" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวเศรษฐกิจก่อสร้าง  
NEWS 3 กูรูชี้ทิศทางฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ พลิกกลยุทธ์รับมือสงครามการค้าโลก
วันที่ลง : 25-Aug-2012   จำนวนคนอ่าน 1077

ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อเรื่อง "จุดเปลี่ยนการค้าโลก : ไทยจะเดินทางอย่างไร" ในวันครบรอบ 92 ปีการสถาปนากระทรวงพาณิชย์ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา องค์ปาฐกถาประกอบด้วย นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.), นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) และ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ สุดยอดกูรูด้านธุรกิจ เศรษฐกิจ ถ่ายทอดประสบการณ์ชี้ทิศทางฝ่าวิกฤตที่กำลังเผชิญอยู่ขณะนี้

NTMs โมเดลใหม่กีดกันทางการค้า

นาย ศุภชัยกล่าวว่า เศรษฐกิจสหภาพยุโรปและสหรัฐกำลังเข้าสู่ภาวะซบเซาจากที่เคยขยายตัวปีละ 6-7% ปีก่อนลดเหลือ 2.5% และปีนี้จนถึงปีหน้าคงเติบโตไม่ถึง 2.5% นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดความเชื่อมั่นในระบบการค้าแบบพหุภาคี จากที่การเจรจารอบโดฮา ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกไม่คืบหน้า และไม่น่าจะได้ข้อสรุปในปีนี้ ประเทศต่าง ๆ จึงเพิ่มการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTMs : Non Tariff Measures) มากขึ้น

ไทยควรปรับวิธีเจรจาใหม่เป็นกลุ่มย่อย เฉพาะเรื่อง เลือกเรื่องที่พร้อมมาเจรจาก่อน จากเดิมเจรจาทุกเรื่องให้จบพร้อมกัน ทำให้ยืดเยื้อ เช่น เลือกเจรจาประเด็นการเงิน การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ฯลฯ ซึ่งอาจจะมีฝ่ายคัดค้าน แต่จะได้ประโยชน์กว่า

ตนไม่เห็นด้วยที่จะ เปิดการเจรจากรอบความตกลงที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้า (PTA : Preference Trade Agreement) ซึ่งเริ่มมีมากขึ้น เพราะเป็นการเจรจาระหว่างประเทศที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน เช่น กรอบเจรจาสหรัฐกับเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) ซึ่งเสี่ยงมากที่ข้อตกลงจะมีผลเกินกว่าที่ตกลงไว้ในกรอบดับบลิว

ทีโอ หรืออาจเรียก WTO+4 หรือปรับเงื่อนไขเจรจาให้เป็น soft law นอกจากนี้เป็นห่วงประเทศกำลังพัฒนาจะติดกับดัก global public goods ให้เป็นหนึ่งในห่วงโซ่การผลิต แต่ไม่สามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปได้ ต้องปรับแนวคิดนำเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การใช้เครือข่ายการค้าสากลในระดับต่าง ๆ มาใช้

โลกอนาคตไม่ใช่ของอียู-สหรัฐ

ประเด็น ที่ไทยจะเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (AEC) ในอนาคตไทยไม่มีปัญหาเรื่องการเตรียมตัว แต่อาเซียนคงไม่สามารถรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ เพราะไม่ใช่แค่ลดภาษี แต่หมายถึงการปรับกฎระเบียบอื่นด้วย ซึ่งขณะนี้ทั้งเรื่องแรงงาน พลังงาน การเงิน การศึกษา ล้วนอยู่ในขั้นตอนดำเนินการ ให้กลุ่มอาเซียนเร่งพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจร่วมกับภาคีทั้ง 6 ประเทศ ทั้งกรอบการเจรจาอาเซียน+3 อาเซียน+6 เพราะโลกต่อไปจะไม่ใช่โลกของอียูและสหรัฐแล้ว

นายศุภชัยย้ำว่า ขอให้รัฐบาลคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากกฎระเบียบที่มีอยู่ 4 เรื่องมากขึ้น คือ การจดทะเบียนคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) การออกประกาศบังคับใช้สิทธิ์ (CL) การเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้ พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 และการเข้าเป็นภาคีเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ โดยยึดหลัก Nagoya Protocal ปกป้องการเข้ามาโจรกรรมทรัพยากรไปใช้ประโยชน์ โดยไม่แบ่งปันให้เจ้าของสิทธิ์ หากไม่ตื่นตัวไม่มีกฎเข้มแข็งจะเสียเปรียบ กระทบผู้บริโภค

ทัพหน้า-ทัพหลังหนุนเอกชนส่งออก

ขณะ ที่นายวีรพงษ์กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์เป็นทัพหน้าในการนำเอกชน ส่วนกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นหน่วยระวังหลัง ต้องสนับสนุนและให้ความสะดวกเอกชน เพราะการค้าไทยมีสัดส่วนเพียง 1% ของการค้าโลก จะให้อยู่เฉพาะตลาดในไทยคงไม่ได้ ต้องสนับสนุนออกไปทั่วโลก

ตอน นี้ไทยอยู่บนทาง 3 แพร่ง จะต้องเลือกเลี้ยวซ้ายหรือขาว เพราะข้างหน้าคือหุบเหว ก่อนหน้านี้หัวรถจักรคือสหรัฐ-สหภาพยุโรป แต่สหรัฐคงไม่ฟื้น ที่ผ่านมาสหรัฐแข่งขันได้ในตลาดโลก เพราะใช้กฎหมายผูกขาดทรัพย์สินทางปัญญามาควบคุมคนอื่น แต่ตอนนี้ไม่มีเทคโนโลยีอะไรผูกขาดได้

ส่วนสหภาพยุโรปก็รอวันตาย เพราะเอาคนแก่เล็กเด็กแดงไปผูกไว้ด้วยสกุลเงินเดียวกัน ทั้งที่ความสามารถแข่งขันต่างกัน มาตรการแก้ปัญหาที่นำมาใช้ไม่ได้แก้ไขปัญหาแท้จริง แค่อุดสภาพคล่อง ถ้าไม่ไหวอาจต้องยอมตัดเนื้อร้ายหรือพายุโรปตายยกแผง

ทวาย-มาบตาพุด พลิกโฉมประเทศไทย

ที่ น่าจับตามองคือ ผลกระทบต่อจีน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกที่พึ่งพาตลาดสหรัฐและยุโรป แต่เชื่อว่าจีนไม่น่าทรุด เพราะเริ่มปรับตัวโดยกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ และการลงทุนภาครัฐ จุดนี้ถือเป็นโอกาสของไทยที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียน อยู่ใกล้จีน ประกอบกับญี่ปุ่นจะขยายอำนาจไปทวาย เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง

จึงเห็นด้วยที่รัฐบาลสนับสนุนโครงการทวาย เพราะจะเชื่อมมาบตาพุด แหลมฉบังไปยังทวาย ทำให้การค้าไทยไปยังฝั่งตะวันตกเติบโตขึ้น จากเดิมมีเพียง 35% เทียบกับการค้าไทยกับฝั่งตะวันออก มีโอกาสขยายการค้าไปยังอินเดีย ตะวันออกกลาง จะพลิกโฉมประเทศไทยมหาศาลในอีก 20-30 ปีข้างหน้า

มุ่งแชมป์คุณภาพข้าวแทนแชมป์ราคา

ด้าน นายธนินท์กล่าวสนับสนุนโครงการรับจำนำข้าว โดยระบุว่าเคยสอบถามชาวนาก็เห็นว่าดีกว่าการประกันราคา ซึ่งไม่ได้เข้าข้างรัฐบาล แต่ราคาประกัน 10 บาท ขายได้ 5 บาท รัฐบาลจาก 5 บาท ขายได้ 7 บาท รัฐจ่าย 3 บาท มีการรั่วไหล แล้วจะป้องกันความเสียหายอย่างไร นักธุรกิจค้าข้าวพอใจ ซื้อถูกขายถูก ง่าย แต่จำนำซื้อแพง ขายแพง ยาก มีโอกาสขาดทุน

คนได้คือชาวนา คนเสียคือรัฐบาลกับนักธุรกิจ จึงต้องช่วยให้นักธุรกิจเสียหายน้อยที่สุด เช่น ปรับมาใช้ระบบโควตาข้าวเหมือนเดิม ให้แต่ละคนได้ข้าวตามประวัติส่งออก ทุกคนต้องไปขายข้าวคุณภาพเดียวกันราคาเท่ากัน ไม่ตัดราคา ใช้บริษัทเซอร์เวเยอร์ระดับโลกมาดูแลและรับฝาก และให้แบงก์การันตี

การ ส่งออกข้าวไทยต้องไม่มุ่งแข่งขันเป็นแชมป์ด้านราคา แต่ควรเป็นแชมป์ด้านคุณภาพมากกว่า อนาคตพม่าจะเป็นคู่แข่งสำคัญที่สุด อินเดียไม่ใช่คู่แข่งถาวร เวียดนาม กัมพูชาก็ไม่ใช่ เพราะพม่ามีพื้นที่ และมีคนกว่า 90 ล้านคน รัฐจึงควรส่งเสริมเอกชนไทยไปลงทุนซื้อข้าวจากพม่าเป็นวัตถุดิบส่งออก ให้ปรับแนวคิดว่าวัตถุดิบของไทยมีอยู่ทั่วโลก ส่งเสริมให้ไปซื้อหน้าดินมา แล้วนำสินค้าพวกรถจักรยานยนต์ โทรทัศน์ ส่งกลับไปขาย

หนุนเกษตร-พลังงานทดแทน-ท่องเที่ยว

ไทย ไม่ควรกังวลปัญหาเงินเฟ้อเกินไป เพราะไม่สามารถคุมราคาน้ำมันในตลาดโลก วิกฤตยุโรปและสหรัฐ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในปีหน้ารุนแรงกว่าปีนี้ เป็นโอกาสของไทยในการลงทุน หรือเข้าซื้อกิจการ รัฐบาลก็มีโอกาส เพราะเงินทุนสำรองมากถึง 1.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ควรนำมาลงทุนสร้างสาธารณูปโภค ทั้งท่าเรือ คมนาคม โลจิสติกส์ ชลประทาน รถไฟรางคู่ และสนับสนุนนักธุรกิจเล็ก กลาง จิ๋ว ไปลงทุนต่างประเทศ

พัฒนา ระบบชลประทาน 25 ล้านไร่ปลูกข้าวให้ผลผลิตเท่ากับที่เคยปลูก 67 ล้านไร่ แล้วนำที่ดินที่เหลือ 30-40 ล้านไร่ ไปปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง เป็นวัตถุดิบผลิตพลังงานทดแทน ต้องสนับสนุนธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ปรับลดภาษี สร้างฟรีเทรดโซนเพิ่มขึ้น แก้กฎหมายดึงเอกชนเข้ามาลงทุน เช่น ให้เช่าที่ดินเป็น 99 ปี ลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 16-17% ต่ำกว่าฮ่องกง เพื่อดึงดูดเม็ดเงินต่างชาติ



ที่มา  : 22 ส.ค. 2555 ประชาชาติธุรกิจ



TAG :3 กูรูชี้ทิศทางฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ พลิกกลยุทธ์รับมือสงครามการค้าโลก,ข่าวอสังหา,อสังหาริมทรัพย์,บ้าน,ที่อยู่อาศัย,ข่าวผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง,ข่าวก่อสร้าง,อีบิลด,eBuild,ข่าว,คอนโด,คอนโดเปิดใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.