" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวอสังหาริมทรัพย์  
NEWS เวนคืนที่ดิน 11 จุด 2 ฝั่งเจ้าพระยา ผุดสะพานใหม่5.4หมื่นล้าน"นนท์1"นำร่องปี"55
วันที่ลง : 19-Mar-2012   จำนวนคนอ่าน 764

สนข.ผุดแม่บทสะพานข้ามเจ้าพระยา ปักหมุด 11 สะพานใหม่พร้อมถนนต่อเชื่อม โยงการเดินทาง 2 ฝั่งแม่น้ำขนาด 2-6 ช่องจราจร เงินลงทุน 5.4 หมื่นล้าน เผยต้องเวนคืนที่ดินทุกจุด มากน้อยอยู่ที่การออกแบบ นำร่อง 2 โครงการ "สะพานนนท์ 1-เกียกกาย" เร่งสร้างเสร็จปี"59 จับตาโปรเจ็กต์ไฮไลต์ "สะพานสมุทรปราการ" ลงทุนอื้อซ่า 1.9 หมื่นล้าน เวนคืนตรึมทั้งโรงงาน-ป่าชายเลน


นายประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ สนข.ได้จัดทำแผนแม่บทโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้เสร็จแล้ว คาดว่าประมาณเดือนพฤษภาคมนี้ ผลการศึกษาจะแล้วเสร็จ โดยในแผนแม่บทจะเพิ่มสะพานอีก 11 แห่ง มีทั้งแนวเดิมที่เคยศึกษาและขีดแนวใหม่เพิ่มในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในจังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี ภายในระยะเวลา 20 ปี วงเงินก่อสร้างรวม 54,326 ล้านบาท อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร (กทม.) 5 แห่ง กรมทางหลวง (ทล.) 2 แห่ง และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) 4 แห่ง โดยสะพานแต่ละแห่งมีเป้าหมายเพื่อเสริมโครงข่ายถนนเดิมมีอยู่แล้วให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การก่อสร้างแบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะเร่งด่วนใน 5 ปี กำหนดเปิดใช้ในปี 2559 มี 2 โครงการ คือ 1) สะพานนนทบุรี 1 ของ ทช.มูลค่าก่อสร้าง 3,796 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในปี 2555 นี้

เส้นทางเริ่มจากจุดใกล้โรงเรียนศรีบุณยานนท์ และชุมชนตลาดขวัญ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปสิ้นสุดโครงการที่ถนนราชพฤกษ์

2) สะพานเกียกกายของ กทม. วงเงิน 9,100 ล้านบาท อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะเริ่มสร้างในปี 2556 ออกแบบเป็นสะพานยกระดับและถนนต่อเชื่อมยกระดับขนาด 4-6 ช่องจราจร จุดเริ่มต้นอยู่บริเวณทางรถไฟสายใต้ ตัดตรงข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณซอย 93-95 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านวัดแก้วฟ้าจุฬามณี รัฐสภาแห่งใหม่ ผ่านถนนสามเสน ถนนทหาร ถนนเตชะวณิช ถนนประดิพัทธ์ วกเข้าถนนเทอดดำริห์ ตวัดออกข้ามทางด่วนขั้นที่ 2 บริเวณถนนพระรามที่ 6 เข้าถนนกำแพงเพชร ผ่านตลาด อ.ต.ก. ตลาดนัดจตุจักร มาบรรจบกับถนนพหลโยธินด้านกรมการขนส่งทางบก

ส่วนแผนโครงการระยะ 10 ปี (2560-2564) มี 8 แห่ง ประกอบด้วย 1) สะพานปทุมธานี 3 ของ ทล. วงเงิน 1,820 ล้านบาท ขนาด 4 ช่องจราจร ออกแบบเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยายาว 600 เมตร พร้อมถนนต่อเชื่อมอีก 10.5 กม. ไปต่อเชื่อมกับถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตกกับถนนรังสิต-ปทุมธานี บริเวณแยกโรงพยาบาลเซนต์คาร์ลอส

2) สะพานสมุทรปราการ ค่าก่อสร้าง 19,437 ล้านบาท อยู่ในความรับผิดชอบของ ทช. เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสะพานมีความยาว 3.3 กม. และถนนตัดใหม่อีก 37 กม. มีขนาด 6 ช่องจราจร จะเชื่อม 2 ฝั่งแม่น้ำ จากบริเวณถนน

สุขมวิทสายเก่าใกล้เมืองโบราณ ผ่านฟาร์มจระเข้แล้วข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านถนนสุขสวัสดิ์ไปเชื่อมกับถนนเลียบคลองสรรพสามิต ตัดผ่านป่าชายเลนไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 35 หรือถนนพระรามที่ 2 แนวโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการถนนวงแหวนรอบที่ 3 ของ ทล. ปัจจุบัน ทช.ได้ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นเสร็จแล้ว

3) สะพานพระรามที่ 2 ของ กทม. วงเงิน 3,000 ล้านบาท มีความยาว 2 กม. ขนาด 2 ช่องจราจร โครงการนี้ทางบริษัทที่ปรึกษาเสนอแนะเพิ่มเติม แนวเส้นทางอยู่บริเวณต่างระดับถนนพระรามที่ 2 ยกระดับข้ามผ่านถนนราษฎร์บูรณะ แม่น้ำเจ้าพระยา พาดผ่านถนนเจริญนคร ไปบรรจบกับถนนพระรามที่ 3 บริเวณจุดตัดกับถนนสาธุประดิษฐ์

4) สะพานจันทน์-เจริญนคร ของ กทม. วงเงิน 4,000 ล้านบาท มีความยาว 1.1 กม. ขนาด 2 ช่องจราจร สร้างจากถนนจันทน์ ข้ามถนนเจริญกรุง แม่น้ำเจ้าพระยามาลงที่ถนนเจริญนครใกล้วัดเศวตฉัตร

5) สะพานลาดหญ้า-มหาพฤฒาราม ของ กทม. วงเงิน 4,764 ล้านบาท ขนาด 2 ช่องจราจร ยาว 1.350 กม. เริ่มจากถนนลาดหญ้า ระหว่างซอยเจริญรัถ 18 กับซอยลาดหญ้า 17 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาลงถนนมหาพฤฒาราม บริเวณซอยแก้วฟ้า

6) สะพานราชวงศ์-ท่าดินแดง ของ กทม. วงเงิน 837 ล้านบาท ยาว 480 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร จะไม่มีการเวนคืน จากถนนท่าดินแดงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปลงที่ถนนราชวงศ์

7) สะพานท่าน้ำนนท์ ของ ทช. วงเงิน 800 ล้านบาท ยาว 490 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร สร้างบนถนนท่าน้ำนนท์-วัดโบสถ์ ใกล้ริมแม่น้ำเจ้าพระยาข้ามมาอีกฝั่งลงที่ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี

และ 8) สะพานสามโคก ของ ทล. ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นเสร็จแล้ว วงเงิน 5,192 ล้านบาท ยาว 440 เมตร พร้อมถนนต่อเชื่อมอีก 8.94 กม. มีขนาด 6 ช่องจราจร เริ่มต้นจากถนนสาย 347 (ปทุมธานี-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร) ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างวัดปทุมทองกับวัดบัวทอง ไปลงที่ถนนปทุมธานี-สามโคก-เสนาและแผนโครงการระยะ 20 ปี (2565-2574) มี 1 โครงการ คือสะพานสนามบินน้ำ ของ ทช. วงเงิน 1,580 ล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น ความยาว 1.4 กม. และถนนต่อเชื่อมอีก 5 กม. มีขนาด 4 ช่องจราจร จุดเริ่มต้นอยู่ที่ถนนสนามบินน้ำ ใกล้หมู่บ้านธิดารัตน์ ตรงไปข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังอีกฝั่งที่เป็นพื้นที่ตัดใหม่ก่อนถึงถนนราชพฤกษ์

"ใน 11 แห่งนี้ จะให้แต่ละหน่วยงานไปศึกษารายละเอียด หลังจากที่ คจร.หรือคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกเห็นชอบแล้ว เพื่อจะได้ดำเนินการตั้งงบประมาณมาก่อสร้างต่อไป ส่วนการเวนคืนยอมรับว่าจะต้องมีทุกโครงการทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำ ยกเว้นสะพานท่าราชวงศ์-ดินแดง ของ กทม.ที่ไม่มีการเวนคืน แต่ทั้งนี้อยู่ที่ผลการศึกษาและออกแบบของแต่ละโครงการ" นายประณตกล่าว

แหล่งข่าวจากกรมทางหลวงชนบทกล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการสะพานสมุทรปราการอยู่ในแผนแม่บทนี้มีแนวโน้มจะต้องมีการเวนคืนที่ดินอยู่มาก เพราะส่วนของถนนเป็นการตัดแนวเส้นทางใหม่ แต่ส่วนใหญ่มีทั้งโรงงานและป่าชายเลน

โดยในปี 2555 กรมได้ของบประมาณ 9 ล้านบาทมาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หากงบประมาณก่อสร้างไม่มีอาจจะต้องกู้เงินมาดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งโครงการนี้จะเป็นส่วนเชื่อมต่อและแบ่งเบาการเดินทางจากภาคตะวันออกไปยังภาคใต้ได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ จะใช้รูปแบบก่อสร้างสะพานที่ไม่มีในประเทศไทยมาก่อน ในอนาคตหากสร้างเสร็จอาจจะเป็นแลนด์มาร์กของประเทศไทยได้



ที่มา  :  วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555 ประชาชาติธุรกิจ



TAG :เวนคืนที่ดิน 11 จุด 2 ฝั่งเจ้าพระยา ผุดสะพานใหม่5.4หมื่นล้าน"นนท์1"นำร่องปี"55,ข่าวอสังหา,อสังหาริมทรัพย์,บ้าน,ที่อยู่อาศัย,ข่าวผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง,ข่าวก่อสร้าง,อีบิลด,eBuild,ข่าวสร้างบ้านebuild

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.