" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวทั่วไป  
NEWS ขอ2.4พันล.รื้อผังเมืองแก้น้ำท่วม โยธาฯโฟกัส27จังหวัดแยกเขต"อยู่อาศัย-ฟลัดเวย์"
วันที่ลง : 07-Dec-2011   จำนวนคนอ่าน 672

โยธาฯขอ 2,400 ล้าน ผุดผังเมืองป้องกันอุทกภัยลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน เจ้าพระยา ท่าจีน สะแกกรัง ครอบคลุม 27 จังหวัดภาคเหนือ กลาง และตะวันตก หวังแก้น้ำท่วม ยั่งยืน คุมชัดพื้นที่ไหนเหมาะสมอยู่อาศัย เขตอุตสาหกรรม ทำเกษตรกรรมและรับน้ำ ตามระดับความสูง-ต่ำของพื้นดิน คาดใช้เวลา 300 วัน


นายเชตวัน อนันตสมบูรณ์ รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปีนี้ เพื่อแก้ไขป?ญหาอย่าง ยั่งยืน กรมได้ของบประมาณ 2,400 ล้านบาท แยกเป็นงบฯกลางปี 2555 วงเงิน 900 ล้านบาทและงบฯที่ขอแปรญัตติเพิ่มเติม 1,500 ล้านบาท จัดทำผังเมืองป้องกันอุทกภัยลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ในพื้นที่น้ำท่วม เนื่องจากวิธีการแก้ปัญหาไม่ใช่เรื่องโครงสร้างอย่างเดียว จะต้องมีมาตรการด้านผังเมืองเกี่ยวข้องด้วย

โดยวงเงิน 900 ล้านบาท จะจัดทำผังเมืองป้องกันอุทกภัยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำ สะแกกรัง ครอบคลุม 13 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครปฐม ส่วนอีก 1,500 ล้านบาท จะจัดทำผังเมืองป้องกันอุทกภัยในลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ครอบคลุม 14 จังหวัดภาคเหนือ รวมถึงจังหวัดเพชรบูรณ์และสระบุรี

"หลังได้งบประมาณแล้วจะดำเนินการทันทีให้แล้วเสร็จใน 300 วัน จากนั้นจะนำไปใช้ได้ จะให้แต่ละจังหวัดและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องนำไปเป็นทิศทางการพัฒนาต่อไป" นายเชตวันกล่าวและว่า

ซึ่งผังเมืองรวมฉบับนี้จะดำเนินการได้เร็วเพราะเป็นผังเมืองเชิงนโยบายระดับจังหวัด ไม่ได้เป็นผังเมืองรวมที่บังคับใช้ตามกฎหมายเหมือนผังเมืองรวมทั่วไป จึงไม่ต้องผ่านการประชาพิจารณ์ เมื่ดจัดทำเสร็จจะเสนอให้รัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทยลงนาม ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ เมื่อ ครม.อนุมัติจะนำมาบังคับใช้ได้ทันที โดยหน่วยงานเช่น กรมชลประทาน การนิคมฯ ท้องถิ่น เป็นต้น จะต้องนำผังเมืองรวมฉบับนี้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป อาทิ ขออนุญาตก่อสร้างสร้างที่อยู่อาศัย โรงงาน

สำหรับรายละเอียดที่จะมาใช้เป็นมาตรการ เน้นการป้องกันน้ำท่วมเป็นหลัก เริ่มจากการหาระดับความสูงของพื้นดินแต่ละจังหวัด เพื่อกำหนดพื้นที่ให้ชัดเจนว่าบริเวณไหนเหมาะสมสร้างที่อยู่อาศัย พื้นที่รับน้ำ แก้มลิง แนวฟลัดเวย์ เขตอุตสาหกรรมทั้งที่เป็นมลพิษและไม่เป็นมลพิษ และพื้นที่การเกษตรกรรม เพื่อไม่ให้กีดขวางทางน้ำ

"บริเวณไหนที่เป็นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมถึงจะไม่ให้มีการก่อสร้างเพิ่ม แต่ชุมชนเดิมที่มีอยู่แล้ว หากดูแล้วเป็นพื้นที่เหมาะสมก็ไม่ต้องย้ายไปไหน แต่หากพื้นที่ไหนมีน้ำท่วมและประชาชนไม่ยอมย้ายออก ต้องยอมรับสภาพที่เกิดขึ้น และไม่ให้พัฒนาเพิ่ม หากพื้นที่ไหนที่จำเป็นจะต้องย้ายจะเสนอแนะให้รัฐบาลเวนคืนที่ดิน ทำเป็นพื้นที่เก็บกักน้ำแทน"

โดยกรมจะประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมชลประทาน จะขอนโยบายชัดเจนว่ามีแผนจะสร้างแนวฟลัดเวย์หรือเขื่อนในบริเวณไหน เพิ่มบ้าง รวมถึงกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ดูแลโรงงาน เพื่อนำมาประกอบการวางผังเมืองต่อไป




ที่มา  :  วันที่ 06 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ประชาชาติธุรกิจ



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.