" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวทั่วไป  
NEWS กนอ.​เดินหน้าพัฒนา4นิคมฯ​ใหม่ รองรับ​การขยายตัวลงทุนที่มุ่งสู่​เอ​เชีย ชี้​ไทย​ได้​เปรียบประ​เทศ
วันที่ลง : 09-Jan-2012   จำนวนคนอ่าน 691

นายวีระพงศ์ ​ไชย​เพิ่ม รอง​ผู้ว่า​การ​การนิคม​แห่งประ​เทศ​ไทย (กนอ.) ​เปิด​เผย​ใน​การสัมมนา "พลิกฟื้นนิคมอุตสาหกรรม​ไทยหลังมหาอุทกภัย 2554" ว่า ขณะนี้ กนอ.อยู่ระหว่าง​การศึกษาพื้นที่​เพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรม​ใหม่ 4 ​แห่ง ​ได้​แก่ 1.นิคมฯพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนุบรี ​เนื้อที่ 500-1,000 ​ไร่ รูป​แบบ​เป็นนิคมฯ​การค้า​และบริ​การด้าน ​โลจิสติกส์ ​โดย​การศึกษานิคมฯดังกล่าวจะต้อง​แล้ว​เสร็จ​ใน​เดือนกันยายน 2555 นี้ ​และก่อสร้าง​ให้​เสร็จภาย​ในปี 2556-2557 ​เพื่อ​เชื่อมต่ออุตสาหกรรม​เหล็ก ปิ​โตร​เคมี ​และ​โรงกลั่น ที่จะ​เกิดขึ้น​ในนิคมฯทวาย ประ​เทศพม่า ที่จะก่อสร้าง​แล้ว​เสร็จ​ในปี 2559 2.นิคมฯ​เชียงของ จังหวัด​เชียงราย ​เนื้อที่ 2,000 ​ไร่ ขณะนี้​ทำ​การออก​แบบ​และอยู่ระหว่าง​การหาพันธมิตร​เพื่อร่วมลงทุนพัฒนานิคมฯ​ให้​เสร็จภาย​ในปี 2555 รูป​แบบนิคมฯ​แบ่ง​เป็น 2 ส่วน คือ รองรับอุตสาหกรรม​แปรรูป​การ​เกษตร อาหาร ยา ​และนิคมฯบริ​การด้าน​โลจิสติกส์ ​เชื่อม​โยง​การขนส่ง​ไปยังมณฑลยูนนาน ประ​เทศจีน

3.นิคมฯขอน​แก่น ​ซึ่ง​ให้​ผู้ว่าราช​การจังหวัด​และมหาวิทยาลัยขอน​แก่น ศึกษารูป​แบบของนิคมฯ ​เพื่อรองรับ​การค้า​และอุตสาหกรรม​เชื่อม​โยงประ​เทศ​เวียดนาม ประ​เทศลาว ​และ4.นิคมฯบริ​การที่​แม่สอด ภาย​ใน​เขต​เศรษฐกิจพิ​เศษ​แม่สอด จังหวัดตาก ​โดย​ทั้งหมดจะต้องดำ​เนิน​การภาย​ใต้นิคมอุตสาหกรรม​เชิงนิ​เวศน์ (อี​โคทาวน์)

นายสม​เจตน์ ทิณพงษ์ อดีต​ผู้ว่า​การ กนอ.กล่าวว่า ​ไทยต้อง​เร่งปรับตัว​ให้สอดรับ​การพัฒนานิคมฯทวาย ถือ​เป็น​เรื่องที่ต้อง​เร่งดำ​เนิน​การภาย​ใต้กรอบ 3 ด้าน คือ 1.​การ​เปลี่ยน​แปลงของ​โลก ที่ทั่ว​โลก​เริ่ม​ให้​ความสน​ใจกับภูมิภาค​เอ​เชียมากขึ้น ​โดย​ในปี 2563 มหาสมุทรอิน​เดียจะมีขนาดตลาด​ใหญ่ที่สุดของ​โลก 2.​การ​เปลี่ยน​แปลง​ในภูมิภาค ที่จะมี​การ​เปิด​เสรีประชาคม​เศรษฐกิจอา​เซียน (​เออีซี) ​ในปี 2558 ตลอดจน​การค้า​เสรีต่างๆ ​ซึ่ง​แนว​โน้ม​ในอนาคตจะ​เห็นว่าภูมิภาคนี้จะ​ใหญ่ขึ้น​และ​เป็นศูนย์กลาง​การค้า 3.​การ​เข้า​ไปตั้งนิคมฯชาย​แดน ​เพื่อสอดรับกันถือ​เป็น​เรื่องที่ถูกต้อง ​แต่​ทั้งนี้​ก็ยังมี​ความซับซ้อน​ใน​การดำ​เนิน​การของ กนอ.​เอง ​เนื่องจาก กนอ.มีกฎหมายที่ต้องดำ​เนิน​การตาม พ.ร.บ.​การนิคม พ.ศ.2522 ​ทำ​ให้​การจะ​ไปลงทุนต่างประ​เทศ​ทำ​ได้ยาก ดังนั้น​จึงต้องมี​การ​แก้กฎหมาย​ให้สามารถ​ไปลงทุนต่างประ​เทศ (ออฟชอร์) ​ได้ ​เรื่องนี้ถือ​เป็น​ความท้าทาย

"ดี​ใจที่ตอนนี้ กนอ.​เริ่มมี​การคิดชิดขอบ​เพื่อนบ้าน​แล้ว ​ซึ่งขณะนี้มี​การ​เปิด​เสรี​การค้ามากขึ้น ​การ​เข้า​ไปตั้งนิคมฯตามชาย​แดนถือว่า​เป็น​เรื่องที่ถูกต้อง​แล้ว ​โดย​เฉพาะ​การตั้งนิคมฯชาย​แดน​เพื่อรองรับนิคมฯทวาย ​เพราะนิคมฯทวาย ​ใหญ่กว่านิคมฯมาบตาพุด ​ถึง 10 ​เท่าที​เดียว ​และ​ไทย​เอง​ก็มี​ความ​ได้​เปรียบประ​เทศคู่​แข่งอยู่​แล้ว ​เพราะตั้งอยู่จุดกลางผ่านระหว่างจีน​และอิน​เดียที่​เป็นประ​เทศ​ใหญ่​ในภูมิภาคนี้"นายสม​เจตน์ กล่าว

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรม​แห่งประ​เทศ​ไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ​เห็นด้วยที่จะมี​การตั้งนิคมฯชาย​แดน ​เพราะจะ​เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมขนาดกลาง​และขนาดย่อม (​เอส​เอ็มอี) ด้วย ​และยังจะ​เป็น​การ​เปลี่ยนฐานอุตสาหกรรมจาก​การ​เป็นประ​เทศที่​ใช้​แรงงาน​เข้มข้น​ไปสู่อุตสาหกรรมที่​ใช้​ความรู้​และ​เทค​โน​โลยี​แทน รวม​ทั้งยัง​เป็น​การกระจาย​แรงงาน​ไปตามภูมิภาคต่างๆ ​เพื่อ​แก้ปัญหา​การ​แออัด​ใน​เมืองหลวง ​โดยปัจจุบันนิคมฯมี​ไม่​เพียงพอต่อ​การรองรับ​การลงทุนมานาน​แล้ว



ที่มา  :  หนังสือพิมพ์​แนวหน้า -- ​เสาร์ที่ 7 มกราคม 2555



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.