" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับปูนซีเมนต์ คอนกรีต  
Article หลักการเลือกไม้และการดูแลรักษาไม้

วันที่ลง : 25-Feb-2011

หลักการเลือกใช้ไม้
การเลือกไม้ให้เหมาะสมกับงานเป็นเรื่องสำคัญครับ แน่นอนว่าคุณไม่อาจเลือกไม้ได้โดยมองแค่ความสวยงาม
แต่เพียงอย่างเดียวได้ งานหลายประเภทอย่างงานปูพื้น จำเป็นต้องใช้ไม้ที่มีความทนทาน แข็งแรง เพื่อยืดอายุ
การใช้งาน เป็นต้น

ดังนั้นสิ่งที่คุณควรพิจารณาในการเลือกไม้มาใช้ ได้แก่
1. ประเภทของงาน
ต้องพิจารณาก่อนครับว่าต้องการนำไม้มาใช้กับงานชนิดใด  เช่น ถ้าจะนำมาใช้กับงานปูพื้น ก็ควรจะเลือก
ไม้เนื้อแข็งที่มีความทนทาน และรับน้ำหนักได้ดี  แต่ถ้าหากต้องการไม้สำหรับงานตกแต่งที่เน้นความสวยงาม
ก็ต้องเลือกไม้ที่มีคุณสมบัติตามที่เราต้องการและเหมาะสมกับการใช้งานเป็นหลักครับ

2. งบประมาณ
ปัจจัยข้อนี้มีความสำคัญต่อการตัดสินใจอย่างมากครับ ถ้าหากต้องการไม้ที่มีคุณภาพดี มีตำหนิน้อย มีลวดลาย
สวยงาม ก็จะมีราคาสูง แต่ถ้าลดคุณภาพลงมาก็จะได้ราคาที่ถูกลงครับ

3. ชนิดของไม้
ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานเลือกสีและลายให้ใกล้เคียงกัน รวมทั้งพิจารณาว่าเราต้องการให้บ้านออกมา
ในอารมณ์แบบใด เนื่องจากไม้ต่างชนิดกัน ก็จะให้อารมณ์ไม่เหมือนกันครับ

4. เกรดของไม้
โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 เกรด โดยวัดจากคุณภาพของไม้ ได้แก่ ไม่คัด ซึ่งเป็นไม้ที่มีตำหนิน้อย และไม้คละ
ซึ่งเป็นไม้คุณภาพรอง มีตำหนิ และราคาถูกกว่าครับ

5. ความชื้นของไม้
เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะส่งผลต่ออายุการใช้งานมากทีเดียวครับ ควรเลือกไม้ที่ผ่านการ
อบไรความชื้นจนได้ระดับมาตรฐานสำหรับการใช้งาน ไม้ที่ผ่านการอบมาแล้วอย่างดี จะไม่มีการบิด โก่งงอ
ขยายตัว หดตัวลดลง รวมทั้งลดปัญหาการถูกทำลายจากปลวก มอด และแมลงต่างๆ ลงไปได้อีกครับ

6. การตกแต่งผิว
พิจารณาก่อนว่าเราจะตกแต่งผิวไม้อย่างไรหากไม้ต้องการโชว์ลายไม้ ก้อไม่จำเป็นต้องเลือกไม้คัดซึ่ง
มีราคาแพงและก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้ อีกครับ

7. รสนิยมของคุณเอง
ต้องพิจารณาถึงภาพรวมว่าต้องการให้ไม้ออกโทนสีอะไร ต้องการให้ห้องออกมาแนวไหน จะตกแต่งสไตล์อะไร
เพื่อเราจะได้จำกัดตัวเลือกให้แคบลง

 

การดูแลรักษาไม้
การดูแลไม้นั้นไม่ได้มีขั้นตอนยุ่งยากแต่อย่างใดครับ เพียงแค่เช็ค และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอในกรณี
ที่คุณเลือกใช้ไม้ที่มีคุณภาพ และตกแต่งผิวเป็นอย่างดี เว้นแต่ว่าส่วนประกอบที่เป็นไม้ในบ้านคุณจะถูกรบกวน
ด้วยศัตรูที่ทำลายไม้

ศัตรูที่เข้าทำลายเนื้อไม้มีหลายประเภท แบ่งได้ดังนี้ครับ
1. เชื้อรา
เป็นศัตรูทำลายไม้ที่สำคัญตัวหนึ่ง ที่ทำให้ไม้ผุ เสียหาย และเสื่อมสภาพได้ เชื้อราทำลายไม้ มีทั้งชนิดที่
เข้าทำลายเนื้อไม้ ส่งผลให้ไม้ผุ เปื่อยยุ่ย และเชื้อราชนิดที่ทำลายสีไม้  โดยเปลี่ยนสีไม้ตามธรรมชาติกลายเป็น
ดวงๆ สีน้ำเงิน สีเขียว ไปจนถึงสีดำ เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับเชื้อราจึงจำเป็นที่จะต้องเลือกซื้อไม้ที่ผ่านการอบ
และอาบน้ำยามาแล้ว นอกจากนี้ ควรมีการระบายอากาศในบ้าน เพื่อลดความชื้นสะสมที่ก่อให้เกิดราบนไม้ได้ครับ

2. เพรียง
ส่วนมากพบในไม้ที่ใช้งานในน้ำ มีทั้งเพรียงทะเล และเพรียงน้ำจืด

3. แมลง
มีตั้งแต่ มอด ด้วง มด แมลงภู่ ตัวต่อทำลายไม้ และศัตรูตัวสำคัญที่เรารู้จักกันดีครับ ก็คือ ปลวก นั่นเองว่ากันว่า
ปลวกสามารถกัดกินทำลายบ้านทั้งหลังภายในระยะเวลา 3-5 ปี ถือว่าเป็นศัตรูทำลายไม้ที่น่ากลัวมากเลยนะครับ
ปัญหาเรื่องปลวกจึงจำเป็นต้องป้องกันเอาไว้ตั้งแต่แรกเริ่ม คือตั้งแต่การเลือกไม้ โดยเลือกไม้ที่ผ่านการอบ
และอาบน้ำยา รวมทั้งมีการฉีดสารเคมีกำจัดปลวกในดินก่อนทำการก่อสร้างจะเป็นวิธีที่ดีที่ สุดครับ ในกรณี
ที่ไม่สามารถทำการใดๆ ได้ตั้งแต่แรก วิธีรับมือโดยมากมักได้แก่การใช้สารเคมีกำจัดเป็นระยะ ควบคู่กับ
การเปลี่ยนไม้ที่ถูกกัดแทะเสียใหม่

 

ขอบคุณที่มา :http://www.designlikeus.com



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.