" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับไม้  
Article ลักษณะของบ้านทรงไทย

วันที่ลง : 27-Feb-2010

ลักษณะของบ้านทรงไทย

 จากข้อมูลต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในบทต้นๆพอจะสรุปลักษณะเฉพาะของเรือนไทยภาคกลางได้ดังนี้

1. หลักการต้องเป็นเรือนสำเร็จรูป

  เรือนที่มีขนาดไม่กว้างใหญ่หากต้องการให้มีพื้นที่มากก็สร้างมากหลังเป็น หมู่เรือนหรือต่อเป็น "พะไล" หรือ "โป่งโจ้ง" ยื่นออกมา เรือนไทยนี้นิยมเรียกว่าบ้านทรง "มนิลา" ขนาด 3ห้องหรือ 5 ห้องก็เป็นที่เข้าใจในหลักการ

2. โครงสร้าง

  ใช้ไม้สักเป็นส่วนใหญ่ ไม้เนื้อแข็งเช่นไม้ตะเคียน ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ฯลฯ เป็นส่วนประกอบเฉพาะที่เป็นส่วนโครงสร้าง อุปกรณ์การยึดตรึงที่เป็นโลหะเช่น สลักเหล็กและตะปูเป็นส่วนน้อย

3. ขนาดเรือน

 โดยประมาณเฉพาะในสมัยโบราณมาตราวัดระยะเป็นวา -ศอก -คืบ - นิ้ว และการคำนวณปริมาตรหน้าไม้คิดเป็นยก
ขนาดเรือนต่างๆ ของเรือนมีดังนี้
3.1
ตัวเรือน
 
ความกว้างด้านสกัดวัดส่วนในของพรึง 3.00 ถึง 4.00 เมตร (โดยทั่วไป 3.50 เป็นสูงสุด แต่ขนาดที่เหมาะกับการใช้สอยปัจจุบัน 4.00 เมตร) ความสูงจาก พื้นถึงท้องขื่อประมาณ 3.50 เมตร ใต้ถุนสูงจากดินถึงพื้นประมาณ 4/5 ของความกว้าง ด้านสกัด (ความกว้างของขื่อที่ศูนย์กลางหัวเทียน)
3.2
เรือนครัวหรือครัวไฟ
 
ความกว้างด้านสกัด 2.00 ถึง 3.00 เมตร ระยะห้องหนึ่งๆ ยาว 2.00 ถึง 3.00 เมตร ความสูงจากพื้นถึงขื่อประมาณ 3.00 เมตร ใต้ถุนสูงจากดินถึงพื้นประมาณ 2.00-2.50 เมตร หลังคาทรงมนิลาทรงสูงเช่นตัวเรือน
3.3
ระเบียงหรือเฉลียง
 
กว้าง 1.50 -2.50 เมตร (2.00 เมตร เป็นขนาดกำลังเหมาะ) ระเบียงจะต้องมีมาตรฐาน หากไม่มีเป็น"อเนกประสงค์" ระเบียงยาวตลอดเรือน เฉลียงหรือระเบียงครัวคงได้ส่วนกัน แต่ครัวจะไม่มีระเบียงก็ได้สุดแต่ฐานะ
3.4
นอกชาน
 
ไม่มีกำหนดตายตัว สุดแต่ความเหมาะสม มีบันไดขึ้นหน้าบ้านและลงหลังบ้านเป็นบันไดใช้กิจ ขนาดความกว้างยาวและสูงของตัวเรือนจะกำหนดแน่นอนตายตัวไม่ได้ย่อมสุดแต่ "ไม้ที่หาได้ใกล้มือ" เป็นประการสำคัญขนาดกำหนดกว้างยาวของตัวเรือนกำหนดด้วยขนาดความกว้างยาวของ "พรึง" เป็นสำคัญเพราะพรึงมีหน้าที่รัดรอบตัวเรือนและชานและรองรับฝาตัวเรือนทั้ง สี่ด้าน

4. วัสดุมุงหลังคา

  มุงด้วยหญ้าคา จาก แฝก หรือกระเบื้องดินเผาไม่นิยมใช้กระเบื้องเคลือบดินเผาซึ่งต้องหมดเปลืองแรงคน และค่าใช้จ่าย และจะเป็นเหมือนโบสถ์วิหารหรือวังเจ้านายเป็นการบังอาจทำเทียมเจ้านายถือว่า ไม่เป็นสิริมงคล



 

5. แปลนเรือน

  รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและถือการแบ่งห้องเป็นหลักในการออกแบบ กล่าวคือ เรือน 3 ห้อง 5 ห้อง (7 ห้อง 9ห้อง ไม่นิยมเพราะลักษณะเรือนจะยาวใหญ่เป็นวิหารหรือวัง ไม้ก็หาได้ไม่เหมาะ) โดยทั่วไปเรือน 3 ห้องจัดเป็นมาตรฐาน ไม่นิยมสร้างบ้านจำนวนห้องคู่ เช่น 2 หรือ 4 ห้อง การวางตัวบ้านให้ขวางลมเพื่อรับลมใต้ หันจั่วไปด้านตะวันออก ตะวันตก ภายในร่วมเรือนกั้นเป็นห้องนอน 2 ช่วงเสา สำหรับเรือน 3 ห้องและ 3 ช่วงเสา สำหรับบ้าน 5 ห้อง โดยปกติ 2 ช่วงเสาเป็นหนึ่งห้องนอน มีระเบียงและชาน ระเบียงในร่มหลังคาจะลดพื้นหรือไม่ก็ได้ ส่วนมากลดพื้นให้เกิด "ร่องตีนแมว" ชานตากแดดฝนต้องลดพื้น ไม่มีห้องน้ำห้องส้วม สรุปต้องการเพียงห้องนอน ห้องโถงและระเบียงพอแล้วสำหรับตัวเรือน มีเรือนครัวต่างหาก ควรแยกออกไปอยู่ด้นตะวันตก เชื่อมด้วยชาน เพราะเรือนครัวจะบังตะวันตอนบ่ายจะได้ร่มเงาหน้าครัว

6.รูปทรง

  เป็นบ้านชั้นเดียวใต้ถุนสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังคาทรงมนิลาทรงสูงเสริม ชายหลังคาเป็นระเบียงหนึ่งด้านเรียกว่าบ้านทรง "มนิลา" ทรงตอนล่างจากพื้นดินจนสูงจดท้องขื่อ ท่อนล่างที่ระดับดินกว้างกว่าท่อนบนที่ตรงท้องขื่อและ "เอียงสอบ" โดยรอบทั้งสี่ด้าน การเอียงสอบหรือเอียงของเสาระยะนี้ประมาณ 2% การที่ตัวเรือนไทยเอียงสอบเข้า คงจะสันนิษฐานได้หลายประการ หลังคาทรงสูงรูปสามเหลี่ยมเรียกว่าทรง "หน้าจั่ว(Gable)" ความสูงของดั้งประมาณไม่เกิน 4/5 ของความกว้างของห้องด้านสกัด หรือความยาวของขื่อที่ตรงศูนย์ของหัวเทียน เสาเรือนจะเอียงสอบเข้าประมาณ 2% มีไขราหรือชายคารอบ 4 ด้าน และไขราหน้าจั่ว 2 ด้าน มีปั้นลมกันลมตีหัวจากเปิดและตัวปั้นลมจะเอียงออกประมาณ 2 % จากแนวดิ่งภายใต้เชิงกลอนของตัวเรือนจะทำเป็นกันสาดโดยรอบ 3 ด้าน แล้วมาบรรจบกับหลังคาระเบียงรวมเป็น 4 ด้านเพื่อกันแดดฝนและแสงกล้า

7.เพดาน

  ไม่มีเพดานหรือฝ้าสำหรับกันความร้อนในหลังคาทั้งๆที่น่าจะต้องมีแต่ไม่นิยม ทำที่เป็นเช่นนี้คงเพราะ
-
เพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงหลังคา
-
การยึดตรงไม่แน่นพออาจจะมีอันตราย
-
การทำสำเร็จรูปคงจะยกติดตั้งไม่สะดวก
-
เปลืองแรงงานซึ่งจะต้องสร้างให้เสร็จในวันเดียว

8.ฝา

  ฝาไม้ยกเป็นแผงๆ มาติดตั้ง ฝาเป็นแผงนี้จัดทำช่องหน้าต่างหรือประตูประกอบเสร็จ นำมาตั้งตามตำแหน่งแห่งที่ให้แน่นและมั่นคงฝาจะวางบรรจุอยู่ระหว่างหลังพรึง กับใต้แปหัวเสาฝาหัวท้ายด้านสกัดเรียกว่า "ฝาอุดหน้ากลอง" หรือ "ฝาหุ้มกลอง" ฝากั้นห้องเรียกว่า "ฝาประจันห้อง" ฝาด้านสกัดวางอยู่บนพรึงและใต้ขื่อ ที่ใดมีฝาประจันห้องที่นั้นต้องมีเสาดั้งหรือรับรอยต่อฝาประจันห้องซึ่ง มีสองกระแบะหรืองสองแผง ฝาเรือน 3 ห้องรวมฝาระเบียงจะมีประมาณ 13-15 แผง แผ่นฝาตรึงติดกับตัวเสาด้วยตะปู เพียง 4 ตัว คือตีตะปูตรึงที่ 4 มุมของฝาเท่านั้น และเต้าทุกตัวจะทำหน้าที่กระชับฝาให้แน่นอยู่กับที่ด้วย

9.พื้น

  ไม้หน้ากว้างประมาณ 40 ซม. หนา 4 ซม. ปูยาวท่อนเดียวตลอดความยาวของเรือน โดยทั่วไป 3 ช่วงห้อง ถ้า 5 ช่วงห้องคงจะต้องต่อเพราะหาไม้ยาวตลอดไม่ได้ต่างแผ่นต่างวางบนหลังรอด ไม่ยึดติดกันแน่น จะยึดบ้างเป็นระยะโดยใช้เดือยไม้ไผ่หรือไม้แสมสารหรือใส่ "ลิ้นกระบือ" ซึ่งจะกล่าวในบทต่อไป

10.บันได

  บันไดเรียกว่า "บันไดเจาะ" เป็นบันไดโปร่งไม่มีราวบันได เป็นบันไดขึ้นมาจากพื้นดินมาที่รั้วชานบ้าน
ที่ปลายบนของบันไดมีประตู และซุ้มพักกันแดดฝนบันไดหลังที่ใช้งานมักไม่มีซุ้มประตู

11.การ ยึดตรึง
  
ยึดพรึงติดกับเสาและใช้สลักเหล็กหรืออาจจะใช้ไม้เนื้อแข็งบ้าง เช่น ไม้แสมสาร ไม้เต็ง กำหนดแน่ไม้ไม้ (ในปัจุบันปัญหานี้หมดไปเพราะมีตะปูเหล็ก สลักเหล็กแทน) การยึดกลอนติดแปใช้ตะปู และการยึดฝาติดกับเสาใช้ตะปู

12.การ ฝีมือ
  
ฝีมือช่างประณีต โดยเฉพาะช่างไม้ในการเข้าปากไม้-- ไสกบ -- ลวดบัว ที่จำเป็น กล่าวคือทำด้วยจิตใจแสดงฝีมืออันประณีตและชำนาญเป็นสิ่งสำคัญ

  ลักษณะเฉพาะของเรือนไทยเท่าที่ได้กล่าวมานี้มิได้เป็นสิ่งแน่ตายตัว หากกล่าวโดยทั่วไปลักษณะบ้านไทยจะบรรยายเป็นตัวอักษรให้เห็นภาพเป็นการยาก จึงจะแสดงภาพเขียนรูปแบบและกฎเกณฑ์ ตามสุภาษิต "สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็น ไม่เท่าลงมือทำ"

ที่มา :http://www.baanrakkeaw.com/index.php?page=content&id=27



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.