" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวอสังหาริมทรัพย์  
NEWS "ITD" สร้างเร็ว...สะพานนนท์ 1 มีเฮแน่นอน ทช.ร่นเปิดใช้เร็วขึ้นภายในกลางปี"57
วันที่ลง : 18-Jun-2013   จำนวนคนอ่าน 737

ครบ 1 ปีพอดิบพอดีโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณนนทบุรี 1 ของ "ทช.-กรมทางหลวงชนบท" ที่ทุ่มเม็ดเงินก่อสร้างไปกว่า 3,795 ล้านบาท

โดย มิสเซอร์เวย์
ความ คืบหน้าล่าสุดทางยักษ์รับเหมา "กลุ่มกิจการร่วมค้าไอทีดี-เอสเอ็มซีซี" (บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์+บ.สุมิโตโม) เริ่มตอกเข็มเมื่อต้นพฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าทำผลงานการก่อสร้างได้ดีและกำลังไปได้สวย

โดย มีผลงานก่อสร้าง ณ เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คืบหน้ากว่า 31% เร็วกว่าแผนหลายเดือน แยกเป็นงาน "สะพาน" เร็วกว่าแผนงาน 4 เดือน งานถนนเร็วกว่าแผน 1 เดือน จน "ทช." แพลมออกมาว่าอาจจะเลื่อนแผนเปิดใช้บริการเร็วขึ้นจากกำหนดเดิมที่จะแล้ว เสร็จในเดือนตุลาคม 2557

"ชาติชาย ทิพย์สุนาวี" อธิบดีกรมทางหลวงชนบท กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากการตรวจเช็กผลงานการก่อสร้างของผู้รับเหมาล่าสุด ประเมินภาพรวมแล้วคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จก่อนกำหนดแน่นอน อย่างน้อยประมาณ 2 เดือน คาดว่าจะเร็วขึ้นเป็นภายในช่วงกรกฎาคม-สิงหาคม 2557

"สาเหตุที่ทำให้โครงการนี้ก่อสร้างได้เร็วเพราะผู้รับเหมาปรับก่อสร้างใหม่ ใช้ระบบคอนกรีตสำเร็จรูปเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน"

"อธิบดี ชาติชาย" กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ผู้รับเหมาคือบริษัทอิตาเลียนไทยใช้วิธีการก่อสร้างรูปแบบใหม่ โดยหล่อคอนกรีตสำเร็จรูปที่โรงงานแล้วนำมาประกอบที่ไซต์ก่อสร้าง พร้อมทั้งดำเนินการก่อสร้างในส่วนของสะพานทั้ง 2 ฝั่งเจ้าพระยาไปพร้อม ๆ กัน จากนั้นก็จะไล่เก็บงานมาเรื่อย ๆ จนมาบรรจบชิ้นส่วนสุดท้ายเพื่อเชื่อมเข้าหากันที่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้การก่อสร้างเร็วขึ้นเนื่องจากประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน

"ขณะนี้ความคืบหน้าอยู่ระหว่างก่อสร้างโครงสร้างส่วนบนของสะพานหลักทางยกระดับ และทางแยกต่างระดับ"

ใน อนาคตอันใกล้โครงการนี้หลังจากก่อสร้างเสร็จแล้วจะเป็นเส้นทางเสริมโครงข่าย การคมนาคมกรุงเทพฯ โซนตะวันตกกับจังหวัดนนทบุรีตลอดทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ให้สามารถเดินทางเชื่อมโยงกันสะดวกมากขึ้น

เนื่อง จากปัจจุบันการจราจรบนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณใกล้เคียง ทั้งสะพานพระนั่งเกล้า-สะพานพระราม 5 รวมถึงถนนสายหลัก 3 สาย "รัตนาธิเบศร์-งามวงศ์วาน-ติวานนท์" ที่มีปัญหาการจราจรหนาแน่นให้สามารถคลี่คลายลงได้

"ถ้าสะพานแห่งนี้ เสร็จจะช่วยแบ่งเบาการจราจรของสะพานพระราม 5 ที่มีปริมาณจราจรกว่าวันละ 90,000 คัน สะพานพระนั่งเกล้าทั้งเก่าและใหม่กว่า 185,000 คัน/วัน"

สำหรับ โครงการ "สะพานนนทบุรี 1" ออกแบบเป็นโครงสร้างสะพานคานขึง 6 ช่องจราจร มีความยาวรวม 460 เมตร มีถนนต่อเชื่อม 6 ช่องจราจรอีกต่างหาก

จุด เริ่มต้นโครงการอยู่ใกล้กับโรงเรียนศรีบุณยานนท์ จากนั้นแนวจะไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้แล้วข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังฝั่งตะวัน ตกบริเวณพื้นที่ฝั่งใต้ของคลองอ้อมนนท์ แล้วเบนไปทางทิศตะวันตกตัดผ่านถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี แล้วขนานไปทางด้านใต้ของแนวถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่าน้ำนนทบุรี

โดยจะ ตัดผ่านพื้นที่ว่างเปล่าและสวนจนมาบรรจบซ้อนทับกับถนนวัดโบสถ์ดอนพรหม-ท่า น้ำนนทบุรีไปจนถึงจุดสิ้นสุดโครงการที่ถนนราชพฤกษ์ บริเวณสะพานข้ามถนนราชพฤกษ์ รวมระยะทางประมาณ 4.3 กิโลเมตร

พร้อมกัน นี้จะมีจุดขึ้น-ลงเพื่อให้สะดวกในการเข้า-ออกโครงการง่ายขึ้น มีตั้งแต่จุดริ่มต้นโครงการ "บริเวณนนทบุรี 1" จะมีทางลงสำหรับรถที่ต้องการจะไปถนนนนทบุรี 1 ไปท่าน้ำนนทบุรี ต่อมาเป็นจุด "บริเวณจุดตัดระหว่างถนนวัดโบสถ์ดอนพรหมกับท่าน้ำนนทบุรี" และจุด "บริเวณทางแยกต่างระดับที่ถนนราชพฤกษ์" ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดโครงการ


ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์  (18  มิถุนายน  2556)



TAG :"ITD", สร้างเร็ว,.สะพานนนท์ 1,เปิดใช้,ภายในกลางปี"57 ,อีบิลด

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.