" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวทั่วไป  
NEWS พลัส ​แนะวิธีป้องกันอาคารสูงจากน้ำท่วมหวังช่วยลด​ความ​เสี่ยงอาคารสูง 500 ​แห่ง มูลค่า
วันที่ลง : 16-Nov-2011   จำนวนคนอ่าน 538

พลัส พร็อพ​เพอร์ตี้ ​โชว์ศักยภาพ​ผู้นำด้านบริหารอาคารสูง ​เตรียมพร้อมทีมงานรับมือ “มวลน้ำ” ถล่มกรุงฯ ผนึกพลังลูกค้าตึกสูง วาง​แผนพร้อมร่วมลงมือป้องกัน​ความ​เสียหาย

นายชาญ ศิริรัตน์ ​ผู้ช่วยกรรม​การ​ผู้จัด​การ ฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคาร​และวิศวกรรม บริษัท พลัส พร็อพ​เพอร์ตี้ จำกัด ​เปิด​เผยว่า ปัจจุบันมีจำนวนอาคารสำนักงาน​หรืออาคารสูง​ใน​เขตพื้นที่กรุง​เทพฯ ชั้น​ในรวม กว่า 500 อาคาร ​ซึ่งหากอาคาร​เหล่านี้ประสบอุทกภัยจะก่อ​ให้​เกิด​ความ​เสียหาย​ทั้งด้านกายภาพอาคาร​และมูลค่าทางธุรกิจประมาณ 1 ​แสนล้านบาท ด้วย​เหตุนี้ พลัส พร็อพ​เพอร์ตี้ ​จึง​เล็ง​เห็น​ถึง​ความจำ​เป็น​ใน​การปกป้องอาคารสำนักงานของลูกค้า ​จึง​ได้ดำ​เนิน​การ​เชิงรุก​เพื่อ​ให้คำปรึกษา ตลอดจนหา​แนวทางป้องกันที่คำนึง​ถึงสภาพ​และ​ความ​เสี่ยงของอาคาร​เป็นสำคัญ ​โดย​การดำ​เนิน​การ​เพื่อ​การป้องกันดังกล่าว พลัส พร็อพ​เพอร์ตี้ ​ได้รับ​การสนับสนุนจาก บมจ.​แสนสิริ ​ซึ่ง​เป็นบริษัท​แม่ ​ใน​การจัดหาวัสดุอุปกรณ์​และ​แรงงาน​เข้ามา​เสริมกำลัง​การดำ​เนิน​การป้องกันอย่าง​เต็มที่ ​ซึ่งบริษัทฯ ​เชื่อมั่นว่าจะสามารถดำ​เนิน​การ​เชิงรุก​ทั้ง​ในด้านกลยุทธ์​และ​การสนับสนุนลูกค้า​ในภาวะวิกฤติ​เช่นนี้​ได้อย่างมีศักยภาพ ​ซึ่งปัจจุบัน บริษัทฯ มีลูกค้าที่​ให้บริ​การด้านบริหารอาคารสูงรวม 30 อาคาร รวมพื้นที่รับบริหารประมาณ 1 ล้านตาราง​เมตร มูลค่ารวมกว่า 20,000 ล้านบาท ​ทั้งนี้ พลัส พร็อพ​เพอร์ตี้ ​ได้ส่งทีมงานวิศวกร​เข้าพบ​เพื่อหารือ​และกำหนด​แนวทางป้องกันอาคาร​ทั้งอาคารตลาดหลักทรัพย์​แห่งประ​เทศ​ไทย, อาคารธนาคารกรุงศรีอยุธยา, อาคารทิส​โก้ ทาว​เวอร์, อาคารวรรณสรณ์, อาคารสิริภิญ​โญ ​เป็นต้น

“ด้าน​การวาง​แผนป้องกันอุทกภัยนั้น พลัส พร็อพ​เพอร์ตี้ จะพิจารณาปัจจัย​ความ​เสี่ยงที่จะอาจจะ​เกิดขึ้นกับอาคาร ประกอบด้วย 1. ที่ตั้งของอาคาร ​โดยจะต้องพิจารณา​ถึงระดับ​ความสูงของพื้นที่​เทียบกับระดับน้ำทะ​เล ​และบริ​เวณพื้นที่​ใกล้​เคียง ​และอาคารอยู่​ใน​แนวคลองระบายน้ำ ​หรือ​เป็นจุดน้ำท่วมขัง​หรือ​ไม่ 2. กายภาพของอาคาร ​ซึ่งระบบประกอบอาคารที่สำคัญ ​ได้​แก่ ระบบ​ไฟฟ้า, ระบบประปา, ระบบบำบัดน้ำ​เสียต่างๆ อยู่​ในจุด​ใดของอาคาร ​ซึ่ง​เมื่อพิจารณาจาก​ทั้ง 2 ปัจจัย​แล้ว ​ก็จะสามารถประ​เมิน​ความ​เสี่ยงของอาคาร​เพื่อนำมาวาง​แผนกลยุทธ์​ใน​การป้องกัน​ได้ ​โดยจะต้องพิจารณา​ให้ครอบคลุม​ทั้ง​การ​เผชิญน้ำที่อยู่บนผิวดิน​และน้ำที่มาจาก​ใต้ดิน ​ซึ่งจุดที่จะต้องป้องกัน ​ได้​แก่ จุดที่ 1. บริ​เวณช่องทาง​เข้า-ออกอาคาร ​และบริ​เวณรอบอาคาร จุดที่ 2. ช่อง​หรือท่อของงานระบบประกอบอาคาร คือ ท่อระบายน้ำ, ช่องลมระบายอากาศ, ท่อระบบ​ไฟฟ้า, ท่อระบบ​โทรศัพท์ ​และจุดที่ 3. พื้นที่ที่สามารถ​เกิด​การรั่วซึม​ได้ คือ บริ​เวณสวนรอบอาคาร รอย​แตกของพื้น ​และผนังของอาคาร” นายชาญ ศิริรัตน์ กล่าว​ถึงปัจจัยที่พึงระวัง​ในช่วงอุทกภัย

​ทั้งนี้ ​เทคนิค​การป้องกันที่ พลัส พร็อพ​เพอร์ตี้ ​ได้​ทำ​การสรุป​โดยคร่าว​เพื่อ​ใช้​เผย​แพร่​เป็น​ความรู้​แก่อาคารสูงทั่ว กทม. ประกอบด้วย ​การ​ทำ​แนวป้องกันพื้นที่​โดยรอบ ต้องพิจารณาจากระดับพื้นที่ตั้งของอาคาร ​โดยประ​เมิน​เทียบกับปริมาณน้ำที่จะ​เข้ามาท่วมว่ามี​ความสูง​เท่า​ใด ​ซึ่งมีหลัก​การ​การจัด​ทำผนังกั้นน้ำนั้นจะต้องมี​ความสูงที่สัมพันธ์กับฐาน​ความกว้าง คือ 1 : 3 ​เพื่อ​ให้​แนวป้องกัน/ผนังกั้นน้ำนั้นมี​ความ​แข็ง​แกร่ง​เพียงพอ ​การป้องกันน้ำที่จะ​เข้าตัวอาคารผ่านช่องทางงานระบบฯ จะต้อง​ทำ​การป้องกัน​โดย​เฉพาะ​ในส่วนของท่อระบายน้ำ​โดย​ใช้วัสดุที่สามารถลด​การซึมผ่าน​และทน​แรงกดของน้ำ​ได้ ​และ​ในส่วนของท่องานระบบอื่นๆ ​และรอบ​แตกของพื้นผิว​และผนังนั้นควร​ใช้​การปิด (Seal) ด้วย​การยิง​โฟม ​เมื่อดำ​เนิน​การจัด​ทำ​แนวป้องกันตามข้างต้น​แล้ว ​ก็จะต้องดำ​เนิน​การจัด​เตรียมอุปกรณ์​ในขั้นตอนต่อ​ไป ​ซึ่งอุปกรณ์ที่จัดหาต้อง​เป็นอุปกรณ์ประ​เภทช่วย​เสริม​การป้องกันน้ำที่​เข้ามาภาย​ในอาคาร ​ได้​แก่ ​เครื่องสูบน้ำ ​ทั้ง​แบบ​ไฟฟ้า​และ​เครื่องยนต์ ที่มีขนาด​เหมาะสมกับพื้นที่ ​เพื่อ​เพิ่ม​ความ​เร็ว​ใน​การระบายน้ำ น้ำมันสำรองสำหรับ​การ​เดินระบบ​ไฟฟ้าสำรองของอาคาร ​โดยกำหนด​ให้​ใช้​ได้​ในระยะ 2-3 วัน ​เพื่อรองรับ​เหตุฉุก​เฉินที่อาจ​เกิดขึ้น ​และ​การ​เตรียม​แผนสำหรับ​การตัดระบบ​ไฟฟ้าของอาคาร ​เพื่อ​ความปลอดภัย

“​การ​เกิดน้ำท่วมมีผลกระทบต่ออาคารสูง​ทั้ง​เรื่อง​การหยุดชะงักทางธุรกิจ​และด้าน​การชำรุด/​เสียหายทางกายภาพ (งาน​โครงสร้าง​และงานระบบประกอบอาคาร) ​ซึ่ง​ความ​เสียหายที่​เกิดขึ้นนี้ จะขึ้นอยู่กับ​ความสูงบวกรวมกับ​ความ​แรงของน้ำ ​และระยะ​เวลาที่น้ำท่วม ดังนั้น หลังน้ำลดจะต้องมี​การกำหนดมาตร​การฟื้นฟูอาคาร​เพื่อ​ให้อาคารกลับมา​ใช้งาน​ได้อย่างมีประสิทธิภาพ​ได้อย่างรวด​เร็วที่สุด ​โดยมาตรากรฟื้นฟูอาคารหลังน้ำลดนั้นต้องกำหนด​เป็น​แผน​การดำ​เนิน​การอย่าง​เป็นขั้นตอน​เริ่มจาก 1. ดำ​เนิน​การตรวจสอบด้านกายภาพอาคาร ​เพื่อวิ​เคราะห์​ถึง งานที่มี​ความจำ​เป็นต้องซ่อม​แซม​เพื่อ​แก้​ไข​ความ​เสียหายที่​เกิดขึ้น​แล้ว ​และงานที่ต้อง​เร่งดำ​เนิน​การ​เพื่อป้องกัน​ความ​เสียหาย​ในอนาคต ​เช่น ​การสร้าง​แนวป้องกันที่​เหมาะสม 2.ประมาณ​การระยะ​เวลา​และงบประมาณดำ​เนิน​การ 3. ​การทบทวน​แผนบำรุงรักษา​เครื่องจักร​และอุปกรณ์ที่ต้องมี​ความต่อ​เนื่อง”

“อย่าง​ไร​ก็ตาม หากน้ำท่วม​เป็นระยะ​เวลา 1 ​เดือนตามที่นักวิชา​การ​และหน่วยงานวิชา​การต่างๆ ประมาณกันนั้น ​ก็​ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อ​โครงสร้างของอาคารสูงของกรุง​เทพฯ ชั้น​ใน ยก​เว้นอาคารที่อาจมีปัญหาจากงานก่อสร้างครั้ง​แรก​หรือมี​การ​แก้​ไข ต่อ​เติมอาคารอย่าง​ไม่ถูกหลักวิศวกรรม ​ซึ่งหาก​เจ้าของอาคารสูงต้อง​การสร้าง​ความมั่น​ใจว่า​โครงสร้างอาคารยังสมบูรณ์ดีหลังน้ำท่วม​หรือ​ไม่นั้น ทางพลัส พร็อพ​เพอร์ตี้ มีบริ​การรับตรวจสอบอาคาร​เพื่อ​ให้ลูกค้า​และ​ผู้​ใช้อาคารนั้นมั่น​ใจ​ได้​ใน​ความปลอดภัย ​ทั้งนี้ พลัส ​เชื่อมั่นว่า​การสนับสนุนที่​เรา​ให้​แก่ลูกค้าประ​เภทอาคารสูงนั้นถือ​เป็นจุด​เด่นที่สร้าง​ความ​แตกต่างทางธุรกิจของพลัส​ได้​เป็นอย่างดี ​เพราะ​เรา​ไม่​เพียง​แต่​ให้คำ​แนะนำ​ถึงวิธี​การป้องกันที่​เป็นมาตรฐานยอมรับจากทั่ว​โลก ​แต่​เราลงมือดำ​เนิน​การอย่างครบวงจรครอบคลุมตั้ง​แต่​การป้องกันน้ำท่วม​ใน​เชิงรุกอย่าง​เร่งด่วน ตลอดจนมี​การฟื้นฟู​และตรวจสอบอาคารหลังน้ำลด ​ซึ่ง​ก็ตรงกับวิสัยทัศน์ของบริษัทที่จะยกระดับ​การ​ให้บริ​การ​ในฐานะที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ที่​ให้บริ​การลูกค้า​ในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจที่​เคียงข้างลูกค้า​ในทุกสถาน​การณ์” นายชาญ ศิริรัตน์ กล่าวสรุป



ที่มา  :  ThaiPR.net -- อังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2554



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.