" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับงานประตู หน้าต่าง  
Article ประเภทกระจก (Glass) ชนิดต่างๆ

วันที่ลง : 04-Apr-2011

 

 

เป็นวัสดุตกแต่งอาคารที่ความรู้สึกสว่าง สวยงาม การเลือกหามาใช้ทำได้โดยง่าย มี จำหน่ายอยู่ทั่วไป
มีขนาดความหนาหลายขนาดแล้วแต่ว่าจะทำไปใช้ในงานประเภทไหน เราจะแยกประเภทกระจก
จากการผลิตแล้วกันนะครับ การผลิตกระจกแผ่นเราสามารถแบ่ง ได้ 2 ขั้นตอนคือ อุตสาหกรรมกระจกแผ่น
และอุตาหกรรมกระจกต่อเนื่อง โดยเราจะเริ่มจากอุตสาหกรรมกระจกแผ่น แยกได้เป็น 2 อย่างนะครับ
คือ กระจกใสธรรมดา และกระจกสี

1. กระจกธรรมดา (Float Glass)
1.1. กระจกใส (Clear Float Glass) กระจกใสคือกระจกโปร่งแสงที่สามารถมอง ผ่านได้อย่างชัดเจนและ
ให้ภาพสะท้อนที่สมบูรณ์ ไม่บิดเบี้ยว สามารถมองเห็นจากภายนอก เข้ามาภายในได้อย่างชัดเจนมีค่าการตัดแสง
ประมาณ 8% สำหรับกระจกใสหนา 12 มิลลิเมตร และตัดแสงได้มากขึ้นตามความหนาของกระจกผิวกระจกไม่ร้อน
เพราะกระจก ดูดกลืนความร้อนได้น้อยมาก
ข้อแนะนำ
- สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก ซึ่งเหมาะกับการใช้งานประเภทแสดงสินค้า แต่อาจไม่เหมาะกับ
ส่วนที่ต้องการความเป็นส่วนตัว เพราะคนภายนอกสามารถมองเห็นเข้ามาภายในได้อย่างชัดเจน
- กระจกใสมีค่าการสะท้อนแสงน้อยจึงเหมาะสำหรับห้องที่ต้องการมองออกไปภายนอก เพราะสามารถมองเห็น
ภาพทิวทัศน์ได้อย่างชัดเจน

1.2. กระจกสี (Tinted Float Glass) ผลิตขึ้นโดยการผสมโลหะออกไซด์เข้าไปใน ส่วนผสม ในขั้นตอน
การผลิตกระจก ทำให้กระจกมีสีสัน ผิวกระจกจะร้อน เนื่องจากสีของเนื้อกระจกที่เกิดจากการเติมโลหะออกไซด์
ต่างๆ เป็นตัวดูดความร้อน ทำให้ความร้อน จากกระจกแผ่เข้ามาภายในอาคาร กระจกสีตัดแสงไม่ให้เข้ามา
ภายในอาคารมากและมีการบังแดดได้มากกว่ากระจกใสสามารถ สกัดกั้นความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบ
กระจกสีได้มากกว่ากระจกใส ปริมาณการดูดกลืนความร้อนขึ้นอยู่กับส่วนผสมของเนื้อกระจก ช่วยลดความจ้า
ของแสงที่ส่งผ่านกระจกสีทำให้ได้แสงที่นุ่มนวลและเกิดความสบายตาในการมอง
ข้อแนะนำ
- ไม่ควรให้ลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศเป่ากระทบผิวหน้าของกระจกโดยตรงเพราะจะ ทำให้กระจกสูญเสีย
พลังงานมาก
- ไม่ควรติดผ้าม่านที่มีความหนาทึบหรือวางตู้เหล็ก หรือสิ่งของอื่นๆ ชิดกับกระจก หรือติด ตั้งปิดบังกระจก
โดยไม่มีการถ่ายเทความร้อน เพราะอาจทำให้กระจกสะสมความร้อนเพิ่มขึ้น และเป็นสาเหตุให้กระจกสี
แตกร้าวได้ง่าย
- ไม่ควรทาสีหรือติดแผ่นกระดาษใดๆลงบนผิวกระจก
- ควรจะต้องมีการตัดหรือฝนขอบกระจกให้เรียบ เพื่อทำให้ขอบกระจกมีความทนทานต่อการแตกร้าวจากแรงดึง
และแรงเค้นที่ผิวและขอบของกระจก

อุตสาหกรรมกระจกต่อเนื่อง คือการนำกระจก Float Glass นำมาประยุกต์ให้เกิด การใช้งานที่ได้ประโยชน์
มากขึ้น

2. กระจกกึ่งนิรภัย (Heat Strengthened Glass)
กระจกกึ่งนิรภัย ผลิตจากกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย โดยการนำแผ่นกระจกธรรมดา ผ่านกระบวนการอบความร้อน
ที่อุณหภูมิประมาณ 700 องศาเซลเซียส จากนั้นผ่านกระบวน การทำให้เนื้อกระจกเย็นลงอย่างช้าๆ โดยใช้ลมเป่า
ไปยังกระจกทั้ง 2 ด้าน ทำให้ได้กระจกซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษแข็งแกร่งกว่ากระจกธรรมดา 2 เท่า จึงสามารถ
รับแรงอัดของลมได้ดีกว่ากระจกธรรมดาที่มีความหนาเดียวกัน
คุณสมบัติกระจกกึ่งนิรภัย คือแข็งแกร่งกว่ากระจกธรรมดา 2 เท่า สามารถรับแรงอัดของลมได้ดีกว่ากระจกธรรมดา
ที่มีความหนาเดียวกัน จึงสามารถนำไปใช้ในการติดตั้งกระจกกับโครงสร้างอาคารสูง เหมาะสำหรับการป้องกัน
การแตกของกระจกเนื่องจากความร้อน ลักษณะการแตกเหมือนการแตกของกระจกธรรมดา คือ แตกเป็นแผ่น
ไม่หลุด

3. กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)
หรือที่เรียกทั่วไปว่ากระจกอบเป็นกระจกที่นิยมใช้เป็นกระจกนิรภัย เพราะเมื่อกระจกเทมเปอร์แตกมันจะแตก
เป็นเกล็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดข้าวโพดและไม่มีคมจึงเกิดอันตรายน้อย ซึ่งต่างจากการแตกของกระจกธรรมดา
ที่แตกเป็นเสี่ยง จึงแหลมคมทำให้เป็นอันตรายมากกว่า นอกจากนี้กระจกเทมเปอร์ยังแข็งกว่ากระจกธรรมดา
หลายเท่าความแข็งที่เพิ่มขึ้นของกระจกเทมเปอร์เกิดจากกระบวนการผลิต โดยการอบแผ่นกระจกด้วย
ความร้อนสูงและใช้ลมเป่าให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว ทำให้บริเวณเนื้อกระจกภายนอกเย็นตัวเร็วกว่าเนื้อในของกระจก
ขณะที่เนื้อกระจกภายนอกเย็นตัวแล้วเนื้อในของกระจกที่ค่อย ๆ เย็นจะเกิดความเค้นขึ้นส่งผลให้กระจกเทมเปอร์
มีความแข็งเพิ่มมากขึ้นถ้าดูด้วยสายตาปกติ ปราศจากเครื่องมือพิเศษ ส่องดูเนื้อกระจกแล้ว กระจกเทมเปอร์
ก็จะดูเหมือน กระจกธรรมดาทั่วไป แต่สิ่งที่แตกต่าง คือ ความแข็งแกร่ง ที่มีมากกว่า กระจกธรรมดา (Float
Glass) ประมาณ 5 เท่าตัว เราจึงเรียกกระจกชนิดนี้ว่า กระจกนิรภัยเทมเปอร์ เหมาะสำหรับใช้งานในสภาพ
ที่เสี่ยงต่อการกระทบกระแทก หรือร้อนจัด หนาวจัด

4. กระจกลามิเนต (Laminated Glass)
Lamsafe กระจกนิรภัยหลายชั้น ซึ่งเกิดจากการนำเอากระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมา ประกบติดกันโดยมี
แผ่นฟิล์ม PVB ที่มีคุณสมบัติเหนียวคั่นกลางซึ่งทำหน้าที่ยึดแผ่นกระจกให้ ติดกัน เหมาะสำหรับงานที่ต้องการ
ความแข็งแรง และความปลอดภัยสูง คุณสมบัติพิเศษอีก ประการของ Lamsafe คือสามารถช่วยลดแสง UV
และเสียงรบกวนได้ดีสร้างความเป็นส่วนตัวแก่ผู้อยู่อาศัยมั่นใจในความปลอดภัย
คุณสมบัติพิเศษที่ได้ผ่านขบวนการผลิตด้วยเทคนิคสูงกระจก Lamsafe ช่วยยึดกระจกให้ติดแน่น เมื่อเกิด
การแตกเศษกระจกยังคงยึดติดกับแผ่นฟิล์มไม่ร่วงหล่นลงมาช่วยลดอันตราย จึงเหมาะกับการใช้งานบริเวณ
ที่ลาดเอียงหรือบริเวณที่อยู่เหนือศีรษะ เช่น อาคารสูงและ หลังคา เป็นต้น
รูปแบบการใช้งาน
- กระจกหน้าต่างอาคาร,ผนังภายใน
- ประตูทางเข้าอาคาร,ประตูภายในอาคาร
- ตู้กระจกแสดงสินค้า และสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการโจรกรรม เช่น พิพิธภัณฑ์,ร้าน เครื่องเพชร,พลอย เป็นต้น
- กระจกที่ติดตั้งอยู่เหนือศีรษะ หรือผนังลาดเอียง เช่น หลังคา
- ผนังห้องประชุม เพื่อลดเสียงรบกวนจากภายนอก
- ธนาคาร ที่ทำการไปรษณีย์ และสถานที่ ที่ต้องการรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ
- ราวบันได ราวระเบียง ราวเฉลียง ซึ่งใช้ป้องกันการพลัดตกจากที่สูง
- กระจกกันกระสุน (.38 ซุปเปอร์อัตโนมัติ,.357 แมกนั่ม รีออริโอ, .44 แมกนั่ม รีออ ริโอ, .30 -.06 ปืนกลไรเฟิล)

5. กระจกฉนวนความร้อน (Insulating Glass Units)
กระจกฉนวนความร้อน ผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยการนำกระจก 2 แผ่น มา ประกอบกันโดยมี
เฟรมอลูมิเนียมคั่นกลาง ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่นำสมัยด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นกระจกที่ช่วยในด้าน
การประหยัดพลังงานป้องกันการถ่ายเทความร้อนระหว่าง ภายในกับภายนอกอาคารคุณสมบัติสามารถป้องกัน
การถ่ายเทความร้อนจากภายนอกก่อให้ เกิดบรรยากาศสบายแก่ผู้อยู่อาศัยป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก
ก่อให้เกิดบรรยากาศ เป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัย สามารถป้องกันการถ่ายเทความร้อนจากภายนอก จึงช่วยลด
ภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและพลังงาน ไม่ทำให้เกิดฝ้าหรือหยดน้ำ
แม้ว่าอุณหภูมิภายในกับภายนอกแตกต่างกันมาก
รูปแบบการใช้งาน
- ใช้กับอาคารสูงระฟ้า อาคารสำนักงาน และอาคารพาณิชย์ทั่วไป ที่ต้องการควบคุมสภาพ แวดล้อมภายใน
ด้านเสียง อุณหภูมิ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล สนามบิน สำนักงาน เป็น ต้น
- ใช้ในสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และพลังงาน
- ใช้ในสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการตัดเสียงรบกวนจากภายนอก และภายใน เช่น ห้องบันทึก เสียง เป็นต้น
- ใช้กับตู้แช่ที่ต้องการสินค้าด้านใน
ข้อแนะนำ
- ควรเก็บกระจกภายในบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี ไม่มีแสงแดดส่องผ่านโดยตรง
- ไม่ควรใช้งานในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียสเนื่องจากอาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลง
- ไม่ควรให้ลมจากเครื่องปรับอากาศกระทบกระจกโดยตรง


ที่มา :  http://www.designlikeus.com



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.