" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวอสังหาริมทรัพย์  
NEWS ร.ฟ.ท.ปัดเวนคืนเพิ่มไฮสปีดเทรนไป"หัวหิน" เสนอทางเลือก เจาะอุโมงค์ใต้ดินพาดยาว 7 กม.
วันที่ลง : 02-Apr-2013   จำนวนคนอ่าน 700

บานปลายปมหาพื้นที่ปักตอม่อรถไฟความเร็งสูงสาย "กทม.-หัวหิน" ระยะทาง 8 กม. ช่วงบางบำหรุ-ตลิ่งชัน หลัง ร.ฟ.ท.ปัดเวนคืนที่ดินเพิ่ม โยนการทางพิเศษฯรับผิดชอบเอง ด้าน สนข.เสนอทางเลือกเพิ่ม เจาะอุโมงค์ใต้ดินพาดยาว 7 กม.ใต้เขตทางรถไฟเดิม ลดแรงต้าน คาดใช้เงินก่อสร้างเพิ่ม 8,000 ล้าน เตรียมชง "ชัชชาติ" ชี้ขาดเร็ว ๆ นี้
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ได้รับรายงานจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ว่าในเร็ว ๆ นี้จะเสนอแนวทางเลือกที่ 5 ให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณาเพิ่ม เพื่อประกอบการพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นที่ในแนวเส้นทางรถไฟสายใต้ ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่จะนำมาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 225 กิโลเมตร แต่ติดปัญหามีพื้นที่เขตทางไม่เพียงพอที่จะสร้างตอม่อรถไฟความเร็วสูง เนื่องจากพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวมีการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนตะวันตก ไปหมดแล้ว
โดยแนวทางใหม่ที่จะเสนอเพิ่มเติม ทางที่ปรึกษาเสนอให้เจาะอุโมงค์ใต้ดินไปตามแนวเขตทางรถไฟ ช่วงสถานีบางบำหรุ-ตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร เพื่อเป็นการลดปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดิน อีกทั้งยังลดระยะทางได้อีกประมาณ 1 กิโลเมตร เนื่องจากเส้นทางตัดตรงมากขึ้น แต่จะใช้เงินค่าก่อสร้างเพิ่มอีกประมาณ 8,000 ล้านบาท จากวงเงินลงทุนทั้งโครงการกว่า 123,000 ล้านบาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับ 4 แนวทางเลือกเดิม ประกอบด้วย 1.สร้างบนเขตทางรถไฟในปัจจุบัน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะไม่กระทบกับทางด่วนและบริหารจัดการพื้นที่ แต่ต้องเวนคืนที่ดินของเอกชนเพิ่ม 6 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 60 ไร่ กระทบกับอาคารประมาณ 550 หลังคาเรือน มีค่าเวนคืนประมาณ 2,000-2,400 ล้านบาท
2.ใช้โครงสร้างร่วมกับทางด่วน ซึ่งมีข้อดีไม่กระทบเวนคืนที่ดินหรือการเดินรถและสถานีรถไฟ แต่ต้องปรับแก้แบบของทางด่วนเป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร อีกทั้งยังต้องแก้ไขสัญญางานสัมปทานทางด่วนศรีรัชร่วมกับบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีซีแอล และทางด่วนต้องออกแบบเผื่อฐานราก เสา คานไว้รองรับให้รถไฟความเร็วสูงด้วย จะทำให้การบริหารจัดการเมื่อเปิดใช้งานมีความซับซ้อนและเสี่ยงด้านวิศวกรรมโครงสร้างได้
3.ลดระยะทางที่ใช้โครงสร้างร่วมกับทางด่วน จะไม่มีเวนคืนเพิ่ม แต่ต้องปรับแบบทางด่วน เป็นระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร ซึ่งจะกระทบการเดินรถและสถานีของรถไฟ แก้ไขสัญญางานสัมปทานทางด่วน รวมถึงต้องเตรียมฐานราก เสา คาน ไว้รองรับไฮสปีดเทรนด้วย จะทำให้การบริหารจัดการมีความซับซ้อน และ 4.ใช้เส้นทางรถไฟทางไกลของการรถไฟฯ ข้อดีไม่กระทบเวนคืนและค่าก่อสร้างต่ำสุด แต่จะกระทบกับการเดินรถและสถานีของรถไฟที่จะต้องยกเลิก ซึ่งการรถไฟฯไม่ยอม
"จากทั้ง 5 แนวทางเลือกนี้ ดูแนวโน้มการเจาะอุโมงค์น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะไม่ต้องเวนคืนที่ดินหรือแก้แบบร่วมกับทางด่วน แต่ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น เบื้องต้นรายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแล้วก็เห็นชอบในหลักการ แต่จะต้องหารือร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการอีกครั้ง"
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า การรถไฟฯจะไม่ยอมเวนคืนที่ดินเพิ่มอย่างแน่นอน ตามที่บริษัทที่ปรึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จ้างมาศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-หัวหิน
"ในเมื่อแบบก่อสร้างมีปัญหา ทำไมไม่ให้ทางการพิเศษฯรับผิดชอบ เพราะมาขอใช้ที่ดินเขตทางจากการรถไฟฯ เพื่อสร้างทางด่วน คงไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะไปเวนคืนที่ดินเพิ่ม" ผู้ว่าการการรถไฟฯกล่าวย้ำ



TAG :ร.ฟ.ท.ปัดเวนคืนเพิ่มไฮสปีดเทรนไป,"หัวหิน",เสนอทางเลือก ,เจาะอุโมงค์ใต้ดินพาดยาว 7 กม.

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.