" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวทั่วไป  
NEWS ที่ดินชะงักไม่ปรับราคาประเมิน ชงเลื่อนบังคับใช้ราคาใหม่ไปปี′56 นายหน้าป่วน-รัฐสูญหมื่นล้าน
วันที่ลง : 16-Dec-2011   จำนวนคนอ่าน 904

รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" รับลูกข้อเสนอ 3 สมาคมอสังหาฯ เลื่อนบังคับใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ออกไป 1 ปี เริ่ม 1 มกราคม 56 กรมที่ดินชี้รัฐสูญรายได้ปีละ 5 พัน-1 หมื่นล้านบาท พร้อมชงข้อเสนอเยียวยาผู้ประสบภัย 22 จังหวัด ยกเว้นค่าธรรมเนียมออกใบแทนหนังสือกรรมสิทธิ์ กรณีสูญหายจากน้ำท่วม ควบยกเว้นค่ารังวัดที่ดิน ด้านเอกชนเตรียมยื่นหนังสือถึงนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ขอมาตรการช่วยเหลือด่วน ทั้งแผนป้องกันน้ำท่วมระยะยาว-จัดทำผังเมืองภาคมหานคร-ให้แบงก์รัฐเป็นหัวหอกปล่อยสินเชื่อ


นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลย์วุฒิ อธิบดีกรมที่ดิน เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากผลกระทบมหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ทางภาคเอกชนโดยตัวแทนของ 3 สมาคมธุรกิจวงการพัฒนาที่ดิน ประกอบด้วยสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอาคารชุดไทย และสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ภาคธุรกิจตลอดจนประชาชนทั่วไปได้เข้าหารือเพื่อขอให้มีการเลื่อนการบังคับใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ ที่จะประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม 2555

ฟันธงเลื่อนบังคับใช้ 1 ปี

อย่างไรก็ตาม กรมที่ดินได้แนะนำว่าให้เสนอไปยังรัฐบาลโดยตรง เพราะเป็นระดับนโยบายที่มีอำนาจตัดสินใจ และมีแนวโน้มว่ารัฐบาลจะตัดสินใจเลื่อนการบังคับใช้ราคาประเมินใหม่ออกไป 1-2 ปี โดยแนวโน้มสูงสุดคือเลื่อนใช้ 1 ปี

ทั้งนี้ ราคาประเมินที่ดินอยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง จะมีการทบทวนปรับปรุงทุก ๆ 4 ปี สำหรับเป็นฐานคำนวณในการเสียภาษีและค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์เมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้น โดยวันที่ 1 มกราคม 2555 จะครบรอบที่ต้องปรับราคาประเมินใหม่อีกครั้ง แต่ถ้าหากมีการเลื่อนบังคับใช้ออกไป จะทำให้รัฐสูญรายได้ภาษีตกปีละ 5,000-10,000 ล้านบาท เพราะราคาประเมินใหม่มีการปรับขึ้นเฉลี่ย 10-20%

ชงยกเว้นค่า "รังวัด-ออกใบแทน"

นายอนุวัฒน์กล่าวว่า สำหรับมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกรมที่ดิน ล่าสุด ได้จัดทำชุดข้อเสนอให้นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รมช.มหาดไทย กำกับดูแลกรมที่ดิน และนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รมว.มหาดไทยพิจารณา โดยให้ความช่วยเหลือเฉพาะพื้นที่ 22 จังหวัดตามประกาศเขตหยุดราชการ เนื่องจากภัยพิบัติน้ำท่วม มี 2 ข้อคือ 1.ยกเว้นค่าธรรมเนียมการยื่นขอออกใบแทนหนังสือกรรมสิทธิ์ที่เป็นอันตรายหรือสูญหายจากน้ำท่วม ปกติมีค่าใช้จ่ายฉบับละ 100 บาท คาดว่าจะมีผู้ขอออกใบแทนประมาณ 2 หมื่นฉบับ

2.ยกเว้นค่าธรรมเนียมรังวัดสอบเขต การตรวจสอบที่ดินที่ถูกประสบภัยน้ำท่วม คาดว่ามี 1-1.5 หมื่นแปลง ประชาชนประหยัดได้แปลงละ 1,500 บาท

ชี้ประชาชนรับอานิสงส์เต็ม ๆ

นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ราคาประเมินของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังเดิมจะประกาศใช้ 1 มกราคม 2555 แต่จากวิกฤตน้ำท่วม สมาคมจึงขอให้เลื่อนบังคับใช้ไปอีก 1 ปี ขณะเดียวกันในทางปฏิบัติถ้ารัฐเกรงว่าจะกระทบต่อรอบบัญชี 4 ปีของการปรับปรุงราคาประเมินที่ดิน ก็ให้ประกาศใช้ราคาประเมินใหม่ตามปกติ แต่ผ่อนผันให้เฉพาะพื้นที่น้ำท่วมต่อไปอีก 1 ปี ส่วนนี้ประชาชนจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากที่ค่าโอนและภาษีเงินได้จะลดลง ขณะที่ผู‰ประกอบการก็ได‰รับประโยชน์ด้วย

นายอิสระกล่าวว่า 3 สมาคมอสังหาฯจะประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางของความช่วยเหลือ โดยจะทำหนังสือถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายก รัฐมนตรีภายในสัปดาห์หน้า นอกจากเรื่องผ่อนผันราคาประเมินที่ดินใหม่แล้ว ยังมีอีก 3-4 ประเด็นที่จะเรียกร้อง

ยื่น "นายกฯปู" ช่วยเหลือด่วน

1.อยากให้รัฐบาลมมาตรการและกรอบเวลาป้องกันน้ำท่วมที่ชัดเจนและทำโดยเร็ว เพื่อให้เอกชนใช้เป็นแนวทางในการลงทุนป้องกันตนเองได้

2.รัฐจะทำเฉพาะผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร หรือผังเมืองจังหวัดไม่ได้ แต่ต้องทำผังภาคมหานคร โดยที่มีการศึกษาไว้เสร็จแล้วแต่ไม่มีกฎหมายมารองรับ การกำหนดวิสัยทัศน์การใช้ประโยชน์ที่ดินในระยะยาว ตั้งแต่ 5 ปี 10 ปี ไปจนถึง 15-30-50 ปีข้างหน้า

3.ให้รัฐออกมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อให้ธนาคารรัฐเป็นหัวหอกปล่อยสินเชื่อในพื้นที่ประสบภัย เพราะสถาบันการเงินเอกชนประกาศแล้วว่า จะประเมินให‰วงเงินสินเชื่อลดลง 20% ต้องใช้กลไกธนาคารรัฐช่วยฟื้นความเชื่อมั่น

ราคาประเมินใหม่ กทม.เพิ่ม 30%

นายกิตติพล ปราโมช ณ อยุธยา นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ราคาประเมินที่ดินใหม่ จะทำให้ประชาชน มีภาระค่าธรรมเนียมสูงขึ้น จึงขอให้ชะลอไป 1 ปี เพราะน้ำท่วมกระทบกำลังซื้ออยู่แล้ว

สอดคล้องกับนายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย ที่เห็นด้วยกับการเลื่อนการบังคับใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่

ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการพัฒนา ที่ดินให้ความเห็นว่าการเลื่อนปรับราคาประเมินที่ดินจะส่งผลกระทบต่อเจ้าของที่ดินรายใหญ่และวงการนายหน้าค้าที่ดิน เพราะราคาที่ดินจะปรับขึ้นช้า ออกไปจากปกติจะปรับขึ้นโดยเฉลี่ย 10-20 % ต่อปี ส่งผลให‰ราคาซื้อขายที่ดินน้อยกว่าที่ควรจะเป็น นายหน้าก็ได้ค่านายหน้าน้อยลงด้วย



ที่มา  :  วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554  ประชาชาติธุรกิจ



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.