" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป  
Article เทคนิค ช่วยให้บ้านเย็นและสบาย

วันที่ลง : 09-May-2011

บ้านคือที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์ขาดไม่ได้ แต่สมัยนี้ปัญหาโลกร้อนได้ส่งผลกระทบต่อคนเราทั้งในด้าน
เศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ค่อนข้างมาก ทำให้คนที่คิดจะปลูกบ้านหรือมีบ้านอยู่แล้วเริ่มเปลี่ยนแนวคิดใหม่
ที่ไม่เพียงแค่ต้องการบ้านสวย มั่นคง แข็งแรงเท่านั้น แต่จะต้องเป็นบ้านลดโลกร้อน ประหยัดพลังงาน ที่แม้ไม่เปิดพัดลม
ติดแอร์ ก็รู้สึกถึงความเย็นแบบธรรมชาติ

หลายคนคงอยากรู้ว่าการทำให้บ้านเย็นแบบธรรมชาติด้วยวิธีง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าเป็นหลักนั้นทำยังไง
เรามีข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมาฝาก ดังนี้

1. ปลูกต้นไม้ทรงสูงเพื่อบังแสงอาทิตย์ โดยที่ให้มีกระแสลมเย็นพัดผ่านใต้พุ่มใบในความเร็วที่พอเหมาะ เพื่อลดอุณภูมิ
ภายนอกใกล้บริเวณบ้านและป้องกันลมพัดผ่านเข้าตัวบ้านมากเกินไป และควรปลูกในทิศตะวันออกและตะวันตก

2. เลือกชนิดต้นไม้ให้ร่มเงาที่มีอยู่ตามท้องถิ่น เช่น ต้นปีบ ต้นอินทนิล ต้นสัตบัน ต้นสุพรรณิการ์ เพื่อลดการใช้ปุ๋ย
ยาฆ่าแมลงในการรักษาเนื่องจากต้นไม้เหล่านี้ชินกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศในประเทศ

3. นำหลักภูมิสถาปัตย์มาใช้ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมรอบๆ บริเวณบ้านให้เย็นสบาย โดยการปลูกพืชคลุมดิน ปลูกหญ้า
จัดแต่งสวน จัดทำน้ำตกจำลอง ถมดินบริเวณรอบบ้านให้สูง เพื่อให้พื้นและผนังบางส่วนต่ำกว่าดิน ทำให้สามารถนำ
ความเย็นจากดินมาใช้ และปลูกไม้พุ่มบริเวณผนังบ้าน ในกรณีที่มีพื้นที่จำกัดอาจจะปลูกไม้ดัดหรือไม้เลื้อยตามระเบียง
หรือรั้ว เพื่อลดลมร้อนพัดผ่านเข้าตัวบ้าน และลดความแรงของแสงแดดที่ส่องผิวอาคาร

4. ทำรางน้ำและท่อระบายน้ำจากหลังคา หรือส่วนต่างๆ ภายในบ้านให้เหมาะสม เพื่อป้องกันความชื้นซึมเข้าไปในบ้าน
หรืออาจทำท่อระบายน้ำที่ได้จากการซักล้างไปใช้รดน้ำต้นไม้ ถ้าต้องการทำที่จอดรถ ควรทำพร้อมหลังคาในทิศตะวันออก
หรือตะวันตก เพื่อช่วยลดความร้อนผ่านเข้ามาในตัวบ้านโดยตรง

5. บุฉนวนกันความร้อนที่หลังคาและผนัง โดยความหนาของฉนวนที่ใช้ต้องขึ้นอยู่กับภาระทำความเย็น แต่ส่วนใหญ่
ใช้ฉนวนที่มีความหนา 2-3 นิ้ว ฉนวนสำหรับหลังคาและผนังมีหลายชนิด เช่น ฉนวนใยแก้ว ฉนวนเยื่อกระดาษ
ฉนวนเซรามิก

6. ทาสีผนังด้านนอกของบ้านเป็นสีอ่อน ใช้วัสดุที่มีผิวมันและกันความชื้น ใช้กระเบื้องหลังคาสีอ่อนเพื่อสะท้อนความร้อนได้ดี
สำหรับผนังด้านที่มีระเบียงยื่นควรเลือกใช้ประตูหรือหน้าต่างชนิดบานพลิก เพราะควบคุมปริมาณลมได้ดีกว่าการใช้ประตู
หรือหน้าต่างชนิดบานเลื่อน

7. ติดตั้งหน้าต่างกระจกเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น โดยให้เพียงพอในการรับแสงสว่างจากธรรมชาติ และควรหลีกเลี่ยง
การติดตั้งด้านทิศตะวันออกและตะวันตก

8. ทำกันสาดให้กับหน้าต่างกระจก โดยกันสาดแนวราบเหมาะสมกับหน้าต่างที่อยู่ทางทิศเหนือและใต้ เพราะบังแสงอาทิตย์
ในช่วงเที่ยงและบ่าย ส่วนกันสาดแนวดิ่งเหมาะกับหน้าต่างทางทิศตะวันออกและตะวันตก

9. ติดตั้งผ้าม่านหรือมู่ลี่บริเวณหน้าต่างกระจก เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์เข้าภายในตัวบ้าน ส่วนการติดฟิล์ม
กรองแสงที่กระจกหน้าต่าง แม้ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ดีกว่าแต่ค่าใช้จ่ายสูง ไม่ค่อยนิยม ห้องนอนหรือห้อง
ที่ต้องการปรับอากาศ ที่ตั้งอยู่บริเวณชั้นสองเหนือบริเวณที่จอดรถหรือระเบียง ควรมีการทาหรือพ่นฉนวนที่ฝ้าเพดาน
ของที่จอดรถ หรือระเบียงนั้นๆ เพื่อป้องกันการนำความร้อนจากภายนอกผ่านใต้พื้นห้องเข้าสู่ตัวห้อง

10. ติดตั้งพัดลมระบายอากาศบนหลังคา เพื่อดูดอากาศร้อนใต้หลังคาออกไปภายนอก

11. ทำระเบียงยื่นพร้อมติดกันสาดในทิศตะวันออกและตะวันตก สำหรับใช้เป็นที่นั่งรับประทานอาหารว่าง หรือใช้ทำครัว
นอกบ้าน แล้วยังช่วยลดความร้อนเข้ามาในบ้านด้วย

12. อุดรอยรั่วด้วยซีเมนต์หรือซิลิโคน ที่ช่องติดตั้งโคมไฟ ช่องติดตั้งพัดลมเพดาน ช่องที่เตรียมไว้สำหรับเดินท่อน้ำ
เป็นต้น เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอกผ่านเข้าช่องเพดาน

13. อุดรอยรั่วตามรอยต่อระหว่างผนังขอบประตู หน้าต่าง เพื่อป้องกันความร้อนและความชื้นจากภายนอกผ่านเข้าไป
ในบ้านในกรณีที่ห้องนั้นเป็นห้องปรับอากาศ

14. จัดวางตู้และชั้นวางของให้เหมาะสม ไม่บังลม ไม่กีดขวางการระบายอากาศ และไม่บังแสง โต๊ะเขียนหนังสือหันหน้าไป
ในผนังด้านที่รับแสงธรรมชาติได้

15. หมั่นดูแลรักษาทำความสะอาด พรม ผ้าม่าน โซฟา ไม่ให้เปียกชื้น เพื่อลดภาระทำความเย็นเนื่องจากความร้อนแฝง

16. จัดแบ่งห้องใช้สอยโดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน โดยจัดห้องที่ใช้ตอนเช้าอยู่ในทิศตะวันออก ส่วนห้องที่ใช้สอย
เกือบทั้งวันให้อยู่ทิศเหนือ เพราะจะเย็นสบายที่สุด เช่น ห้องนั่งเล่นอยู่ในทิศเหนือ เป็นต้น

17. ควรติดตั้งเครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า ในบริเวณที่ไม่ปรับอากาศและเปิดโล่ง เช่น ที่จอดรถ ระเบียงนอกบ้าน เพื่อระบาย
ความร้อนและลดความชื้นที่ปลดปล่อยมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ ถ้าติดตั้งในห้องปิดควรติดตั้งพัดลมระบายอากาศ
เพื่อป้องกันการสะสมความร้อน และความชื้นภายในห้อง

18. เลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง นอกจากจะประหยัดพลังงานจากตัวมันเองแล้ว ยังลดความร้อน
ที่ถูกปล่อยออกมาในเวลาใช้งานอีกด้วย หากคำนึงและปฏิบัติตามวิธีที่กล่าวมา รับรองว่าบ้านของคุณจะเย็นสบายและ
น่าอยู่ในภาวการณ์ที่โลกร้อนขึ้นทุกขณะ


ที่มา : www.home.co.th



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.