" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวอสังหาริมทรัพย์  
NEWS ผู้ค้าจตุจักรระส่ำศึกชิงพื้นที่ยืดเยื้อ กทม.ลักไก่ต่อสัญญาล่วงหน้า-ปีใหม่ร.ฟ.ท.ขู่ยึดคืน
วันที่ลง : 09-Dec-2011   จำนวนคนอ่าน 567

สัญญาเช่าตลาดนัดจตุจักรยังเคลียร์ไม่ลงตัว กทม.เปิดเกมยื้อต่อ ลักไก่ต่อสัญญาผู้ค‰าหมื่นรายชั่วคราว 1 ปี ถึง 31 ธ.ค. 2555 อ้างสงวนสิทธิ์เปิดตลาดขายต่อ หวั่นผู้ค้าฟ้อง ร.ฟ.ท.เร่งปิดเกม ร่อนหนังสือถึง กทม.ดีเดย์ 2 ม.ค. 2555 เข้ายึดคืนมาบริหารเอง ยาหอมผู้ค้าคิดค่าเช่าถูก ฟากผู้ค้าแยกเป็นกลุ่มมีทั้งไม่สนใครจะบริหารตลาด แค่ขอให้กำหนดค่าเช่าเป็นธรรม อีกกลุ่มเชียร์ กทม.ชี้คิดค่าเช่า ถูกกว่า ร.ฟ.ท.ที่ขอปรับเท่าตัว


นับจากนี้เหลือเวลาอีกเพียง 3 สัปดาห์ สัญญาเช่าที่ดินตลาดนัดจตุจักรบนเนื้อที่ 68 ไร่ 59 ตร.ว. ระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ก็จะสิ้นสุดลงในวันที่ 1 ม.ค. 2555 แต่ปัจจุบันทั้ง กทม. และ ร.ฟ.ท. ยังหาข้อยุติเรื่องอัตราค่าเช่าไม่ได้ โดยกทม.ขอต่อสัญญาเช่า 30 ปี ในอัตราเดียวกับที่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เช่าจาก ร.ฟ.ท. เฉลี่ย 700 บาท/ตร.ม./ปี หรือปีละ 79 ล้านบาท ขณะที่ ร.ฟ.ท.จะคิดค่าเช่าที่ 420 ล้านบาท/ปี และปรับขึ้น 15% ทุก 5 ปีหรือเฉลี่ย 3,000-3,500 บาท/แผง/เดือน

น่าจับตามองว่า ถึงที่สุดแล้วอัตรา ค่าเช่าที่พอใจทั้งสองฝ่ายจะลงเอยในระดับใดและผู้เช่าในตลาดมีอยู่ประมาณ 10,000 แผงจะต้องเสียค่าเช่าแผงเท่าใดต่อเดือน ที่สำคัญหากภายในสิ้นเดือน ธ.ค.นี้การเจรจายังไม่ได้ข้อยุติ เรื่องจะยืดเยื้อออกไปนานแค่ไหน

ผู้ค้าขอราคาเป็นธรรม

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ลงสำรวจพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร พบว่าผู้ค้ามีความคิดเห็นแตกต่างกันไป โดยบางส่วนมองว่าจะเป็น ร.ฟ.ท.หรือ กทม. เข้ามาบริหารตลาดก็ได้ เพราะคงไม่แตกต่างกันมาก แต่ขอให้คิดค่าเช่าในอัตราที่เป็นธรรมและอยู่ได้ทั้งสองฝ่ายคือผู้เช่าแผงและผู้บริหารพื้นที่ จากปัจจุบันที่ผู้เช่าตั้งแต่แรกเสียค่าเช่าแผงอยู่ที่ 250-500 บาท/แผง/เดือน แต่หาก ร.ฟ.ท.คิดค่าเช่าที่ 3,000-4,000 บาท/ แผง/เดือน คงรับไม่ไหว เพราะตลาดนัดจตุจักรเปิดขายแค่ 8 วัน/เดือน

ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจไม่ดี การค้าขายไม่คึกคักเหมือนก่อนหน้านี้ ส่งผลให้รายได้จากการค้าขายไม่แน่ไม่นอน ค่าเช่าแผงค้าปัจจุบันจึงไม่ได้สูงถึงระดับ 10,000-20,000 บาท/เดือน เหมือนที่ ร.ฟ.ท.เข้าใจ บางแผงค่าเช่าบางทำเลลดเหลือ 4,000-5,000 บาทก็มี

ขณะที่อีกบางส่วนระบุว่า อยากให้ กทม.บริหารตลาดต่อ เพราะประเมินว่า กทม.จะคิดค่าเช่าแผงไม่แพงนัก เมื่อเทียบกับ ร.ฟ.ท.ที่จะให้บริษัทเอกชนมา บริหารก็จะทำให้ค่าเช่าแผงปรับขึ้นแน่นอน จนในที่สุดผู้ค้าจะสู้ค่าเช่า ไม่ไหว เช่น กรณีเป็นแผงค้าเซ้งมาจากเจ้าของแผงอีกต่อหนึ่งจะเสียค่าเช่าเพิ่มอีกเท่าตัว จากปัจจุบันจ่ายค่าเช่าแผง เดือนละ 7,000-15,000 บาท

ทั้งนี้จากการสำรวจพื้นที่พบว่า โครงการที่อยู่บริเวณด้านใน ในทำเลไม่ค่อยดี คนเดินเข้ามาไม่ถึง ปัจจุบันเจ้าของแผงบางส่วนได้ติดป้ายประกาศเช่าเซ้งแผงค้าจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีการปรับลดค่าเช่าลง เช่น จาก 15,000 บาท/เดือน เหลือ 10,000 บาท/เดือน แต่หากเป็นโซนขายส่งได้จะคิดค่าเช่าแผงที่ 10,000-20,000 บาท/เดือน

กทม.แอบต่อสัญญาเช่าผู้ค้า 1 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างที่การเจรจาระหว่าง กทม.-ร.ฟ.ท.ยังไม่ยุติ ทางกองอำนวยการตลาดนัดจตุจักรให้ ผู้ค้าทั้งหมดไปเสียค่าธรรมเนียมในอัตรา 100 บาท/แผงเพื่อต่อสัญญาเช่าชั่วคราว 1 ปี (1 ม.ค.-31 ธ.ค. 2555) ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมนี้ล่วงหน้าแล้ว

นายอรุณ ศรีจรูญ ผู้อำนวยการกองตลาดนัดจตุจักร กล่าวว่า สาเหตุที่ให้ ผู้ค้ามาต่อสัญญาเช่าชั่วคราวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2525 ที่ให้ กทม.บริหารพื้นที่ตลาดได้โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา เพื่อไม่ให้เกิดเป็นสุญญากาศและเป็นการสงวนสิทธิ์ให้ ผู้ค้าได้เปิดขายต่อไปได้ มิฉะนั้นผู้ค้าอาจยื่นฟ้องร้องกองอำนวยการตลาดได้

"หากได้ข้อตกลงกับ ร.ฟ.ท.เรื่องอัตราค่าเช่า และจะใช้ราคาใหม่ ผู้เช่าก็จะต้องจ่ายค่าเช่าย้อนหลังให้ กทม. แต่ยังบอกไม่ได้ว่าจะได้ข้อยุตในกี่เดือน แต่หากหาข้อสรุปไม่ได้ อาจจะต้องยื่นข้อพิพาทเพื่อหาคนกลางมาตัดสิน เพราะตอนนี้ต่างคนต่างยึดราคาของตัวเองเป็นหลัก กทม.ยังยืนราคาเดียวกับ อ.ต.ก.ที่ 700 บาท/ตร.ม./เดือน หรือผู้ค้าเสียค่าเช่าเฉลี่ย 500 บาท/เดือน"

ทั้งนี้ หากได้ต่อสัญญาเช่ากับ ร.ฟ.ท. อีก 30 ปี มีแผนจะจ้างจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยมาศึกษารูปแบบการพัฒนาตลาดนัดจตุจักรใหม่ เช่น รูปแบบอาคารร้านค้า โซนพื้นที่ค้าขาย เป็นต้น แต่ยังคงคอนเซ็ปต์เดิมคือเป็นตลาดเปิด และขายทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เพราะเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกแล้ว

ร.ฟ.ท.เตรียมยึดคืน 2 ม.ค.นี้

ขณะที่นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายชัดเจนให้ ร.ฟ.ท.เข้าไปบริหารตลาดจตุจักรแทน กทม.ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. 2555 เป็นต้นไป โดยจะตั้งบริษัทลูกขึ้นมาบริหาร ซึ่งได้ยื่นขอจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เรียบร้อยแล้ว ชื่อ "บริษัท ตลาดนัดจตุจักร ร.ฟ.ท. จำกัด" แต่ต้องผ่านความเห็นชอบจาก ครม. ก่อนจึงจะดำเนินการได้ ช่วงรอการอนุมัติ ร.ฟ.ท.จะบริหารเอง

"เรากำลังประเมินรายได้ที่จะได้ทั้งหมดว่า ถ้าคิดค่าเช่าในอัตราเท่านี้จะได้เท่าไหร่ เช่น ค่าเช่า 3,000-4,000 บาท รถไฟฯจะมีรายได้กว่า 400 ล้านบาท/ปี ถ้าคิดถูกกว่านี้จะมีรายได้เท่าไหร่ ยังไม่ตายตัวเรื่องค่าเช่า อาจถูกกว่านี้ก็ได้ เพราะเราไม่มีต้นทุนอะไรเลย แต่บอกได้จะอยู่ในอัตราที่ผู้ค้ารับได้"

ด้านนายทวีศักดิ์ สุทธิเสริม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ร.ฟ.ท. กล่าวว่า วันที่ 29 พ.ย. ที่ผ่านมาได้ทำหนังสือแจ้ง กทม.ว่า ร.ฟ.ท.จะเข้าไปบริหารพื้นที่ตลาดตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. 2555 เป็นต้นไป หลัง กทม.ไม่ตอบตกลงเรื่องค่าเช่าภายในกำหนดวันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมา จากที่ ร.ฟ.ท.ได้เสนอไป 420 ล้านบาท/ปี เบื้องต้น ร.ฟ.ท.จะเข้าไปบริหารเองทั้งหมด และอาจให้เอกชนเข้ามาดำเนินการบางส่วน เช่น การจัดเก็บขยะ เป็นต้น ส่วนการที่ กทม.ต่อสัญญาเช่าให้ผู้ค้าออกไปอีก 1 ปี ถือว่าทำผิดกฎหมาย เพราะ ร.ฟ.ท.ยังไม่ได้ต่อสัญญาให้แต่อย่างใด





ที่มา  :  วันที่ 08 ธันวาคม พ.ศ. 2554  ประชาชาติธุรกิจ



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.