" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับหลังคา ผนัง เพดาน  
Article ปัญหารั่วซึม ตามหลังคา รอยต่อและวิธีแก้ไข

วันที่ลง : 08-May-2010

ปัญหารั่วซึม ตามหลังคา รอยต่อและวิธีแก้ไข

 

1. หลีกเลี่ยงการใช้ปูนพอกสันหลังคา ใช้กรอบหลังคา หรือ    "ปีกนก" กันดีกว่า
    ระบบโครงสร้างและ สถาปัตยกรรมในอาคารหลังหนึ่ง     หากเกิดความบกพร่องแล้วต้องแก้ไขงาน ที่แก้ไข ซ่อมแซมยาก
    ที่สุด ก็คืองานใต้ดิน (เสาเข็ม ฐานรากห้องใต้ดิน) งานที่ซ่อมแซม
    ยากตามมาก็คืองานหลังคา การเลือกระบบครอบมุมหลังคา จึงน่า
    เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงอยู่เสมอ "หากไม่จำเป็น ขอให้หลีกเลี่ยง การใช้     ครอบมุมปูน ให้ใช้ครอบหลังคา หรือปีกนกคอนกรีตแทน"     เพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้
     - ปูนร้าวน้ำซึมผ่านเข้าไปได้
     - เกิดแรงดูดธรรมชาติ (Suction)        ระหว่างกระเบื้องกับครอบปูนกับช่องเล็ก ๆ ระหว่างวัสดุที่ต่างกัน        (ปีกนกมีช่องว่างมากไม่มีแรงดูด)
     - กระเบื้องแผ่นบนแตกแล้วเปลี่ยนไม่ได้        ยกเว้นแต่ต้องทุบครอบปูนนั้นทิ้ง

 

 

2. การวางกระเบื้องหลังคา อย่าลืมต้องสลับแนวกันเหมือนการก่ออิฐ     เพราะว่าหลังคานั้นจะเป็นพื้นที่รองรับน้ำฝนขนาดใหญ่ เวลาฝนตกน้ำก็จะ     ไหลจากจุดสูงสุด ของหลังคาลงมาจุดที่ต่ำ ๆ ลงมา ยามเมื่อน้ำฝน
    ไหลลงมาก็จะเกิด การสะสมของน้ำฝน พอสะสมมากเข้าและมีลมกรรโชก     หากหลังคามีรูเพียงนิดเดียว น้ำก็จะไหลผ่านกระเบื้องเข้าสู่ฝ้าเพดาน
    บ้านเรา ดังนั้นการป้องกันการสะสมของน้ำฝนไม่ให้สะสมตามร่องของ
    กระเบื้องหลังคา (ซึ่งมีร่องไว้ให้น้ำสะสม) ก็คือ จะต้อง มุงกระเบื้องสลับ
    แผ่นเหมือนกับการก่ออิฐผนังของเรา แม้จะเปลืองกระเบื้องไปบ้าง     แต่เป็นการเปลืองที่คุ้มค่าที่สุดอย่างหนึ่งในการก่อสร้างครับ

 

 

3. หลังคาหลาย ๆ ผืนอยู่ใกล้ชิดติดกัน ระวังน้ำฝนจะตีย้อน     โดยทั่วไปการออกแบบอาคารใด ๆ การออกแบบหลังคาจะต้องกันแดด
    กันฝนของตัวมันเองได้อยู่แล้ว แต่หากมี อาคารหลายอาคาร อยู่ใกล้ชิด
    ติดกัน ต้องตรวจเช็คให้ดีว่าน้ำฝนจากหลังคาผืนหนึ่ง อาจจะไหล
    กระแทกสู่ อาคาร อีกหลังหนึ่งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยามมีพายุ ลมแรงๆ     อาจตีย้อนขึ้นย้อนลอนกระเบื้อง



 

4. ตะเฆ่สัน ตะเฆ่ราง คืออะไร ? ตะเฆ่สัน และตะเฆ่ราง     คือสันของหลังคาที่เอียง ๆ (ที่ไม่เอียงอยู่เป็นแนวระนาบ เขาเรียกว่า สัน     หลังคา) ตะเฆ่สัน จะเห็นเป็นสันขึ้นมา เมื่อไรที่เล็งเห็นตะเฆ่สันไม่ตรง     เป็นเส้นตรง แสดงว่า หลังคาเริ่มจะมีปัญหา ต้องรีบแก้ไข     เพราะหลังคาอาจกำลังพังลงมา ตะเฆ่ราง จะเห็นเป็นรางหุบลงไป     ปัญหาของตะเฆ่รางก็คือ จะเป็นจุดที่ หลังคาคุณจะรั่วได้ อาจเพราะ     ตะเฆ่บิด หรือรางน้ำในตะเฆ่บิด หรืออุดตัน หากฝ้าเพดานคุณ มีน้ำซึม
    ออกมา สิ่งแรกที่น่าตรวจดู คืตะเฆ่รางนี่แหละ บ้านใดที่ไม่มีตะเฆ่เลย     โอกาสที่หลังคาจะรั่วมีน้อย….แต่คนเขาไม่นิยมกัน

 

5. น้ำไหลย้อน น้ำซึมผ่าน เข้ากระเบื้องหลังคา ครอบสันหลังคา     และรูน๊อตยึดหลังคา เกิด จากการทำองศาลาดเอียงของหลังคาที่ชันน้อย
    เกินไป น้ำจึงไหลย้อนเข้าไปใต้แผ่นหลังคาได้ ครอบสันของหลังคา
    กระเบื้อง โดยทั่วไปแล้วช่างทั้งหลายจะใช้ปูนในการยึดเกาะที่ครอบ
    หลังคากับกระเบื้อง เพื่อมิให้น้ำเข้ามาที่บริเวณจั่วที่มาบรรจบชิดติดกัน     แต่การใช้ปูนในการยึดเกาะนั้น เมื่อนานวันเข้าปูนเหล่านี้เมื่อโดนแดดเป็น
    เวลานาน ๆ จะเกิดการแตกแยกออกมาจากหลังคาที่ยึดไว้ รอยแยก แตก     เหล่านี้ จะทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปได

การแก้ไข : ใช้สารเชื่อมประสาน ที่ยืดหยุ่นได้ (Polyurethane Sealant)   น้ำมายิง (Seal) ตามแนวแตก แยก รูน๊อต รอยแตกร้าวต่างๆ   และทาทับด้วยน้ำยาทากันซึม แล้วแต่งด้วยสีให้กลมกลืนกับสีหลังคา   เพื่อความสวยงาม

 

 

6. น้ำไหลย้อน และซึมผ่านเข้าร่องกระเบื้องหลังคา     ส่วนใหญ่เกิดจากเศษใบไม้ และกิ่งไม้แห้งที่หมักหมมในรางระบายน้ำ     จนทำให้น้ำฝนที่ไหลลงมาจากหลังคาระบายไม่ทัน หรือ เกิดจากช่วง
    รอยต่อระหว่างรางระบายน้ำแยกตัวอันเนื่องมาจากการเชื่อมรอยต่อ     ไว้ไม่ดี หรือเกิดจากสนิม จึงทำให้กร่อน ผุ พัง จนทำให้น้ำฝนซึมผ่าน
    เข้าไปได้
  การแก้ไข : หมั่นทำความสะอาดรางน้ำฝนอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะ
  ในช่วงฤดูฝนที่มีลมพัดรุนแรง ทำให้มีปริมาณใบไม้สะสมมาก เป็นพิเศษ   หรือหากเกิดรอยแตกแยกจากการเชื่อมต่อของแนวรางระบายน้ำ ให้ขัด
  ทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวแล้วน้ำอิพ๊อกซี่มาปะซ่อมแซมไม่ให้เกิดช่อง
  ว่าง หรือรอยแยกต่าง ๆ

ที่มา:http://tonkla121.e-saan.org/proofProb2.html



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.