" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์  
Article ความรู้ด้านการนำเข้าวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์

วันที่ลง : 19-Sep-2009

ความรู้ด้านการนำเข้าวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์

   คู่มือดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรมพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นวัตถุอันตราย มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ 4 หน่วยงาน
แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานตามวัตถุประสงค์ของการนำวัตถุอันตรายไปใช้ดังนี้

  1. กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในทางอุตสาหกรรม
  2. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ทางการเกษตร ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทางการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  3. กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ทางการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  4. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข

   ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่เกี่ยวข้องกับกรมโรงงาน - อุตสาหกรรมเท่านั้น
ประเภทของวัตถุอันตราย กฎหมายตามมาตรา 18 แบ่งวัตถุอันตรายออกตามความจำเป็นแก่การควบคุม 4 ชนิด คือ
  1. วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
  2. วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดด้วย
  3. วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่การผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง ต้องได้รับอนุญาต
  4. วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ได้แก่ วัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการมีไว้ในครอบครอง

  วัตถุอันตรายชนิดที่ 1, 2, 3 หรือ 4 คืออะไร ?

   ผู้ประกอบการหลายรายไม่ทราบว่าเคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ ที่มีความประสงค์จะผลิต นำเข้า หรือส่งออก เป็นวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จากบัญชีรายชื่อท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ . ศ .2538 และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ( ฉบับที่ 2) พ . ศ. 2543 หากไม่แน่ใจ สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีหน่วยงานให้บริการสอบถาม / หารือ โดยให้ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ขอสอบถาม / หารือเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ / ผลิตภัณฑ์ ได้ ข้อควรรู้เกี่ยวกับการประกอบการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ผู้ประกอบการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 เมื่อจะเริ่มผลิต นำเข้า หรือส่งออก ให้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการให้แจ้งข้อเท็จจริงของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ พ.ศ.2543 ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการฯ อื่นแจ้งชื่อวัตถุอันตราย ชื่อทางการค้า ปริมาณของวัตถุอันตราย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนนำหรือส่งวัตถุอันตรายออกจากด่านศุลกากร ตามแบบ วอ./ อก .6   

    ข้อควรรู้เกี่ยวกับการประกอบการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 2 

  ผู้ประกอบการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 เมื่อจะเริ่มประกอบการ จะต้องขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน ( มาตรา 36 วรรคสอง ) ยกเว้นจะได้รับการยกเว้นตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง ยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ . ศ . 2535 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ( ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 และแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน (มาตรา 22) จึงเริ่มประกอบการได้ ทั้งนี้ผู้ประกอบการวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีทุกปี นับแต่วันที่เริ่มประกอบการ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (..2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.. 2535) ดังนั้นหากมีการโอนขาย หรือยกเลิกกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ต้องแจ้งให้ทางราชการทราบด้วย

 

     ข้อควรรู้เกี่ยวกับการประกอบการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3

    ผู้ประกอบการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 เมื่อจะเริ่มประกอบการจะต้องขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน (มาตรา36 วรรคสอง) ยกเว้นจะได้รับการยกเว้นตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง ยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ . ศ . 2535 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ ( ฉบับที่ 2) พ . ศ . 2543 และต้องได้รับอนุญาตก่อนการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย (มาตรา 18) โดยการขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 23, 24, 25 และ 26 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ทั้งนี้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีในวันที่ได้รับใบอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือเก็บรักษาเพื่อการค้าซึ่งวัตถุอันตราย ( กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ .253) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ . ศ . 2535) และต้องชำระต่อไปทุกปีไม่เกินวันที่ครบกำหนดรอบปีดังกล่าว ดังนั้นหากมีการโอนขาย หรือยกเลิกกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ต้องแจ้งให้ทางราชการทราบด้วย

    ข้อควรรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4

   ตามบทบัญญัติมาตรา 43 วรรคหนึ่ง “ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4” และมาตรา 74
“ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
   ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำโดยประมาทของผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายดังกล่าว ผู้กระทำต้องระวางโทษปรับไม่เกินแปดแสนบาท ” หมายความว่า วัตถุอันตรายชนิดที่ 4 นั้น ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า หรือมีไว้ในครอบครอง หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยประมาท จะต้องโทษปรับไม่เกิน 800,000 บาท

ที่มา http://www.thaifactory.com/Operate/ImportHazard.htm

 



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.