" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวทั่วไป  
NEWS รถไฟฟ้าBTSกินรวบ30ปี1.87แสนล. กทม.ทิ้งทวนอุ้มกรุงเทพธนาคมฟันรายได้2พันล้าน
วันที่ลง : 11-May-2012   จำนวนคนอ่าน 722

"สุขุมพันธุ์" ทิ้งทวนก่อนหมดวาระผู้ว่าฯ กทม. เซ็นสัญญาลอตใหญ่มูลค่ากว่า 1.87 แสนล้าน ว่าจ้างบีทีเอสเดินรถไฟฟ้าทุกโครงข่าย ระยะทาง 35.75 กิโลเมตร ยาว 30 ปี มอบ "กรุงเทพธนาคม" ออกหน้าว่าจ้าง ไม่เข้า พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ด้านทีเอสเผยใช้เงินลงทุนกว่า 2 หมื่นล้าน ซื้อรถไฟฟ้า จ้างพนักงาน และซ่อมบำรุงระบบ "กรุงเทพธนาคม" รับเละค่าจ้างจาก กทม.กว่า 1.8 พันล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 3 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) และทีมผู้บริหาร กทม.ได้ร่วมงานพิธีลงนามสัญญาจ้างระหว่างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด วิสาหกิจของ กทม. กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสสายปัจจุบัน เพื่อว่าจ้างบริษัทบีทีเอสซีเดินรถไฟฟ้าในโครงข่ายของ กทม. เป็นระยะเวลา 30 ปี

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บมจ.บีทีเอสซี เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้เซ็นสัญญาจ้างกับกรุงเทพธนาคม เดินรถไฟฟ้าบีทีเอสให้ กทม.ทุกโครงข่าย ระยะทางรวม 35.75 กิโลเมตร ระยะเวลา 30 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2585 วงเงินค่าจ้าง 187,800 ล้านบาท

30 ปี ลงทุน 2 หมื่นล้าน

โดยสัญญาว่าจ้างแยกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกว่าจ้างเดินรถ 30 ปี สำหรับโครงการส่วนต่อขยาย ได้แก่ ต่อขยายสายสุขุมวิท (อ่อนนุช-แบริ่ง) ระยะทาง 5.3 กิโลเมตร สายสีลม (สถานีตากสิน-วงเวียนใหญ่) ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร และสายวงเวียนใหญ่-บางหว้า ระยะทาง 5.25 กิโลเมตร ส่วนระยะที่ 2 ว่าจ้างเดินรถโครงข่ายบีทีเอสเดิม ระยะทาง 23 กิโลเมตร ระยะเวลา 13 ปี สิ้นสุดปี 2585 หลังสัมปทานเดิม

สิ้นสุดในปี 2572 หรืออีก 17 ปีข้างหน้า ซึ่งต่อไปจะรวมอยู่ในสัญญาเดียวกันทั้งหมด

"ใน 30 ปี บริษัทจะใช้เงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท หลัก ๆ เป็นการลงทุนซื้อรถไฟฟ้า จ้างพนักงานเพิ่ม และซ่อมบำรุงระบบทั้งหมด ซึ่งการซ่อมบำรุงจะมีค่าใช้จ่ายต่อปีค่อนข้างสูง เป็นไปตามอายุการใช้งาน" นายสุรพงษ์กล่าวและว่า

สำหรับการซื้อรถไฟฟ้าตามสัญญาแยกเป็นช่วงเวลา ลอตแรกจำนวน 35 ตู้ เงินลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท จะถึงเมืองไทยกลางเดือนสิงหาคมนี้เพื่อเสริมขบวนรถเดิม จากขบวนละ 3 ตู้เป็น 4 ตู้ รองรับส่วนต่อขยายอ่อนนุช-แบริ่ง เพื่อให้สามารถบรรจุผู้โดยสารต่อเที่ยวได้มากขึ้น

ส่วนลอตที่ 2 สั่งซื้อ 5 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ รวม 20 ตู้ วงเงิน 1,500 ล้านบาท รถจะมาถึงเมืองไทยปลายปี 2556 จะนำมาวิ่งบริการส่วนต่อขยายช่วงตากสิน-บางหว้า ลอตที่ 3 ที่วางแผนไว้ในปี 2562 สั่งซื้อ 7 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ รวม 28 ตู้ และอีก 18 ปีข้างหน้า หรือในปี 2573 ซื้ออีก 70 ตู้ เพื่อมาเสริมและเปลี่ยน 35 ขบวนเดิม จากขบวนละ 4 ตู้เป็น 6 ตู้ ส่วนเงินลงทุนช่วงหลังนี้ยังไม่ได้ประเมิน เพราะขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนด้วย

"ปัจจุบันปริมาณผู้โดยสารวันธรรมดาอยู่ที่ 6 แสนเที่ยวคน/วัน บางวันสูงสุดถึง 7 แสนเที่ยวคน/วัน หลัง กทม.เปิดส่วนต่อขยาย และการเปิดใช้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ทำให้ยอดผู้ใช้บริการบีทีเอสทั้งระบบเพิ่มขึ้น ส่วนรายได้เพิ่มขึ้นเช่นกันอยู่ที่ 14 ล้านบาท/วัน จากเดิมเฉลี่ย 10 ล้านบาท/วัน ด้านค่าใช้จ่ายอยู่ที่ครึ่งหนึ่งของรายได้"

กรุงเทพธนิคมรับเละ 1.8 พัน ล.

นายอมร กิจเชวงกุล กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม กล่าวว่า กทม.จ้างบริษัทเพื่อบริหารจัดการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสทุกโครงข่าย ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวม 1,800 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 60 ล้านบาท โดย กทม.จะจัดสรรงบประมาณประจำปีมาจ่ายให้บริษัท ซึ่งบริษัทได้จ้างบริษัทบีทีเอสซีมาเดินรถอีกต่อหนึ่ง จากเดิมที่เคยว่าจ้างแบบปีต่อปี เดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย เช่น ตากสิน-วงเวียนใหญ่ ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร ทางผู้บริหาร กทม.เลยมีแนวคิดว่าน่าจะรวบสัญญาจ้างเดินรถทุกโครงข่ายมาอยู่ภายใต้สัญญาฉบับเดียวเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าประกัน ค่าบริหารบุคคล เป็นต้น อีกทั้งการว่าจ้างลักษณะนี้ไม่ต้องเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพราะเป็นสัญญาจ้างเดินรถ ไม่ใช่เรื่องของการลงทุน

"ก่อนจะเซ็นสัญญาได้ว่าจ้างที่ปรึกษามาศึกษารูปแบบแล้ว สรุปออกมาแบบนี้จะคุ้มที่สุด จึงได้เจรจากับบีทีเอสจนตกลงรับจ้างเดินรถให้ กทม. โดยค่าจ้างเดินรถ 30 ปี กว่า 1.8 แสนล้านบาทนี้ ค่าจ้างเริ่มต้นปีแรกอยู่ที่กว่า 1,800 ล้านบาท ซึ่งที่ปรึกษาคำนวณดูแล้วต่ำกว่าของสายสีม่วงที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกำลังเจรจากับบริษัทบีเอ็มซีแอล และสำนักบริหารหนี้สาธารณะ หรือ สบน. และเวิลด์แบงก์ได้ศึกษาไว้"

ฟุ้ง กทม.มีรายได้ 3 แสนล้าน

นอกจากนี้ การดำเนินการรูปแบบนี้ กทม.จะควบคุมค่าโดยสารได้ คาดว่าจะมีรายได้จากค่าโดยสารตลอด 30 ปีที่ 300,000 ล้านบาท เมื่อหักค่าจ้างดำเนินการ 187,800 ล้านบาท คงเหลือเป็นรายได้ 110,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละกว่า 3,000 ล้านบาท



ที่มา  :  วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555   ประชาชาติธุรกิจ



TAG :รถไฟฟ้าBTSกินรวบ30ปี1.87แสนล. กทม.ทิ้งทวนอุ้มกรุงเทพธนาคมฟันรายได้2พันล้าน,ข่าวอสังหา,อสังหาริมทรัพย์,บ้าน,ที่อยู่อาศัย,ข่าวผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง,ข่าวก่อสร้าง,อีบิลด,eBuild,ข่าวสร้างบ้านebuild

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.