" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวทั่วไป  
NEWS AREA ชี้ ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ไม่ควรเน้นแนวราบ
วันที่ลง : 13-Sep-2011   จำนวนคนอ่าน 610

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA ระบุว่า ระหว่างวันที่ 9-17 กันยายนที่ผ่านมา AREA จัดดูงานอสังหาริมทรัพย์ ณ กรุงปารีส เมืองกอลมา ประเทศฝรั่งเศส  และนครซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  ในที่นี้จึงสรุปสาระเกี่ยวกับผังเมืองปารีสมาให้เปรียบเทียบกับกรณีประเทศไทย

โดยพบว่า ปารีสมีขนาดเพียง 105 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 2.2 ล้านคน หรือประมาณ 22,000 คน/ตารางกิโลเมตร /มากกว่ากรุงเทพมหานครที่มีประชากร 3,800 คน/ตารางกิโลเมตร อย่างไรก็ตามมหานครปารีส รวมเทศบาลกรุงปารีสและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นโดยรอบแล้ว มีขนาด 12,072 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 12 ล้านคน แต่มีความหนาแน่นน้อยกว่ากรุงเทพมหานคร (1,000 คน/ตารางกิโลเมตร)

จะสังเกตได้ว่าผังเมืองปารีสนี้วางผังได้ดี โดยเลียนแบบมาจากอังกฤษหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ดำเนินการในช่วงปี พ.ศ.2396-2413 โดยการตัดถนนสายตรง ๆ ใหญ่ ๆ เพิ่ม สร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม และจำกัดความสูงโดยปรับความสูงมาเรื่อยจาก 16 เมตร 20 เมตรและจนปัจจุบันไม่เกิน 37 เมตร

วัตถุประสงค์ของผังเมืองก็คือ การพัฒนาเมืองให้เหมาะแก่การอยู่อาศัย การเรียกร้องของชนชั้นกลางในยุค 100 ปีก่อน และการวางยุทธศาสตร์ทางทหาร เพื่อกองทหารจะเข้ามาในกรุงได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

การวางผังเมืองใหม่ พร้อมกับสร้างที่อยู่อาศัยสองข้างถนนยังเป็นการคืนกำไร คือทำให้การสร้างถนนใช้เงินแต่น้อย โดยเอา 2 ข้างทางที่เวนคืนมา ทำการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ  โดยการเวนคืนดำเนินการอย่างขนานใหญ่เป็นเวลากว่า 20 ปี นอกจากนี้ ยังได้รับเงินทุนจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่อำนวยสินเชื่อให้กับการพัฒนาสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ในเมือง

รวมทั้งการเวนคืนที่ดินยังใช้เพื่อการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง นอกเหนือจากการตัดหรือขยายถนน ทำให้เมืองมีสภาพที่น่าอยู่อาศัย  จะสังเกตได้ว่าใจกลางกรุงปารีสมีการเวนคืนก่อสร้างสะพานมากถึง 24 สะพานในระยะทาง 14.3 กิโลเมตรของแม่น้ำแซน หรือมีสะพานทุกระยะ 600 เมตรโดยเฉลี่ย  ในขณะที่ใจกลางกรุงโซลมีสะพานทุกระยะ 1.16 กิโลเมตร ส่วนใจกลางกรุงเทพมหานคร จากสะพานพระราม 6 –สะพานภูมิพล 1 ระยะทาง 23 กิโลเมตรมีสะพานเพียง 12 สะพานหรือ 1.9 กิโมเมตรต่อหนึ่งสะพาน  ถือว่าน้อยมาก ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของความเจริญในฝั่งธนบุรีกับฝั่งกรุงเทพมหานคร ทำให้เสียโอกาสการพัฒนาฝั่งกรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ใกล้ใจกลางเมือง

อย่างไรก็ตามใช่ว่าจะไม่มีตึกสูงในนครปารีส เพียงแต่ในเขตเมืองเก่าพื้นที่เล็ก ๆ ประมาณ 105 ตารางกิโลเมตรเท่านั้นที่จำกัดไว้  แต่นอกเมืองออกไปยังมีอาคารสูงใหญ่หลายแห่ง โดยอาคารสูงสุดสูงถึง 59 ชั้นชื่อ Tour Maine Montparnasse และมีแผนสร้างตึกสูงประมาณ 90 ชั้นอีกด้วย

แม้อาคารส่วนใหญ่ใจกลางกรุงปารีสจะสูงเพียง 37 เมตร แต่หากพิจารณาจากพื้นที่ก่อสร้าง ยังมีความหนาแน่นกว่ากรุงเทพมหานครมาก การที่กรุงปารีสมีการดูแลเรื่องความสูงมาก เพราะมีสถานที่สำคัญมากมาย แต่กรุงเทพมหานครมีจำกัดกว่า การเลียนแบบการจำกัดความสูงจึงควรได้รับการทบทวน ยิ่งกว่านั้นขณะนี้ในกรุงปารีส กำลังจะมีการพิจารณาอนุญาตให้ขึ้นตึกสูงให้มากขึ้นเพื่อสนองความต้องการด้านที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์


ที่มา :  วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554 ประชาชาติธุรกิจ



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.