" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักข่าวก่อสร้าง     ข่าวอสังหาริมทรัพย์  
NEWS คลังจ้องฮุบ"แอร์พอร์ตลิงก์-ที่ดินมักกะสัน" "ศศินทร์"ชงคมนาคมกู้ซากรถไฟฟ้าปลดแอกภาระหนี้3หมื่นล้าน
วันที่ลง : 10-Jun-2013   จำนวนคนอ่าน 629


เปิดผลศึกษา "ศศินทร์" กู้ซากแอร์พอร์ตลิงก์ ชงโอนหนี้ 3 หมื่นล้านให้กระทรวงคลัง แลกกับที่ดิน 497 ไร่ ย่านมักกะสันของการรถไฟฯ กับอีกทางเลือกให้ลดบทบาทการรถไฟฯ จากเดิมถือหุ้น 99.99% ลดเหลือ 25% โดยให้คลังถือหุ้นใหญ่ 75% พร้อมกับรับภาระหนี้ 1.8 หมื่นล้าน หนี้ก้อนที่เหลือ 1.1 หมื่นล้านให้บริษัทแอร์พอร์ตลิงก์รับผิดชอบตัวเอง ควบคู่เช่าที่ดินตลอดแนวรถไฟฟ้า 28 กม. พัฒนาที่ดินหารายได้เสริม

นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในเร็ว ๆ นี้จะนำเสนอผลการศึกษาของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาว่าจะอนุมัติตามแนวทางข้อเสนอหรือไม่

แก้ภาระหนี้ก้อนโต 3 หมื่นล้าน

ทั้ง นี้ ผลการศึกษาของศศินทร์ฯดำเนินการตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) สั่งให้กระทรวงคมนาคมหาแนวทางแก้ปัญหารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ที่มีภาระ หนี้อยู่กว่า 3 หมื่นล้านบาท ด้วยการจัดการองค์กรใหม่ทั้งระบบ ปรับโครงสร้างทางการเงิน และการถ่ายโอนสินทรัพย์ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งเป็นองค์กรแม่ และบริษัทลูกคือบริษัทแอร์พอร์ตลิงก์

โดยกระทรวงคมนาคมได้ว่าจ้างศศินทร์ฯเป็นผู้ศึกษาโครงการภายใต้โจทย์ ที่กระทรวงการคลังให้มา คือแยกบริษัทแอร์พอร์ตลิงก์ออกจากการบริหารจัดการของ ร.ฟ.ท. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น 99.99%

"ขณะเดียวกันทางศศินทร์ฯจะดูความเหมาะ สมในการถือหุ้นในบริษัทด้วยว่าใครจะเหมาะสมที่สุด ระหว่าง ร.ฟ.ท.เหมือนเดิม กับกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น ถึงจะทำให้มีกำไรและมีสภาพคล่องด้านการเงิน"

นาย จำรูญกล่าวว่า การดำเนินการจะเริ่มจากบริหารจัดการองค์กรของบริษัททั้งระบบ ด้วยการแยกทรัพย์สิน มี 3 ประเภทคือ โครงสร้างพื้นฐาน ที่ดิน และระบบ แนวทางจะมี 2 ทางเลือกคือ การโอนสินทรัพย์ หรือการเช่าสินทรัพย์แยกทรัพย์สิน-หาเงินกู้เพิ่ม

สำหรับ รายละเอียดทรัพย์สินประกอบด้วย สินทรัพย์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน มูลค่า 18,318 ล้านบาท และสินทรัพย์ที่เป็นงานระบบ เช่น ระบบอาณัติสัญญาณ ไฟฟ้า โทรคมนาคม รถไฟฟ้า เครื่องจักรกล เป็นต้น มูลค่า 15,094 ล้านบาท

"ทาง ศศินทร์ฯเสนอแนะให้โอนทรัพย์สินที่เป็นงานระบบมาอยู่กับบริษัททั้งหมด ส่วนภาระหนี้ที่ได้ลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้รัฐบาลรับภาระแทน ส่วนที่ดินนั้นควรจะให้บริษัทเช่าในราคาถูกจึงจะอยู่ได้ เพื่อสร้างรายได้เสริมนอกเหนือจากค่าโดยสารที่จัดเก็บอยู่ปีละ 600 ล้านบาท" นายจำรูญกล่าวและว่า

สำหรับงานระบบที่บริษัทต้องรับภาระหนี้กว่า 15,094 ล้านบาท เมื่อหักค่าเสื่อมแล้วจะเหลือ 11,705 ล้านบาท ในจำนวนนี้บริษัทรับภาระกว่า 6,350 ล้านบาท ส่วนที่เหลือให้กระทรวงการคลังแปลงเป็นทุนให้บริษัทเพื่อนำเงินมาดำเนินการ บริษัทต่อไป

นอกจากนี้จะต้องหาเงินกู้ให้บริษัทในอนาคตสำหรับใช้ เป็นเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 1,860 ล้านบาท และค่าซื้อรถไฟฟ้าใหม่จำนวน 7 ขบวน วงเงิน 5,200 ล้านบาท รวมเบ็ดเสร็จภายหลังการโอนทรัพย์สินและแยกองค์กรออกมาแล้ว บริษัทจะต้องมีภาระหนี้ประมาณ 18,765 ล้านบาท ภายใน 20 ปี และจากประมาณการผลดำเนินงานยังขาดทุนกระแสเงินสดอยู่ 7-8 ปี แต่จะไม่เป็นภาระให้กับกระทรวงการคลัง

ชงคลังถือหุ้นใหญ่แทน ร.ฟ.ท.

"ตาม โมเดลนี้ แอร์พอร์ตลิงก์จะเป็นบริษัทจำกัด มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ดำเนินงานภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม แต่กระทรวงการคลังจะเข้ามาถือหุ้นในบริษัทไม่น้อยกว่า 75% เพื่อให้มีอำนาจในการบริหารเบ็ดเสร็จ ส่วนที่เหลืออีก 25% จะให้การรถไฟฯถือหุ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่การตัดสินใจของกระทรวงคมนาคม โดยกระทรวงการคลังจะเข้ามามีสิทธิ์ในเรื่องการส่งผู้บริหารมานั่งในบอร์ด บริษัท" นายจำรูญกล่าว

ทางศศินทร์ฯยังได้จำลองโมเดลกรณีที่บริษัทรับ จ้างเดินรถและซ่อมบำรุงอย่างเดียว โดยไม่รับภาระใด ๆ จะมีรายได้จากผลประกอบการ จึงสามารถมีผลกำไรในปีแรกของการประกอบการ แต่มีข้อควรระวังคือ กรณียังไม่มีระบบต่าง ๆ ในการประกอบการ บริษัทอาจจะต้องกู้ยืมเพื่อจัดหาระบบ ซึ่งหมายถึงจะมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และอยู่ภายใต้ระเบียบการจัดซื้อของ ร.ฟ.ท.เหมือนเดิม อาจทำให้การบริหารจัดการไม่คล่องตัว อีกทั้งกระแสเงินสดของบริษัทจะลดต่ำลงจนขาดสภาพคล่องทางการเงินได้ ซึ่งอาจจะกระทบทำให้แผนการจัดหาซื้อและซ่อมบำรุงไม่เป็นไปตามแผน

โดย สรุปสุดท้ายในผลการศึกษาระบุด้วยว่า หากบริษัทแอร์พอร์ตลิงก์ให้ ร.ฟ.ท.ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทจะทำให้สถานการณ์ของบริษัทกลับไปที่เดิม เพราะขั้นตอนกระบวนการจัดซื้อของ ร.ฟ.ท.ล่าช้าและไม่เอื้ออำนวย การขาดสภาพคล่องขององค์กร หรือการจัดทำและบริหารสัญญาจ้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น การรักษาความปลอดภัย รักษาความสะอาด เป็นต้น การขาดความเข้าใจและความชำนาญในเชิงปฏิบัติทางด้านการตลาดที่ต้องรวดเร็วและ ทันต่อเหตุการณ์

จับตาข้อเสนอแลกที่ดินมักกะสัน

ผู้ สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ทางศศินทร์ฯได้เสนอผลการศึกษาเบื้องต้นมาแล้วเมื่อต้นเดือนพ.ค. 2556 ที่ผ่านมา โดยยังยึดหลักการเดียวกันคือ แยกบริษัทแอร์พอร์ตลิงก์ออกจาก ร.ฟ.ท. แต่ได้เสนอวิธีการอื่นเข้ามาเป็นทางเลือกด้วยคือให้แลกเปลี่ยนที่ดิน มักกะสันกับหนี้สินของแอร์พอร์ตลิงก์ทั้งหมดกว่า 3 หมื่นล้านบาท

วิธี การคือให้กระทรวงการคลังนำที่ดินมักกะสันพื้นที่ 497 ไร่ ไปพัฒนาประโยชน์เพื่อหารายได้ในเชิงพาณิชย์ในระยะยาว 30 ปี ประมาณการรายได้คร่าว ๆ อยู่ที่ 30,000-64,000 ล้านบาท แต่ข้อเสนอนี้ทาง ร.ฟ.ท.ยังไม่ตอบตกลง เนื่องจากมีแผนจะนำที่ดินแปลงนี้มาประมูลหารายได้ระยะยาวเช่นกัน

ขณะ ที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เคยหยิบมาพิจารณาในที่ประชุมบ้างแล้ว เช่นเดียวกับกระทรวงการคลังก็เคยมีแนวคิดจะดำเนินการแนวทางนี้เช่นกัน เพื่อเป็นการหารายได้เข้ารัฐบาล

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์  (10  มิถุนายน  2556)



TAG :คลัง,จ้องฮุบ,แอร์พอร์ตลิงก์,มักกะสัน,ศศินทร์,คมนาคม,อีบิลด

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้





สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.