหว น้ำท่วม และแผ่นดินถล่ม ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า 50 รายและยังมีประชาชนอีกกว่า 1 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบ


ที่มา :  วันที่ 29 กรกฎาคม 2554 ThaiPR.NET



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.