" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวทั่วไป  
NEWS "หมู่บ้าน-อพาร์ตเมนต์"รุกล้ำ 26 คลองฝั่งตะวันออก
วันที่ลง : 04-Nov-2011   จำนวนคนอ่าน 746

หมู่บ้านจัดสรร อพาร์ตเมนต์ กลายเป็นจำเลยรอบใหม่ ถูกระบุว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่รุกล้ำลำคลองขวางทางระบายน้ำ หลังจากกรมทรัพยากรน้ำ ได้รับมอบหมาย ให้ดำเนินการร่วมกับ กทม.ในการผันน้ำลงทะเลฝั่งตะวันออก และในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รับผิดชอบสำรวจพื้นที่ ตั้งแต่คลองแสนแสบใต้ ไปจนถึงชายทะเลอ่าวไทยของ จ.สมุทรปราการ ที่ก่อนหน้านี้ แม้จะมีการบินสำรวจทางอากาศ และสำรวจตามเส้นทางโดยใช้รถยนต์มาแล้ว แต่ยังไม่เห็นภาพของปัญหาชัดเจน
 ล่าสุด  นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัด ทส. ในฐานะประธานศูนย์ประสานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ของ ทส. (ศปภ.ทส.) กล่าวภายหลังส่งทีมงานลงสำรวจพื้นที่ดังกล่าวอีกครั้ง ว่า ปฏิบัติการครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมาจนถึงวานนี้ (2 พ.ย.) โดยสำรวจเส้นทางระบายน้ำใน 26 จุดคลองสาขา  ไล่ตั้งแต่ ใต้คลองแสนแสบ  ลงไปจนถึงจุดสูบน้ำคลองชายทะเลอ่าวไทย
 โดยก่อนหน้านี้ ได้ลงพื้นที่สำรวจปัญหาทั้งทางอากาศ และทางบกมาแล้วรอบหนึ่ง พบว่า ยังไม่มีน้ำลงไปถึงประตูสูบน้ำที่รออยู่ด้านล่าง ทำให้ต้องลงสำรวจเชิงพื้นที่อย่างละเอียดอีกครั้ง และพบว่า แถวคลองสามวา มีปัญหาเรื่องประตูระบายน้ำแบบสต็อปล็อก ที่มีลักษณะแคบเพียง 5 เมตร แต่กั้นลำคลองที่มีความกว้างถึง 30-40 เมตร จึงดำเนินการร่วมกับ กทม. นำแผ่นกระดานที่ปิดขวางไว้ออก เพื่อเปิดทาง ให้น้ำไหลสะดวกขึ้น
 เช่นเดียวกับคลองหกวาล่าง  พบว่า มีประตูกั้นน้ำไว้ไม่ให้น้ำออกอย่างน้อย 7 จุดที่เป็นอุปสรรค แต่ถึงแม้จะมีการแก้ปัญหาเป็นจุดๆ แล้ว แต่ยังคงไม่พอกับปริมาณน้ำที่กำลังระบายผ่านคลอง 8-9-10 หลังจากนำพนังกั้นน้ำออกไป  เพื่อสูบลงคลอง 12-13 ให้ไหลไปตามเส้นทางน้ำคลองของ กทม. จึงต้องออกมาสำรวจเชิงพื้นที่อย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
 สำหรับการออกสำรวจครั้งนี้ ทส.และกรมทรัพยากรน้ำ ได้ส่งทีมสำรวจเชิงลึก ใต้คลองแสนแสบ ลงไปยังทะเลอ่าวไทย ได้แก่ 1.คลองพระองค์ไชยานุชิต 2.คลองสามใต้แสนแสบ  3.คลองสี่  4 คลองบึงใหญ่+ลำมะขาม  5.คลองลำเจียรดับ+อู่ตะเภา  6.คลองลำผักชี+ลำปลาทิว 7.คลองหนึ่ง  8.คลองลาดกระบัง  9.คลองพระองค์+คลองทับยาว 10.คลองหนองงูเห่า 11.คลองหลวงแพ่ง 12.คลองแสนแสบ 13.คลองเสาธง 14.คลองลาดกระบังตอนเหนือ 15.คลองเสาธง 16.คลองบางโฉลง 17.คลองจระเข้ใหญ่ตอนเหนือ 18.คลองพระองค์ไชยานุชิต (ตอนใต้) 19. คลองสาม 20.คลองสี่ 21.คลองบึงใหญ่ 22. คลองลำพระองค์ 23.คลองสอง 24.คลองทับยาว 25.คลองเจ๊ก 26. คลองมอญ
 “การสำรวจรอบนี้ จะเป็นการสแกนให้เห็นถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นใน 26 คลองใต้คลองแสนแสบลงไป โดยเน้น 4-5 ปัจจัยหลัก คือ ยังมีฝาย หรือประตูระบายน้ำเก่าของ กทม. มีผักตบชวา  สวะ กีดขวางทางน้ำหรือไม่ หรือมีสถานที่สำคัญ ที่เป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ำ อาทิเช่น สนามกอล์ฟ หมู่บ้าน และตะกอนหรือไม่”
 จากการลงพื้นที่ร่วมกับ นายศักดา นพสิทธิ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ ทส. นายเนติภูมิ นวรัตน์ โฆษก ทส. นายชัยพร ศิริพรไพบูลย์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ และ นางรัชนี เอมมะรุจิ รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำรวจคลองลำปลาทิว บริเวณหน้าวัดสุทธาโภชน์ แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง โดยใช้เครื่องสแกน ADCP ซึ่งสามารถสแกนลำน้ำตามขวาง เพื่อตรวจวัดระดับการไหลของน้ำ ความลึก ทิศทาง รวมทั้งสิ่งกีดขวางในลำน้ำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประเมินการระบายน้ำออก ทางคลองฝั่งตะวันออก ซึ่งจะเชื่อมต่อจากคลองแสนแสบ ที่มีความยาว 60 กม. คลองประเวศบุรีรมย์ ระยะทาง 54 กม.คลองสำโรง 54 กม. และคลองชายทะเล 52 กม.
 นายชัยพร ระบุว่า การใช้เครื่องมือสแกนลำน้ำนี้ จะช่วยให้ประเมินสถานการณ์น้ำได้ถูกต้อง โดยที่ผ่านมา  สามารถใช้กับการประเมินสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง จากจุดเริ่มต้น ที่เชียงราย หนองคาย  ลงมาจะช่วยให้ทราบว่า  มีการไหลของน้ำ ความกว้าง และการระบายน้ำ ที่เป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถอธิบายได้ชัดเจน นอกจากนี้  ยังเคยนำเครื่องสแกนไปใช้ในแม่น้ำท่าจีน บางปะกง และเจ้าพระยามาแล้ว
 ทั้งนี้  จากการสแกน บริเวณคลองลำปลาทิว หน้าวัดสุทธาโภชน์ พบว่า มีคลองกว้าง 30.7 เมตร ระดับความลึก 3.6 เมตร มีอัตราความเร็วของน้ำ 33.8 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งถือว่าค่อนข้างช้า แต่ยังไม่พบปัญหาการกีดขวางของประตูแบบสต็อปล็อกเหมือนที่คลองสามวา
 ขณะที่ ภาพรวมจาก 26 คลองที่ ทส.ลงพื้นที่ตรวจสอบและแบ่งออกเป็น 3 โซนนั้นมีปัญหาวัชพืช 28% และมีปัญหาการไหลของน้ำ 34% แต่หากแบ่งเป็นพื้นที่พบว่า โซน 1 จำนวน 16 คลอง พบปัญหาวัชพืช 35% การไหล 31% โซน 2 จำนวน 6 คลอง พบวัชพืช 18% การไหลของน้ำ 61% และโซน 3 จำนวน 4 คลอง พบวัชพืช 17% และการไหลของน้ำ 5%
 แหล่งข่าว ระบุว่า ในเขตบางนา-ตราด มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งถมคลองจนหายไปจากแผนที่ที่เคยระบุชื่อคลองในอดีต นอกจากนี้ ยังมีหอพักบางแห่งที่รุกล้ำคลองไปครึ่งหนึ่ง ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย แต่ไม่รู้ว่า หน่วยงานอนุญาตให้ก่อสร้างได้อย่างไร รวมทั้ง ยังมีสนามกอล์ฟ ถนนหลายเส้น และสนามบินสุวรรณภูมิ ที่สร้างขวางทางน้ำไหลธรรมชาติ เพื่อไปลงทะเลแถวคลองลาดกระบัง คลองหนองงูเห่า เป็นต้น จากนี้ไป จะส่งข้อมูลเสนอให้กับนายปรีชา เร่งสมบูรณ์ รัฐมนตรี ทส.และเสนอให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีพิจารณาตามลำดับ
 สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้ พบว่า ในจำนวน 26 คลอง มีคลองบางแห่ง ได้แก่ คลองชวดตาทิม ที่เคยมีในแผนที่หายไป แต่มีหมู่บ้านหรูหรา ขนาดใหญ่ชื่อเลค วู้ด ผุดขึ้นมาแทนที่  ทั้งยัง พบด้วยว่า มีสนามกอล์ฟขนาดใหญ่อย่างน้อย 4-5 แห่ง
 นอกจากนี้  คลองบางแห่ง ยังปลูกอพาร์ตเมนต์สร้างคร่อมคลองไปครึ่งหนึ่งของลำคลอง รวมทั้งมีปัญหาการสร้างบ้านรุกล้ำลำคลอง ซึ่งทาง ศปภ.-ทส.ยอมรับว่า ยังไม่สามารถตัดสินใจเชิงนโยบายได้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และคงจะรายงานให้ผู้ใหญ่รับทราบตามลำดับชั้น
 ด้านนายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.ทส. กล่าวว่า หลังจากเร่งสำรวจพื้นที่ฝั่งตะวันออกของ กทม. ที่มีปัญหาในการผันน้ำลงสู่อ่าวไทย ซึ่งเป็นไปด้วยความล่าช้า โดยแนวคิดหนึ่งของ ทส. คือการระบายน้ำออกจาก กทม. ผ่านเส้นทางระบบบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จ.สมุทรปราการ ที่หากใช้แนวทางนี้จะสามารถระบายน้ำลงทะเลได้วันละ 7 แสน ลบ.ม. โดยจะใช้เวลาศึกษา 1-2 วัน ก่อนที่จะนำเสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ออกคำสั่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2550 เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว ยังอยู่ระหว่างการดำเนินคดีทุจริตบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน  จึงต้องมีการศึกษาข้อกฎหมาย สัญญาอย่างละเอียด



ที่มา :  วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.