" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับเหล็กเส้น เหล็กรูปพรรณ  
Article เหล็ก.... คุณรู้จักมันดีแค่ไหน ? (ตอนจบ)

วันที่ลง : 19-May-2011

ก่อนอื่นต้องกล่าวว่าสวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่านครับ  หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับเทคนิคการสังเกตเหล็กรูปพรรณ ไปแล้ว คราวนี้ก็มาพบกับเทคนิคการสังเกตเหล็กอีก 2 ประเภทที่เหลือนั่นคือเหล็กเส้นและลวดเหล็กกันครับ อย่าได้เสียเวลา..เริ่มกันเลยดีกว่า ชื่อก็เหล็กเส้น   บอกอยู่แล้วครับว่าคือเหล็กเส้น โดยจะแบ่งเป็นเหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อย บอกก่อนว่าเหล็กเส้นไม่มีจุดสังเกตอะไรที่ซับซ้อนมากมาย แค่มีชื่อย่อของตัวมันเท่านั้น

เหล็กเส้นกลม หรือ Round Bars เรียกย่อ ๆ ว่า RB โดยเหล็กชนิดนี้มีชั้นคุณภาพคือ SR24 ซึ่งการตีตราบนเหล็กหรือการเขียนให้เข้าใจคือ RB6 x 10 = เหล็กเส้นกลมขนาด 6 มม. ความยาวที่ 10 ซึ่งเหล็กเส้นกลมเองก็จะมีความยาว 1 เมตร 10 เมตร และ 12 เมตร ที่เป็นความยาวโดยหลักส่วนที่ความยาวอื่นนั้นก็มีครับก็แล้วแต่ความต้องการ ของผู้ใช้เหล็กเอง

เหล็กเส้นข้ออ้อย หรือ Deformed Bars เรียกย่อ ๆ ว่า DB โดยเหล็กชนิดนี้มาชั้นคุณภาพถึง 3 แบบครับ อันได้แก่ SD30 SD40 และ SD50 สำหรับเรื่องชั้นคุณภาพแตกต่างกันอย่างไรผมไม่ขอกล่าวถึงในตอนนี้ครับ เหล็กชนิดนี้การตีตราบนเหล็กก็คือจะตีตราเป็นตัวย่อแล้วตามด้วยขนาดและบน เส้นเหล็กเส้นเดียวกันนั้นก็จะตีตราบริษัทผู้ผลิตและระดับชั้นคุณภาพไว้ด้วย ครับ เช่น  DB16  SD40  บลส ก็หมายถึงเหล็กเส้นข้ออ้อย 16 มม. ชั้นคุณภาพที่ SD40 โรงผลิตคือ บลส ครับ ตรงนี้เค้าอาจตีบนเหล็กไม่ใกล้กันนะครับแต่มันจะอยู่บนเหล็กเส้นเดียวกัน ทั้งหมด เห็นไหมครับเหล็กเส้นง่ายมากไม่ยากเย็นอะไรเลย อ้อผมลืมไปสำหรับเรื่องเหล็กพับกับไม่พับอันนี้จะมีผลต่อการขนส่งครับ (จะใช้ทั้งกับเหล็กเส้นกลมและข้ออ้อย) ก่อนที่จะไปดูเหล็กตัวต่อไปเราไปชมรูปของเหล็กเส้นข้ออ้อยก่อนครับ

ลวดเหล็ก หรือ Steel Wire ลวดเหล็กตัวนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ตัวเดียวนะครับ มันแบ่งย่อยประเภทออกไปอีกหลายตัวแต่ผมจะยกมาเพียงแค่ 2 ตัวหลักก่อน เริ่มที่

ลวดเหล็กกล้าสำหรับคอนกรีตอัดแรง (Prestressed Concrete Wire) หรือเรียกสั้น ๆ ย่อ ๆ ว่า  PC WIRE (พีซี ไวร์) โดยลวดเหล็กตัวนี้ก็มีหลายรูปแบบครับอันได้แก่ แบบเรียบ  แบบหยัก  รอยย้ำ  แบบแชฟรอน แบบบั้ง  แต่ตรงนี้ไม่มีความสำคัญอะไรเท่าไหร่นักเพราะทางเทคนิคแล้วทุกแบบสามารถแทน กันได้หมด ที่แทนกันไม่ได้ก็เห็นจะเป็นเรื่องขนาดเท่านั้น แต่ด้วยรูปแบบที่ต่างกันของลวดเหล็กในแต่ละแบบจะมีผลต่อการยึดเกาะของ คอนกรีตเท่านั้นเองครับ โดยลวดเหล็กชนิดนี้จะมีขนาดที่ 4 – 9 มม. ครับ ซึ่งลวดเหล็กแต่ละขนาดก็จะแบ่งประเภท (เกรด) ออกเป็นขนาดละ 2 เกรด เช่น ขนาดที่ 4 มม. จะมีเกรดที่ 1670 กับ 1770 ตรงคำว่าเกรดสำคัญตรงไหนนั้นผมจะบอกให้ครับว่ามันคือความทนแรงดึงซึ่งระบุ เป็นนิวตันต่อตารางมิลลิเมตร หากอยากรู้ว่าแต่ละเกรดต่างกันอย่างไรต่างกันขนาดไหนผมแนะนำว่าให้เอาตารางส เป็คของเหล็กชนิดนี้มากางดูครับแล้วคุณจะพบความแตกต่าง ก่อนที่เราจะไปดูรูปว่าหน้าตาเป็นอย่างไรผมขอสรุปก่อนว่า เหล็กตัวนี้เรียกว่า  “PC WIRE” ซึ่งทุกโรงผลิตและทุกบริษัทจะเรียกเป็นชื่อนี้ทั้งหมด (เพราะคงไม่มีใครมาเรียกว่า “ลวดเหล็กกล้าสำหรับคอนกรีตอัดแรง” มันยาว…) และที่ประการสำคัญคือเหล็กตัวนี้ต้องได้รับ มอก.95 นะครับ  เพราะเหล็กชนิดนี้เค้าเอาไปใช้งานเกี่ยวกับโครงสร้างจึงจำเป็นมากที่ต้องได้ มาตรฐานอุตสาหกรรม พูดมาซะยาวไปดูรูปกันเลยดีกว่า

ลวดเหล็กกล้าตีเกลียวสำหรับคอนกรีตอัดแรง (Prestressed Concrete Strand Wires) หรือ PC STRAND  (พีซี สแตน) เป็นการนำลวดเหล็กคาร์บอนสูงที่ได้ลดขนาดแล้ว มาตีเกลียวจนได้ลวดเหล็กกล้าตีเกลียว ซึ่งโดยปกติจะเป็นการนำลวด 7 เส้น มาตีเกลียว จะมีก็แต่บางบริษัทเท่านั้นที่มีการนำลวด 3 เส้นมาตีเกลียว ซึ่งลักษณะก็จะคล้าย ๆ กับ PC WIRE คือจะมีการแบ่งเกรดออกเป็น 2 เกรดด้วย แต่ที่ต่างคือลวดเหล็กชนิดนี้นั้นถ้าหากว่าเป็นเกรด 1720 แล้วจะมีขนาดของลวดเหล็กที่ 9.3  12.4  และ 15.2 ซึ่งบางบริษัทอาจมีขนาดที่ 10.8  มม.  ส่วนเกรด 1860 ก็จะมีขนาดที่ 9.5  12.7  และ 15.2 โดยบางบริษัทก็อาจมีขนาดที่ 11.1 มม.  จะสังเกตได้ว่าลวดเหล็กชนิดนี้หากว่าสั่งไปที่ขนาดใดขนาดหนึ่งแล้วจะมีเพียง เกรดเดียวแต่จะยกเว้นสำหรับขนาดที่ 15.2  ที่จะมีทั้ง 2 เกรด สำหรับการสังเกตเหล็กประเภทนี้ก็จบเท่านี้ครับ แต่ผมขอเพิ่มเกร็ดเล็ก ๆ น้อย อีกอย่างนั้นคือ เหล็กตัวนี้จะมีการแบ่งประเภท Low Relaxation กับ Normal Relaxation ทางวิศวกรเค้ากระซิบผมว่าโดยหลักแล้วทั้ง 2 ชนิดนี้ต่างกันก็จริงแต่ถ้าหากผลิตตัว Low Relaxation มาแล้วมันจะครอบคลุมตัว Normal Relaxation ไปโดยปริยาย

ผมก็ขอจบการนำเสนอเรื่องราวในการสังเกตเหล็กแต่ละชนิดไว้เพียงเท่า นี้ก่อน  สำหรับเหล็กตัวใดที่ผมเองนั้นไม่ได้กล่าวถึงนั้นก็เนื่องมาจากว่าเหล็กตัว นั้นยังไม่มีความจำเป็นอะไรมากนัก   แต่ถ้าหากในอนาคตเหล็กตัวใดที่ผมไม่ได้เขียนในบทความนี้ แต่มีคนถามกันเข้ามามากผมก็จะมานำเสนอให้ทุกท่านได้เรียนรู้กันครับ  แล้วพบกันใหม่ในคราวต่อไป ส่วนจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรในวงการก่อสร้างนั้นก็ต้องคอยติดตามกัน  สวัสดีครับ..

 

ระพีพัฒน์

ได้รับความเอื้อเฟื้อข้อมูลและภาพประกอบจากบริษัท  ไทยไวร์โพรดักคท์, บางกอกสตีลไวร์, ระยองไวร์, ค้าเหล็กไทย


บทความที่เกี่ยวข้อง
: เหล็ก.... คุณรู้จักมันดีแค่ไหน ?



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.