" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวทั่วไป  
NEWS บุกถิ่นเสือเหลือง ชำเลือง "รถไฟทางคู่" ย้อนดู "รถไฟไทย" ตามหลังลิบลับ
วันที่ลง : 10-Jul-2012   จำนวนคนอ่าน 1347

นับเป็นภารกิจส่งท้าย "สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์" ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กับการบินลัดฟ้าไปศึกษาดูงานโครงการรถไฟทางคู่ที่ประเทศมาเลเซีย ก่อนมีบิ๊กเซอร์ไพรส์ถูกโยกไปนั่งเก้าอี้รองปลัดกระทรวงคมนาคม เมื่อ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา

โปรแกรมทริปนี้ถูกเซตขึ้น หลังกระทรวงคมนาคมเตรียมแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยรับมือการเปิด ประตูการค้าของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะมาถึงในปี 2558 เพื่อสำรวจโครงข่ายการคมนาคมที่จะมาเสริมทัพ และรองรับประตูการค้าที่กำลังจะเปิดในอนาคตอันใกล้นี้

"โครงการรถไฟ ทางคู่" เป็นอีกหนึ่งโปรเจ็กต์ที่คมนาคมมีแผนจะลงทุนในระยะเร่งด่วน วางแผนมี 6 เส้นทาง (2553-2558) รวมระยะทาง 873 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 77,458 ล้านบาท หวังบูมประตูการค้าชายแดนไทยให้ราบรื่น

โดยรถไฟทาง คู่ทั้ง 6 เส้นทางถูกบรรจุอยู่ในบัญชีแผนการลงทุน เม็ดเงินก้อนใหญ่ 1.76 แสนล้านบาทที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) รัฐบาลชุดที่แล้วอนุมัติให้ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ไปแล้วเมื่อ 27 เมษายน 2553

แต่จาก วันนั้นจนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า ทุกอย่างยังเป็นเพียงโครงการกระดาษ ส่วนจะเริ่มรันได้ตามแผนที่วาดไว้หรือไม่ ยังต้องรอดูและลุ้นกันต่อ

ทริปครั้งนี้ "ผอ.สร้อยทิพย์" พาลัดเลาะไปตามเส้นทางชายแดนภาคใต้ เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่มาสู่ภาคใต้จาก "หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร-สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์" เชื่อมกับประเทศมาเลเซีย

เริ่มจากเส้นทางนำร่องช่วง "ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร" ก่อน ระยะทาง 167 กิโลเมตร เงินลงทุน 17,000 ล้านบาท ล่าสุดผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการเสร็จแล้ว รอเพียงเม็ดเงินที่จะนำมาก่อสร้างและรัฐบาลยิ่งลักษณ์กดปุ่มไฟเขียว ส่วนที่เหลือจะทยอยให้แล้วเสร็จใน 10 ปี

หลังจากเครื่องบินแลนดิ้ง "สนามบินหาดใหญ่" จ.สงขลาแล้ว ชาวคณะได้นั่งรถบัสต่อเพื่อข้ามฝั่งชายแดนไทยไป "สถานีปาดังเบซาร์" รัฐเปอร์ลิส อยู่ห่างจากเขตแดนไทย 500 เมตร เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย ประตูการขนส่งทางรางระหว่าง 2 ประเทศ

จากนั้นมุ่งหน้าไปต่อที่ "รัฐปีนัง" ดูรถไฟทางคู่ที่กำลังก่อสร้างของรัฐบาลมาเลเซีย จาก "อีโปห์-ปาดังเบซาร์" ระยะทาง 329 กิโลเมตร มีกำหนดแล้วเสร็จและเปิดบริการในเดือนพฤศจิกายน 2557 นี้ ปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้าแล้วประมาณ 80%

"มาเลเซียดูเหมือนเงียบ แต่เขาลงทุนเยอะเพื่อเตรียมรับมือเออีซี ปัจจุบันทุ่มเม็ดเงินเป็นแสนล้านบาท สร้างรถไฟทางคู่ทั่วประเทศให้เสร็จใน 6 ปี ออกแบบเป็นรางขนาด 1 เมตร ระยะทางกว่า 1,600 กิโลเมตร ตอนนี้เหลือช่วงที่ไปปาดังเบซาร์ที่จะเชื่อมกับชายแดนเราเท่านั้นที่เขา ประสบความสำเร็จ เพราะไม่มีปัญหาเรื่องเงินที่จะมาสร้าง" ผอ.สนข.ให้ข้อมูล

รูป แบบการพัฒนาของมาเลเซียก็เหมือนกับประเทศไทย คือสร้างทางคู่ขนาด 1 เมตร ขนได้ทั้งคนและสินค้าเพื่อลดต้นทุน ดังนั้นการต่อเชื่อมกันจึงมั่นใจว่าไม่มีปัญหาแน่นอน นอกจากนี้รถไฟทางคู่ยังออกแบบเพื่อแก้จุดตัดได้ด้วยการสร้างอุโมงค์หรือ สะพานข้าม ซึ่งจะทำให้การเดินทางรวดเร็วขึ้นอีกทั้งช่วยย่นระยะเวลาการเดินทางระหว่าง เมืองได้เป็นชั่วโมง เนื่องจากรถไฟที่จะนำมาวิ่งเป็นรถไฟฟ้าความเร็วไม่เกิน 140 กิโลเมตร/ชั่วโมง จะมีสายส่งไฟฟ้าอยู่ข้างบนเพราะเป็นการวิ่งออกชานเมืองเหมือนกับรถไฟฟ้า แอร์พอร์ตลิงก์ของบ้านเรา ส่วนสองข้างทางจะมีการพัฒนาใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น บ้านจัดสรร ชุมชน เป็นต้น และบางสถานีจะมีการออกแบบสถาปัตยกรรมให้เป็นสถานีท่องเที่ยวของท้องถิ่นนั้น ๆ ได้อีกด้วย

"ทางคู่ของมาเลเซียเขาใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศทำให้ ประหยัดพลังงานได้ เรากำลังคิดจะนำระบบแบบนี้มาใช้เหมือนกัน โดยหารือร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ" ผอ.สนข.กล่าวย้ำ

หลังเสร็จภารกิจ วันแรก รุ่งขึ้นคณะเดินทางไปที่ "สถานีอีโปห์" ต้นทางรถไฟทางคู่สายใหม่วิ่งบริการระหว่างเมืองที่เพิ่งเปิดบริการไปเมื่อ 12 สิงหาคม 2553 ไปยังสถานีปลายทาง "สถานีกัวลาลัมเปอร์" จุดศูนย์กลางระบบขนส่งทางรางของมาเลเซีย รวมระยะทาง 280 กิโลเมตร มี 19 สถานี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 15 นาที

รถไฟสายนี้ทางรัฐบาล มาเลเซียให้สัมปทานเอกชนมาบริหาร โดยนำระบบรถไฟฟ้า ETS (Electric Train Services) ขนาด 6 ตู้ มีความจุผู้โดยสารอยู่ที่ 350 คน/เที่ยว ที่ผลิตจากประเทศจีนและเกาหลีมาวิ่งบนรางขนาด 1 เมตรได้สบาย ๆ ด้วยความเร็วสูงสุด 140 กิโลเมตร/ชั่วโมง ปัจจุบันมีผู้โดยสารมาใช้บริการ 8 แสนคน/ปี คิดอัตราค่าโดยสาร 350 บาท

จากต้นทางถึงปลายทางตลอดสอง ข้างทาง นอกจากแนวเส้นทางจะตัดผ่านที่นาไร่สวนแล้ว ยังมีการพัฒนาใหม่ ๆ เกิดขึ้นตามรายทาง ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านจัดสรรเกิดใหม่อยู่รอบ ๆ สถานีใหญ่

เห็นตัวอย่างจากเพื่อนบ้านแล้วย้อนมาดูเมืองไทย แผนพัฒนาคงจะไม่ทิ้งระยะห่างกันมากนักหากรัฐบาลเริ่มนับหนึ่งสักที



ที่มา  :  09 ก.ค. 2555   ประชาชาติธุรกิจ



TAG :บุกถิ่นเสือเหลือง ชำเลือง "รถไฟทางคู่" ย้อนดู "รถไฟไทย" ตามหลังลิบลับ,ข่าวอสังหา,อสังหาริมทรัพย์,บ้าน,ที่อยู่อาศัย,ข่าวผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง,ข่าวก่อสร้าง,อีบิลด,eBuild,ข่าว

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.