" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับปูนซีเมนต์ คอนกรีต  
Article กำลังดัดและความทนทานของเฟอร์โรซีเมนต์หลังถูกไฟไหม้

วันที่ลง : 22-Jun-2009

       อัคคีภัยยังคงเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่อาจสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่ออาคาร วัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างอาคารส่วนใหญ่จะเสียกำลังที่อุณหภูมิสูง เป็นเหตุให้อาคารวิบัติขณะเกิดอัคคีภัยดังนั้นการใช้วัสดุป้องกันไฟ (Fire Protection Materials) หุ้มองค์อาคารต่างๆเพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับโครงสร้างจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง วัสดุป้องกันไฟที่พัฒนาขึ้นใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด สามารถแบ่งออกเป็นประเภทหลักๆได้แก่ วัสดุซึ่งมีส่วนประกอบของซีเมนต์ (Cementitious materials), Intumescent, ไฟเบอร์ และวัสดุคอมโพสิต(Composite material) เฟอร์โรซีเมนต์เป็นหนึ่งในวัสดุคอมโพสิต ซึ่งมีซีเมนต์มอร์ตาร์ (Mortar) เป็นองค์ประกอบ เสริมด้วยลวดตาข่าย (Wire mesh) ซึ่งมีช่องว่างพอเหมาะ [1] และด้วยเหตุที่มอร์ตาร์มีลักษณะของความเป็นฉนวนที่ดีและลวดตาข่ายช่วยลดการเกิดการหลุดร่อนได้ดีกว่าคอนกรีตหรือมอร์ตาร์ล้วน ดังนั้น การนำเฟอร์โรซีเมนต์มาหุ้มหรือสวม (Ferrocement Jacketing) เข้ากับองค์อาคารที่รับน้ำหนัก เช่น เสา คาน หรือ พื้น น่าจะช่วยเพิ่มความสามารถในการทนไฟให้กับองค์อาคารเหล่านั้น

       การใช้เฟอร์โรซีเมนต์แจคเก็ต มาหุ้มหรือสวมเข้ากับองค์อาคาร เป็นการเพิ่มแรงพยุงทางด้านข้างให้กับองค์อาคาร ซึ่งจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า แรงพยุงทางด้านข้างมีส่วนช่วยเพิ่มความสามารถในการทนไฟขององค์อาคาร[2-4] อย่างไรก็ตามการจะนำเฟอร์โรซีเมนต์แจ๊คเก็ตมาหุ้มองค์อาคารเพื่อป้องกันไฟนั้น จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลของไฟหรือความร้อนต่อพฤติกรรมของวัสดุชนิดนี้เป็นอย่างดี การศึกษาที่
ผ่านมาส่วนมาก มุ่งไปที่ผลของไฟต่อคุณสมบัติวัสดุที่นำมาทำเฟอร์โรซีเมนต์ เป็นส่วนๆไป เช่น ศึกษาผลของไฟต่อคอนกรีตมอร์ตาร์ หรือ เหล็ก เพียงอย่างเดียว[5-11] ถึงแม้จะมีงานวิจัยบางส่วนศึกษาผลของไฟต่อคุณสมบัติร่วมของวัสดุผสม แต่ก็มุ่งเน้นเฉพาะวัสดุที่เสริมไฟเบอร์ชนิดไม่ต่อเนื่อง เช่น ไฟเบอร์เหล็ก(Steel fiber) และโพลีโพไพลีนไฟเบอร์ (Polypropylene fiber) [12-15] อย่างไรก็ตาม ยังคงขาดความรู้ความเข้าใจและ
ข้อมูลจากการทดลองที่สามารถอธิบายพฤติกรรมของเฟอร์โรซีเมนต์ภายใต้อุณหภูมิสูง
       การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อหากำลังดัด (Flexural strength)และความทนทาน (Toughness) ของเฟอร์โรซีเมนต์แจคเก็ต ที่เปลี่ยนไป เมื่อถูกเผาตามมาตรฐาน ASTM E119 ค่าดังกล่าวสามารถเป็นตัวบ่งชี้ความเสียหายที่เกิดขึ้นและความทนไฟในเชิงบูรณภาพ (Integrity) ของเฟอร์โรซีเมนต์ ตัวแปรสำคัญในศึกษาคือ ปริมาณของลวดตาข่าย ตัวอย่างเฟอร์โรซีเมนต์ที่ใช้ทดสอบมีขนาด 200x240x25 ซม. แกนเหล็กเสริม(Skeletal steel) ที่ใช้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. มีระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางแกนเหล็ก 100 มม. ถูกเชื่อมเข้าด้วยกันโดยที่แกนเหล็กทั้งสองแนวอยู่ในระนาบเดียวกัน ลวดกรงไก่เหล็กชุบสังกะสี ถูกใช้เป็นตาข่ายเสริมแรง จำนวนชั้นของลวดตาข่ายที่ศึกษาคือ 2, 6 และ 16 ชั้นลวดตาข่ายแต่ละชั้นถูกวางซ้อนเหลื่อมกันเพื่อที่จะลดช่องเปิดที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด มอร์ตาร์ที่ใช้มีกำลังอัด 57 MPa และมีระยะหุ้มเท่ากับ 1.5 มม. เท่ากันทุกตัวอย่าง ชิ้นตัวอย่างจะถูกนำมประกบเข้าด้วยกันโดยมีช่องว่างประมาณ 3 มม. ขอบของชิ้น
ทดสอบที่ประกบกันจะถูกหุ้มด้วยฉนวนเซรามิกไฟเบอร์ แล้วนำ เข้าเผาในเตาเผาไฟฟ้า โดยใช้เทอร์โมคัพเปิล ชนิด K(Thermocouple Type K) บันทึกการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตลอดการทดสอบ. หลังจากที่เผาแล้วเสร็จ ชิ้นทดสอบเฟอร์โรซีเมนต์จะถูกปล่อยให้เย็นในเตาเผาจนกระทั่งถึงอุณหภูมิห้องแล้วนำมาทดสอบหากำลังดัดแบบให้แรงที่จุดกึ่งกลาง(Center Point Loading) [16] เพื่อหาค่ากำ ลังดัด ความทนทาน และการเสื่อมสภาพหลังจากถูกเผา
วิธีการทดลอง
        เพื่อศึกษาอิทธิพลของปริมาณลวดตาข่ายต่อคุณสมบัติเชิงกลของเฟอร์โรซีเมนต์ที่ผ่านการเผา การทดลองถูกแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การเตรียมตัวอย่าง การตรวจสอบตัวอย่างก่อนเผา การเผาชิ้นตัวอย่าง การทดสอบคุณสมบัติเชิงกล และการหาการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเชิงกล ดังแสดงในภาพที่ 1
                                                                     ภาพที่ 1 ขั้นตอนการทดลอง

ชุดตัวอย่างที่ใช้ศึกษาทั้งหมด 5 ชุด ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่ม A และกลุ่ม B เพื่อที่จะใช้เปรียบเทียบอิทธิพลของตัวแปรต่างๆ กลุ่ม A ใช้เปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงกลหลังถูกเผาของมอร์ตาร์ล้วน มอร์ตาร์เสริมแกนเหล็ก และเฟอร์โรซีเมนต์ในขณะที่ กลุ่ม B ใช้ทดสอบหาอิทธิพลของปริมาณลวดตาข่ายต่อคุณสมบัติเชิงกลหลังการเผา ปริมาณลวดตาข่ายที่ใช้มีค่าตั้งแต่0%, 0.54%, 1.63% และ 4.36% ซึ่งตรงกับจำนวนชั้นของลวดตาข่าย 0, 2, 6, และ 16 ชั้น ตามลำดับ ในที่นี้ชุดทดสอบที่ 3 ถูกใช้เป็นชุดควบคุมสำหรับทั้งสองกลุ่มข้างต้น ชุดควบคุมดังกล่าวประกอบด้วยแกนเหล็ก 1 ชั้น และมีปริมาณของลวดตาข่าย1.63% รายละเอียดของชุดตัวอย่างแต่ละชุด ได้สรุปและแสดงในตารางที่ 1 ในชุดทดสอบแต่ละชุด มีตัวอย่างเฟอร์โรซีเมนต์ 7ตัวอย่าง นำไปทดสอบคุณสมบัติเชิงกลโดยไม่ผ่านการเผาไฟ 3ตัวอย่าง และ 4 ตัวอย่างที่เหลือ ถูกนำไปเผาไฟก่อนแล้วจึงนำไปทดสอบคุณสมบัติเชิงกลภายหลัง ค่าคุณสมบัติเชิงกลของเฟอร์โรซีเมนต์ทั้งก่อนและหลังการเผาไฟ ได้จากค่าเฉลี่ยผลการทดสอบของจำนวนตัวอย่างดังกล่าว
วัสดุที่ใช้
        โครงเหล็กของเฟอร์โรซีเมนต์ประกอบด้วยเหล็กแกนและลวดตาข่าย โดยเหล็กแกนเป็นเหล็กเส้นชนิด SR24 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางหล็กแกนเท่ากับ 100 มม. ปริมาณของเหล็กแกนเท่ากับ 2.14% โดยปริมาตร สำหรับลวดตาข่ายที่ใช้ในการทดลองเป็นลวดกรงไก่เหล็กชุบสังกะสี เบอร์ 21 มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.78 มม. ขนาดช่องเปิด 19 มม. และ มีปริมาตรของลวดต่อพื้นที่ของตาข่าย เท่ากับ
6.82 x10-5 ลบ.ม./ตร.ม. ระยะห่างของชั้นของลวดตาข่ายกับเหล็กแกนถูกบังคับโดยใช้ตัวบังคับระยะ (Spacer) เหล็กชุบสังกะสียึดกับสกรูซึ่งสามารถปรับได้ ดังแสดงในภาพที่ 2 ทั้งนี้ เพื่อควบคุมระยะหุ้มของมอร์ตาร์ให้สม่ำเสมอ สำหรับมอร์ตาร์ที่ใช้ทำเฟอร์โรซีเมนต์ ประกอบด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดที่ 1และทรายแม่น้ำซึ่งร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 16 [17] นำมาผสมกันในอัตราส่วน 1:2 โดยน้ำหนัก อัตราส่วนของน้ำต่อซีเมนต์ที่ใช้คือ 0.48 โดยน้ำหนัก หลังจากผสมส่วนผสมดังกล่าวเข้าด้วยกันมอร์ตาร์สดถูกนำมาหล่อในแบบเหล็กซึ่งวางโครงเหล็กของเฟอร์โรซีเมนต์ไว้เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นจึงบดอัดโดยใช้โต๊ะสั่นสะเทือน ตัวอย่างเฟอร์โรซีเมนต์ที่ใช้ทดสอบนี้มีขนาด200x240x25 มม. โดยตัวอย่างดังกล่าวถูกบ่มเป็นเวลา 7 วันหลังจากนั้นปล่อยให้แห้งในห้องทดลองจนกระทั่งทดสอ



การตรวจสอบตัวอย่างเบื้องต้น
        ก่อนการเผาไฟ ชิ้นตัวอย่างทั้งหมดจะถูกนำมาชั่งน้ำหนักและตรวจสอบลักษณะทางกายภาพทั่วไปโดยการตรวจพินิจ(Visual inspection) และถ่ายภาพบันทึกรายละเอียดทั้งหมด เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับสภาพของชิ้นตัวอย่างหลังผ่านการเผาไฟ

การเผาชิ้นตัวอย่าง

        ตัวอย่างเฟอร์โรซีเมนต์สองชิ้นถูกนำมาประกบกัน โดยมีช่องว่างตรงกลางประมาณ 3 มม. เพื่อใช้ติดตั้งเทอร์โมคัพเปิล(Thermocouple) ขอบโดยรอบของชิ้นตัวอย่างที่ประกบกันถูกหุ้มด้วยฉนวนเพื่อจำลองทิศทางการไหลผ่านของความร้อนในสภาพใช้งานจริงเมื่อนำเฟอร์โรซีเมนต์ไปหุ้มองค์อาคาร หลังจากนั้นนำชุดตัวอย่างที่ประกบดังกล่าวเข้าเผาในเตาเผาไฟฟ้า ดังรูปที่ 3การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิถูกควบคุมให้ใกล้เคียง กับ ASTM E 119โดยพื้นที่ใต้กราฟของความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและอุณหภูมิเท่ากับ ASTM E 119 และมีอุณหภูมิสูงสุดเท่ากัน เซรามิกไฟเบอร์ถูกนำมาเป็นฉนวนหุ้มโดยรอบของของเฟอร์โรซีเมนต์เพื่อควบคุมทิศทางของความร้อน ดังนั้นความร้อนที่ไหลผ่านตัวอย่างจึงมีลักษณะการไหลผ่านทิศทาง

       เดียวจากด้านที่ร้อนไปสู่ด้านที่เย็น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระหว่างการทดสอบถูกวัดโดยเทอร์โมคัพเปิล ชนิด K ซึ่งถูกบันทึกทุกๆ 30 วินาที และเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องบันทึกข้อมูล(Data logger) เทอร์โมคัพเปิลที่ใช้มีทั้งหมด 4 ตัวถูกติดตั้งที่ผิวด้านที่ได้รับความร้อน (Exposed surfaces, T1) 2 ตัว และผิวด้านที่ไม่ได้รับความร้อน (Unexposed surfaces, T2) 1 ตัว เพื่อวัดอุณหภูมิที่ผิวทั้งสองด้าน และ เทอร์โมคัพเปิลที่เหลืออีก 1 ตัว ใช้วัดอุณหภูมิในเตาเผา (T3) หลังจากเผาไฟแล้ว ตัวอย่างเฟอร์โรซีเมนต์ถูกปล่อยให้เย็นจนถึงอุณหภูมิห้องภายในเตา ก่อนที่จะถูกนำไปทดสอบคุณสมบัติทางกลต่อไป

การทดสอบคุณสมบัติเชิงกล
        ในการทดสอบคุณสมบัติเชิงกล จะทดสอบทั้งกับตัวอย่างที่ไม่ถูกเผาและตัวอย่างที่ถูกเผา โดยใช้วิธีทดสอบหากำลังดัดแบบให้แรงที่จุดกึ่งกลาง ตามมาตรฐาน ASTM C293-02 [16] เพื่อหาค่ากำลังดัด (Flexural Strength) และความทนทาน (Toughness)ของชิ้นตัวอย่างเฟอร์โรซีเมนต์ ซึ่งความทนทานหรืออักนัยหนึ่งคือความสามารถในการดูดซับพลังงานของเฟอร์โรซีเมนต์ เมื่อรับแรงดัดถูกนิยามโดยขนาดของพื้นที่ใต้กราฟระหว่างระยะโก่งที่กึ่งกลางชิ้นตัวอย่างกับน้ำหนักที่กระทำ ในการศึกษานี้ ความทนทานถูกคำนวณกระทั่งถึง ระยะโก่งตัวเท่ากับ 25 มม.

การหาการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเชิงกลของเฟอร์โรซีเมนต์หลังเผาไฟ

        การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติเชิงกลหรือคุณสมบัติที่เหลืออยู่ของตัวอย่างเฟอร์โรซีเมนต์หลังถูกเผาไฟ หาได้จาก กำลังดัดและความทนทานหลังผ่านการเผาของชิ้นตัวอย่าง โดยคิดเป็นเปอร์เซนต์เทียบกับคุณสมบัติของชิ้นตัวอย่างอ้างอิง (ชิ้นตัวอย่างที่ไม่ถูกเผาไฟ)

ผลการทดลอง
        กำลังดัดและความทนทานที่เหลือหลังผ่านการเผาของเฟอร์โรซีเมนต์ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากคุณสมบัติเฉลี่ยของตัวอย่างที่ผ่านการเผาไฟ 4 ตัวอย่าง เทียบกับค่าเฉลี่ยของตัวอย่างอ้างอิง 3 ตัวอย่าง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าลวดตาข่ายไม่เพียงส่งผลดีต่อคุณสมบัติเชิงกลของเฟอร์โรซีเมนต์ที่ไม่ถูกเผาไฟเท่านั้น ยังส่งผลดีต่อคุณสมบัติเชิงกลหลังถูกเผาไฟอีกด้วยเมื่อพิจารณาเฟอร์โรซีเมนต์ในลักษณะของวัสดุที่ใช้หุ้มหรือ
สวมเพื่อการซ่อมแซมหรือเสริมแรงให้กับโครงสร้าง เฟอร์โรซีเมนต์แจคเก็ตช่วยเพิ่มความสามารถในการทนไฟ มอร์ตาร์ล้วนซึ่งอาจเทียบได้กับเปลือกคอนกรีต (Concrete cover) สูญเสียกำลังดัดและความทนทานเกือบทั้งหมดหลังจากผ่านการเผา ขณะที่เฟอร์โรซีเมนต์แจคเก็ต
ยังคงมีกำลังดัดและความทนทานเหลืออยู่ประมาณ 18 % ของกำลังก่อนเผาไฟ ผลของปริมาณลวดตาข่ายต่อคุณสมบัติเชิงกลหลังถูกเผาไฟ
        สำหรับอิทธิพลของปริมาณลวดตาข่ายต่อคุณสมบัติเชิงกลหลังถูกเผาไฟนั้น พิจารณาเปรียบเทียบจาก เฟอร์โรซีเมนต์ที่มีปริมาณลวดตาข่าย ตั้งแต่ 0%, 0.54%, 1.63% และ 4.36% ซึ่งตรงกับจำนวนชั้นของลวดตาข่าย เท่ากับ 0,2, 6 และ 16 ชั้นตามลำดับก่อนเผาไฟพบว่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณลวดตาข่ายส่งผลดีต่อกำลังดัดและความทนทานของเฟอร์โรซีเมนต์อย่างมีนัยสำคัญอย่างไรก็ตามหลังผ่านการเผาไฟ กำลังดัดและความทนทานดังกล่าว แทบจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณลวดตาข่ายเลยนอกจากนี้ยังพบอีกว่า ที่ปริมาณของลวดตาข่าย 0.54% ให้ค่าคุณสมบัติทางกลที่คงเหลือมากที่สุด (การเสื่อมสภาพน้อยที่สุด)นั่นคือให้กำลังดัดที่เหลืออยู่ประมาณ 25% และความทนทานเหลืออยู่ 21% นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณของลวดตาข่ายมากกว่า0.54% ส่งผลให้คุณสมบัติเชิงกลสัมพัทธ์ของเฟอร์โรซีเมนต์ลดลงดังแสดงในตารางที่ 2B จากผลอันนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ลวดตาข่ายในปริมาณที่สูงไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในการเพิ่มกำลังดัดและความทนทานของเฟอร์โรซีเมนต์แจคเก็ตเมื่อถูกเผา อีกนัย

หนึ่งก็คือ คุณสมบัติเชิงกลหลังผ่านไฟไหม้ของเฟอร์โรซีเมนต์แจคเก็ตเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นขณะที่ต้องเพิ่มปริมาณของลวดตาข่ายเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่า ACI [18] ได้แนะนำปริมาณลวดตาข่ายต่อปริมาตรของเฟอร์โรซีเมนต์ที่น้อยที่สุดควรจะเป็น1.8% โดยปริมาตร(ไม่รวมปริมาณของเหล็กโครงในกรณีของชิ้นส่วนรับแรงดัด) แต่ในการศึกษานี้พบว่าการใช้ปริมาณของลวดตาข่ายเพียง 0.54% ก็สามารถให้ค่าคุณสมบัติเชิงกลหลังถูกไฟไหม้เท่ากับการใช้ลวดตาข่าย 1.8% ปรากฏการณ์อันนี้สามารถอธิบายได้ว่า แกนของมอร์ตาร์ถูกจำกัดการเคลื่อนตัว(Confined) ด้วยจำนวนชั้นของลวดตาข่ายนั่นเอง ซึ่งสอดคล้องกับ Kodur และคณะ [2, 4] ที่ได้สรุปว่าการเพิ่มแรงบีบทางด้านข้างให้กับแกนของเสาคอนกรีตกำลังสูงทำให้ความสามารถในการทนไฟดีขึ้น ถึงแม้ว่าเหล็กจะสูญเสียกำลังที่อุณหภูมิสูง [19-21] แต่ในกรณีเฟอร์โรซีเมนต์ซึ่งการทดสอบกระทำที่อุณหภูมิห้อง กำลังของเหล็กหรือลวดตาข่ายที่เย็นแล้วจะต่ำกว่ากำลังก่อนเผาไม่มากนัก[7, 8] ดังนั้นลวดตาข่ายจึงมีความสามารถในการจำกัดการเคลื่อนตัวของแกนมอร์ตาร์เป็นผลให้คุณสมบัติเชิงกลหลังถูกเผาไฟดีขึ้น อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีที่มีเหล็กแกนเพียงอย่างเดียว    ถึงแม้ว่าเหล็กแกนจะมีกำลังหลังจากที่เย็นตัวแล้วเช่นเดียวกับลวดตาข่าย แต่ตำแหน่งและระยะห่างของเหล็กแกนไม่สามารถช่วยจำกัดการเคลื่อนตัวของมอร์ตาร์ได้ ดังนั้น การใส่เหล็กแกนเพียงอย่างเดียวจึงมีอิทธิพลต่อคุณสมบัติเชิงกลของของเฟอร์โรซีเมนต์หลังการเผาน้อย

สรุป
        การศึกษาอิทธิพลของปริมาณลวดตาข่ายต่อคุณสมบัติเชิงกลหลังถูกเผาของเฟอร์โรซีเมนต์โดยการทดลองและสามารถสรุปได้ดังนี้
        1. เมื่อพิจารณาเฟอร์โรซีเมนต์ในลักษณะของวัสดุที่ใช้ซ่อมแซมหรือเสริมแรงให้กับโครงสร้าง เฟอร์โรซีเมนต์แจคเก็ตยังเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นวัสดุป้องกันไฟได้อีกด้วยเนื่องจากกำลังดัดและความทนทานที่หลงเหลือดีกว่าเมื่อเทียบกับมอร์ตาร์ล้วนหรือคอนกรีตล้วน
        2. ถึงแม้ว่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณลวดตาข่ายจะมีนัยสำคัญต่อการเพิ่มของกำลังดัดและความทนทานของเฟอร์โรซีเมนต์ในสภาวะปกติ แต่หลังไฟไหม้พบว่าปริมาณของลวดตาข่ายดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญต่อคุณสมบัติเชิงกลทั้งสองอีกต่อไปการใช้ปริมาณลวดตาข่ายเพียง 0.54% ก็สามารถให้กำลังหลังถูกไฟเผาเท่ากับใช้ปริมาณลวดตาข่าย 1.8% ซึ่งเป็นค่าต่ำสุดที่แนะนำโดย ACI [18]

ที่มา:

นายวัจน์วงค์ กรีพละ

รศ.ดร. พิชัย นิมิตยงสกุล

การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ ๑๒ โรงแรมอมรินทร์ลากูน จ.พิษณุโลก 2-4 พฤษภาคม 2550

 

 

 

 

 

 

 



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.