" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวอสังหาริมทรัพย์  
NEWS ค่ายวัสดุ-ซัพพลายเออร์ตีปี๊บรองาน2ล้านล. "SCG"เพิ่มผลิตปูน "ซีเมนส์"ลดเพดานบินแข่งจีน-ยุ่น
วันที่ลง : 12-Jun-2013   จำนวนคนอ่าน 628

เปิดไส้ในเค้กประมูลโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้าน ค่าก่อสร้างท่วมท้น 1.4 ล้านล้าน จัดหาระบบรถไฟฟ้าเฉียด 3 แสนล้าน จ่ายค่าเวนคืนกว่า 1 แสนล้าน จ้างที่ปรึกษา 4 กว่าหมื่นล้าน ผู้ผลิตวัสดุรับเละกว่า 8 แสนล้าน พี่ใหญ่ "เอสซีจี" เตรียมขยายกำลังผลิตปูนซีเมนต์เต็มที่ ด้าน 4 เสือรับเหมา "ช.การช่าง-อิตาเลียนไทย-ซิโน-ไทยฯ-ยูนิค" แต่งตัวรอ ซัพพลายเออร์ เยอรมนี "ซีเมนส์" ยอมปลดล็อกระบบอาณัติสัญญาณชนคู่แข่งอย่าง "จีน-ญี่ปุ่น"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้ว่าร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลเตรียมนำมาลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยใน 7 ปี นับจากปี 2556-2563 ยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่โครงการต่าง ๆ เหล่านี้ก็อยู่ในความสนใจและเป็นความหวังของผู้ประกอบการไทยในธุรกิจที่ เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้รับเหมา ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง ซัพพลายเออร์ระบบรถไฟฟ้า บริษัทที่ปรึกษา

ตะลึง...ค่าวัสดุ 8 แสนล้าน

แหล่ง ข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หากรัฐสภาไม่มีข้อท้วงติงใด ๆ คาดว่าในเดือนกันยายนนี้ ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะเริ่มมีผลบังคับใช้ได้ทางกฎหมาย จากนั้นจะเริ่มประมูลก่อสร้างต่อไป โดย พ.ร.บ.เงินกู้ดังกล่าวจะระบุแผนลงทุนชัดเจน ทั้งค่าที่ปรึกษา ค่าที่ดิน ค่าก่อสร้าง และค่าระบบรถไฟฟ้า

ทั้งนี้ บัญชีแผนลงทุนโครงการจะมีหมวดรายการหลัก ๆ 4-5 รายการ คือ 1.ค่าก่อสร้าง มีวงเงินรวมประมาณ 1,491,394 ล้านบาท อาทิ รถไฟทางคู่ 235,622 ล้านบาท รถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง 579,886 ล้านบาท ฯลฯ 2.ค่าที่ดินและเวนคืน รวมประมาณ 102,651 ล้านบาท อาทิ รถไฟความเร็วสูง 40,803 ล้านบาท ฯลฯ

3.ค่า ที่ปรึกษา 44,458 ล้านบาทโดยประมาณ เช่น รถไฟทางคู่ 9,212 ล้านบาท รถไฟความเร็วสูง 14,300 ล้านบาท เป็นต้น และ 4.ค่างานระบบรถไฟฟ้า ประมาณ 298,398 ล้านบาท

"ในค่าก่อสร้างกว่า 1.4 ล้านล้านบาท ถ้าแยกคำนวณเฉพาะค่าวัสดุก่อสร้าง เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก ปกติจะอยู่ที่ 60-65% หรือประมาณ 894,836 ล้านบาท" แหล่งข่าวกล่าว

ยักษ์รับเหมาตีปีก

นาย อังสุรัสมิ์ อารีกุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปภัมภ์ กล่าวว่า โครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาทที่รัฐบาลกำลังจะดำเนินการ หากเริ่มได้จริงจะทำให้ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างคึกคักขึ้นอีกมาก เนื่องจากปัจจุบันในตลาดประมูลงานก่อสร้างขนาดใหญ่ไม่ค่อยมี จะมีแต่งานเล็ก ๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตามอยากจะขอให้รัฐบาลดูแลราคาค่าก่อสร้างให้สะท้อนต้นทุนที่แท้ จริงด้วย

นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ช.การช่าง กล่าวว่า ปัจจุบันแม้บริษัทจะมีงานในมืออยู่แล้วประมาณ 165,924 ล้านบาท แต่ก็ยังมั่นใจว่าบริษัทจะได้งานประมูลในโครงการ 2 ล้านล้านบาท อย่างน้อย 25-30% ของมูลค่างานประมูล เนื่องจากประสบการณ์และเครื่องมือก่อสร้างที่มีอยู่ครบครัน จึงมั่นใจว่าสามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นได้

"ผมเชื่อมั่นว่าเม กะโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้านจะเกิดได้จริง เพราะรัฐบาลผลักดันเต็มที่ ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้การขนส่งมีความต่อ เนื่อง โดยเฉพาะระบบรางมีต้นทุนถูกกว่าขนส่งรูปแบบอื่น" นายปลิวกล่าว

เช่น เดียวกับ นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และนายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น กล่าวทำนองเดียวกันว่า พร้อมจะเข้าประมูลงานโครงการ 2 ล้านล้านบาททุกโครงการ หากรัฐบาลเปิดประมูลจริง

นายประสงค์ สุวิวัฒน์ธนชัย กรรมการผู้จัดการ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น กล่าวว่า เตรียมพร้อมจะเข้าประมูล ล่าสุดบริษัทเพิ่งซื้อเครื่องจักรจากประเทศจีน มูลค่า 2,500 ล้านบาท รองรับการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงเตรียมพร้อมด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างให้รวดเร็วและลดต้นทุน โดยมีโรงงานผลิตระบบก่อสร้างสำเร็จรูปหรือพรีแฟบใน อ.กบินทร์บุรี 150 ไร่ และโรงหล่อคอนกรีต เช่น ทางยกระดับ อีก 1,700 ไร่ ที่ จ.สระบุรี และ 200 ไร่ที่นวลฉวี ย่านปากเกร็ด

เอสซีจีขยายกำลังผลิตรับมือ

นาย กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย กล่าวว่า เป็นโอกาสดีที่รัฐบาลจะลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพราะบางส่วนใช้งานมานาน หากทำได้จะช่วยทำให้ขีดความสามารถด้าน

โลจิสติกส์ของประเทศดีขึ้น และแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้

"สำหรับ ผลกระทบต่อความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างนั้น สินค้าปูนซีเมนต์คงมีไม่มาก ดูจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสายที่ผ่านมาใช้ประมาณ 2-3 ล้านตันเท่านั้น แต่ที่ใช้เยอะคือการก่อสร้างอาคารในแนวรถไฟฟ้าที่เป็นผลพลอยได้ตามมา ในส่วนของเอสซีจีเองมีกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ปีละ 23 ล้านตัน ผลิตจริง 17-20 ล้านตัน ยังรองรับดีมานด์ตรงนี้ได้ สามารถเดินเครื่องขยายกำลังการผลิตปูนโรงเก่าให้เต็มที่ทั้งที่ลำปางและ แก่งคอย" นายกานต์กล่าว

ซีเมนส์เร่งย้ำภาพลักษณ์

นาย แอนโทนี เชย์ ประธานและหัวหน้าฝ่ายบริหาร บริษัท ซีเมนส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทอยากจะให้ความรู้และเรื่องการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงให้ กับประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลไทยกำลังจะลงทุนระบบราง แต่ยังไม่เคยสร้างรถไฟความเร็วสูงมาก่อน

ทางซีเมนส์มีระบบรถไฟฟ้ารองรับกับโครงการอยู่แล้ว ทั้งรถไฟฟ้าและไฮสปีดเทรน มีความยินดีที่จะแชร์ประสบการณ์ให้กับประเทศไทย

"ถ้า รัฐบาลไทยเลือกระบบของเรา บริษัทจะปลดล็อกเรื่องระบบอาณัติสัญญาณให้นำรถไฟฟ้ายี่ห้อไหนก็ได้มาวิ่งให้ บริการ ไม่จำเป็นต้องใช้รถที่ผลิตโดยซีเมนส์ ระบบของเราเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก ตอนนี้การแข่งขันในตลาดเพื่อจะเซตระบบให้กับประเทศไทยมีสูงมาก และมีหลายประเทศที่สนใจจะเข้ามาร่วมแข่งขันประมูลงาน เช่น ประเทศจีน ญี่ปุ่น สเปน ฝรั่งเศส แคนาดา ขณะนี้ทุกคนกำลังเคลื่อนไหว ส่วนซีเมนส์ถือว่าเปิดตลาดรถไฟฟ้าในประเทศไทยมาก่อนทั้งรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงก์ บีทีเอส ใต้ดิน อยากจะรักษาตลาดนี้ไว้"

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์  (12  มิถุนายน  2556)



TAG :ค่ายวัสดุ-ซัพพลายเออร์ตีปี๊บรองาน2ล้านล. "SCG"เพิ่มผลิตปูน "ซีเมนส์"ลดเพดานบินแข่งจีน-ยุ่น

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.