" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวเศรษฐกิจก่อสร้าง  
NEWS กูรูหวั่นออกพรก.กู้เงิน2แสนล้านต้นตอเกิดสงครามแย่งสภาพคล่อง
วันที่ลง : 20-Dec-2011   จำนวนคนอ่าน 748

นักวิชาการ หวั่นออกพ.ร.ก.กู้เงิน2แสนล้าน เยียวยาน้ำท่วม ต้นตอเกิดสงครามชิงสภาพคล่อง-ดันอัตราดอกเบี้ยพุ่ง ผลจากมหันตภัยครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี นับจากปี 2538 ก่อให้ความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทย 1 ล้านล้าน ส่งผลให้ภาครัฐต้องหาเม็ดเงินก้อนโต เพื่อฟื้นฟูและเยี่ยวยาประเทศ โดยเฉพาะระบบบริหารจัดการน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายซ้ำซาก ล่าสุดภาครัฐเตรียมแผนที่จะออกพระราชกำหนดกู้เงิน 2 แสนล้านบาท เพื่อนำเงินดังกล่าวใช้ฟื้นฟูและวางระบบป้องกันน้ำท่วมระยะเร่งด่วน รวมทั้งออกพระราชบัญญัติกู้เงินอีก 6 แสนล้าน เพื่อวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งรวมถึงระบบบริหารจัดการน้ำ

 จากแผนการใช้เงินก้อนโตของรัฐบาลดังกล่าวนี้ ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ โดยนายพรเทพ ชูพันธุ์ ผู้จัดการวิเคราะห์เศรษฐกิจ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (อีไอซี) ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินว่า เม็ดเงินดังกล่าวเมื่อรวมคร่าวๆ จะอยู่ที่ 8 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 8% ของจีดีพี ก็เท่ากับพรก.มีผลบังคับใช้หนี้สาธารณะ จะขยับขึ้นมาใกล้ 50% ของจีดีพี ซึ่งใกล้เคียงกรอบวินัยการคลังเดิม ที่คลังเคยกำหนดไว้ที่ 50% แต่หลังจากนั้นก็จะขยับขึ้นมาเป็น 60%

 ทั้งนี้ในพรเทด มองว่า เม็ดเงินฟื้นฟูดังกล่าว อยู่ในระดับยอมรับได้ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่การจัดสรรเม็ดเงินส่วนนี้มากกว่าว่า จะนำไปใช้ทำอะไรบ้าง ซึ่งความเห็นส่วนตัวเงินส่วนนี้ ควรนำไปก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันต้องนำเงินไปใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ด้วย โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาจัดการโครงสร้างเกี่ยวกับระบบชลประทานระยะยาว


 "การกู้เงินจำเป็นต้องมองระยะยาวด้วย และต้องตอบรายละเอียดให้ได้ด้วยว่า จะนำไปใช้ทำอะไรบ้าง และการดำเนินการต้องแก้ปัญหาระยะยาวได้อย่างจริงจัง เพื่อจะเพิ่มขีดความสามารถให้กับการแข่งขันของประเทศ ถ้าได้จะทำให้ต้นทุนของภาคเอกชนลดลง โดยเฉพาะเรื่องของการทำประกัน หรือเบี้ยประกัน" นายพรเทพ กล่าว
 หวั่นแย่งเงินดันดอกเบี้ยพุ่ง

 ด้านนายนริศ สถาผลเดชา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย กล่าวด้วยว่า การออกพรก.กู้เงินของภาครัฐครั้งนี้ ต้องจับตาดูว่า ภาครัฐจะนำเงินไปทำอะไรบ้าง และสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน

 นอกจากนี้ การออกพรก. ดังกล่าว จะทำให้ปีหน้ามีพันธบัตรของรัฐบาลออกสู่ตลาดจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่า ย่อมส่งผลกระทบต่อการระดมทุนของภาคธุรกิจในระบบต่างๆ แน่นอน ไม่ว่าเป็นบริษัทเอกชน รวมถึงสถาบันการเงินต่างๆ ขณะเดียวกัน ก็จะกดดันและส่งผลให้ดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวขึ้นตามไปด้วย


 "ปีหน้าอาจจะเป็นปีที่มีการแข่งขัน ในเรื่องการหาและแย่งชิง fundding กันมากขึ้น ทั้งของภาคเอกชน สถาบันการเงินต่างๆ จะเกิดเหตุการณ์แย่งเงินกันเอง ส่วนปีหน้าธนาคารภาครัฐ กระทรวงคลัง ก็มีนโยบายจะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านสถาบันการเงินของรัฐ ซึ่งทำให้สถาบันการเงินของรัฐเอง ก็ต้องระดมุทน เพื่อใช้ในการดำเนินการเหล่านี้เช่นกัน ดังนั้นปีหน้าจะเห็นภาพการแข่งขันแย่งชิงเงินฝากกันมากขึ้น"นายนริศ กล่าว

 นอกจากนี้ เขายังบอกอีกว่า โดยปกติการระดมทุนของภาคเอกชนส่วนใหญ่ จะสามารถนำที่ระดมทุนมาได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพสุงสุด แต่การระดมทุนของภาครัฐแต่ละแห่งเอง ต้องจับตาดูการใช้เงินว่าจะสามารถนำมาใช้ และทำให้เกิดประโยขน์สูงสุดได้หรือไม่

จี้รัฐควรคุมการเติบโตหนี้ไม่ให้สูง

ขณะที่นายกำพล อดิเรกสมบัติ เศรษฐกรอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ บล.ทิสโก้ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไม่สูงประมาณ 42% หากรัฐจะก่อหนี้ 8 แสนล้านบาท เพื่อมาลงทุนในระบบน้ำ ก็ยังมีเพดานให้ทำได้และถือว่าคุ้มค่าที่จะทำ เพราะตัวเลขความเสียหายที่บริษัทประเมินไว้จากน้ำท่วมมีประมาณ 2 แสนล้านบาทต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งยังไม่รวมผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินอื่น

 ดังนั้นถ้าทำจริง ถือว่าคุ้มที่จะทำ เพียงแต่รัฐควรจะควบคุมการเติบโตของหนี้ไม่ให้สูงกว่าการเติบโตของ GDP จะได้ไม่มีผลกระทบต่อความสามารถหนี้ของภาครัฐในอนาคต

 "แต่รัฐต้องไม่ลืมว่าสังคมไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุ ซึ่งโดยปกติจะมีสัดส่วนหนี้ภาครัฐเพิ่มขึ้นสูงโดยปกติอยู่แล้ว การก่อหนี้เพิ่มในส่วนนี้คงต้องพิจารณาถึงหนี้ในอนาคตด้วย หากปรับลดงบโครงการประชานิยมได้ที่ไม่จำเป็นก็ควรพิจารณา ไม่งั้นจะเป็นภาระต่อฐานการคลังในระยะยาวได้เช่นกัน"นายกำพล กล่าว
 หวั่นดูดสภาพคล่องในระบบออกไป

 ด้านนายสมชัย อมรธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บลจ.กรุงไทย กล่าวว่า การก่อหนี้ด้วยการออกพันธบตัรมูลค่ารวม 8 แสนล้านบาท ภาครัฐคงต้องวางแผนการก่อหนี้เอาไว้ เพราะเป็นจำนวนเงินที่มาก และอาจมาดูดสภาพคล่องในระบบออกไป และอาจกระทบต้นทุนทางการเงินของภาคเอกชนได้ เพราะโดยปกติภาครัฐก็มีการขาดดุลปกติประมาณ 4 สนล้านบาท อยู่แล้ว ที่ทางสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เองเคยประมาณการตัวเลขหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทยในปี 2554 จะอยู่ที่ 43% และปี2555 อยู่ที่ 46% นั้น ไม่ทราบว่าได้รวมเอาการก่อนหนี้ในส่วนนี้เอาไว้หรือยัง ถ้ายังก็ถือว่าค่อนข้างสูง
 เน้นใช้งบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

 นายฐนิตพงศ์ ชื่นภิบาล นักวิเคราะห์การลงทุนอาวุโส บลจ.กรุงศรี กล่าวว่า ประเด็นไม่ใช่อยู่ที่วงเงิน 8 แสนล้านบาท แต่อยู่ที่ประสิทธิภาพในการนำเงินลงทุนมาใช้ว่าจะทำได้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด เพราะปกติเงินลงทุนเหล่านี้ จะมีส่วนรั่วไหลบางส่วนอยู่แล้วเป็นปกติ ดังนั้นทุกฝ่ายในสังคมควรร่วมตรวจสอบ เพื่อให้การใช้งบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุดและโปร่งใส

 "ที่สำคัญรัฐต้องระวังในเรื่องของฝั่งรายได้ด้วยว่า จะหามาจากไหน เพราะช่วงที่ผ่านมาก็มีการให้ประโยชน์ทางภาษีไปมากพอสมควร ซึ่งต้องคำนึงถึงรายจ่ายจากการก่อหนี้ที่จะมีติดตามมาในอนาคตด้วย แต่ด้วยฐานะการคลังของรัฐบาลไทยในปัจจุบันยังอยู่ในวิสัยที่สามารถจะก่อหนี้เพิ่มได้ในระดับ 8 แสนล้านบาท เพราะในรัฐบาลก่อนก็เคยมีแผนจะก่อหนี้ไว้เช่นกัน เพียงแต่ใช้ไปเพียงครึ่งเดียว"


ที่มา  :  วันที่ 19 ธันวาคม 2554 ประชาชาติธุรกิจ



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.