" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับเหล็กเส้น เหล็กรูปพรรณ  
Article เหล็ก.... คุณรู้จักมันดีแค่ไหน?

วันที่ลง : 21-Feb-2011

สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน ครับ  วันนี้ผมมีเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยมาให้ผู้อ่าน ที่แวะเวียนเข้ามาได้ลองอ่านกัน นั่นคือเคล็ด(ไม่)ลับ ในการดูเหล็กแต่ละชนิดมาให้อ่านครับ ผมคิดว่าบทความนี้ช่วยได้มากทีเดียวกับคนที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับวงการ ก่อสร้างอย่างผม ทุกคนคงสงสัยว่า เหล็ก มันยากตรงไหน เหล็ก ก็คือเหล็กไม่ใช่เหรอ ใช่ครับ เหล็กก็คือเหล็ก แต่รู้ไหมครับว่าเหล็กเค้าเอาไปทำอะไรตั้งหลายอย่างที่เกี่ยวกับวงการก่อ สร้าง อันนี้ไม่นับเหล็กที่อยู่ในอาหารนะครับ นั่นเค้าเรียกธาตุเหล็ก อันนี้คงไม่เกี่ยวกัน เริ่มนอกเรื่องซะแล้วสิ ฮ่า ๆ ...

ก่อนอื่นต้องบอกว่าเหล็กเค้าเอาไปแปรรูปเป็นเหล็กชนิดต่าง ๆ ที่ผมรู้จักก็ได้แก่  เหล็กรูปพรรณ  เหล็กเส้น  และลวดเหล็กครับ อ้าวมีแค่ 3 ประเภทเองไหนว่าเยอะไง ใช่ครับถ้ามองแค่นี้มันไม่เยอะครับ แต่ว่าที่แยกย่อยไปอีกละครับ ปวดหัวกันแน่ ๆ   ก่อนอื่นผมขอพูดไล่แต่ละประเภทของเหล็กแต่ละกลุ่มก่อนนะครับ ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนี้ที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นแล้วเป็นการแบ่งของผมเอง เพื่อที่จะให้ง่ายในการจดจำ และครั้งนี้ผมก็ขออนุญาตพูดถึงแต่ในส่วนของเหล็กรูปพรรณก่อนนะครับ พูดรวมทั้งหมดคงยาวแน่ ๆ อีกอย่างคือกันคุณผู้อ่านสับสน ซึ่งรวมผมด้วยครับ แหะ ๆ     เหล็กรูปพรรณ  ก็คือเหล็กที่เค้าเอามาทำขึ้นเป็นรูปทรงต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ ซึ่งรายละเอียดตรงนี้ผมขอละไว้นะครับเพราะผมมาพูดถึงชื่อของมันกับจุดสังเกตของเหล็กแต่ละตัวมากกว่า   เปรียบเทียบง่าย ๆ คือ ก็เหมือนทองคำนั่นแหละครับ ทองคำตอนแรกมันเป็นแท่ง ๆ ใช่ไหมครับไอ้ว่าจะเอามาใช้เป็นเครื่องประดับ จะเอามันมาคล้องคอตอนมันเป็นแท่ง ๆ ก็ใช่เรื่อง ต้องลำบากไปหาหมอให้วุ่นวายอีกเพราะคอเคล็ด  เค้าเลยแปรรูปทองออกมาให้สวยงามเป็นเส้น ๆ ให้มันง่ายต่อการใช้งานและความสวยงามด้วยซึ่งก็คือทองรูปพรรณ หลักการก็เป็นแบบเดียวกันครับ เอาละครับมาเริ่มกันเลยดีกว่า

เหล็กแผ่น    เหล็กแผ่นนี่ให้คิดไว้ก่อนเลยครับว่าเป็น เหล็กแผ่นดำ ซึ่งจริง ๆ มันมีเหล็กแผ่นขาวด้วย แต่โดยส่วนใหญ่ที่เค้าใช้กันคือ เหล็กแผ่นดำครับ แล้วเหล็กแผ่นดำกับเหล็กแผ่นขาวมันต่างกันยังไงละ ผมก็ไม่รู้ครับว่าเค้าเอาไปใช้งานต่างกันหรือเปล่า แต่ที่รู้คือขนาดของมันที่มีต่างกันครับ เหล็กแผ่นดำจะมีขนาดตั้งแต่ 4x8 ฟุต เรื่อยไปจนถึง 5x20 ฟุตครับในปัจจุบันมีขนาดกี่ฟุตแล้วผมก็ไม่ทราบครับแต่มันไม่หยุดแค่ 5x20 ฟุตแน่นอนครับ ส่วนเหล็กแผ่นขาวมีขนาดเดียวที่ 4x8 ฟุตครับ แล้วทั้ง 2 แบบมีหลายความหนาเหมือนกันครับ  สำหรับเหล็กแผ่นขาวทั่วไปเค้าจะเรียกกันแบบเจาะจงไปเลยครับว่าเหล็กแผ่นขาว แต่ที่มีปัญหาบ่อย ๆ นั่นคือเหล็กแผ่นดำ โดยที่ผมได้ยินคนส่วนใหญ่เค้าเรียก ๆ กันก็มีดังนี้  เหล็กแผ่น, PLATE บางครั้งเค้าก็เขียนกันแค่ว่า PL อันนี้ให้ไปดูที่ขนาดให้ชัวร์ครับว่าเค้าจะเอาเหล็กอะไรกันแน่  ผมเคยเห็นบางครั้งนะครับเค้าเขียนมาว่าเหล็กแผ่น แต่ขนาดที่ต้องการกลับระบุมาว่าจะเอาเหล็กแบนซะงั้น  อ้อผมลืมเหล็กแผ่นอีกตัวไปครับ นั่นคือเหล็กแผ่นลาย  แต่ที่เห็นส่วนใหญ่ว่าถ้าหากว่าเค้าจะเอาเหล็กแผ่นลายเค้าจะระบุมาเลยว่าเป็นเหล็กแผ่นลายหรือ Checkered Plate ครับ สำหรับเหล็กแผ่นโดยหลัก ๆ ก็มีเท่านี้แหละครับ ก็ให้ระวังเรื่องเหล็กแผ่นดำแค่นั้นที่คนส่วนใหญ่มักมีชื่อเรียกที่แปลกออกไป

เหล็กแบน    ตัวนี้ต้องบอกก่อนนะครับว่ามันไม่ใช่เหล็กแผ่น มันเหมือนกันก็จริงแต่เหล็กแบนตัวนี้มันออกจะยาวมากกว่าที่จะเป็นแผ่นนะครับ เพราะโดยปกติแล้วมันมีความยาวที่ 6 เมตร ความกว้างกับความหนาก็แล้วแต่จะสั่งครับ ยกตัวอย่างนะครับ เหล็กแบนหน้ากว้างที่ 25 มม. หนาที่ 3 มม. แล้วยาวที่ 6 เมตร นึกภาพออกไหมครับว่าที่จริงมันยาวมากกว่าที่จะแผ่กว้างออกไปเป็นแผ่น  ถ้านึกไม่ออกก็ดูรูปเลยครับ (แล้วจะอธิบายทำไมให้มันยืดยาวเนี่ย..)

ภาพประกอบจาก SLK STEEL

ภาพประกอบจาก  SLK STEEL

ส่วนชื่อที่เรียกกันก็มี เหล็กแบน, Flat Bars บางครั้งจะเห็นเขียนย่อ ๆ ว่า F/B ก็ให้เข้าใจตามนี้นะครับว่าทั้งหมดนี้คือเหล็กแบน


เหล็กโครงสร้างรูปตัวซี (Lip Channel) เหล็กตัวนี้ไม่มีอะไรมากครับ ที่เห็นส่วนใหญ่เรียกกันก็คือเหล็กตัวซี หรือเขียนย่อ ๆ ว่า C ซึ่งก็เหมือนเดิมครับให้เราไปสังเกตที่ขนาดเอาว่าเค้าต้องการเหล็กอะไรกัน แน่ครับ เพราะมันจะไปสับสนกันระหว่างตัวเหล็กรางน้ำครับดูรูปเปรียบเทียบกันเลยดี กว่าครับ

เหล็กตัวซี                                                    เหล็กรางน้ำ

เห็น ไหมครับด้วยความที่ลักษณะมันคล้าย ๆ กันบางคนก็สับสนเหมือนกันซึ่งผมเองก็เป็นครับ มีจุดสังเกตตรงนี้ครับเห็นส่วนที่ยื่นเข้าไปตรงเหล็กตัวซีนั่นไหมครับ ตรงนั้นแหละครับคือจุดสังเกตที่ดีที่สุด อย่างนี้นะครับ เหล็กตัวซีจะมีขนาดที่  HxAxC ซึ่งจะต่างกับเหล็กรางน้ำที่มีขนาดที่ HxB เท่านั้น แค่นี้ละครับจุดสังเกตเล็ก ๆ น้อยที่ผมนำมาฝากกัน ไหน ๆ ก็พูดมาถึงเหล็กรางน้ำตัวต่อไปก็เหล็กรางน้ำเลยแล้วกันครับ

เหล็กรางน้ำ   ตัวนี้ได้ปวดหัวกันแน่ ๆ ครับ ซึ่งผมเองก็ยังปวดหัวอยู่จนถึงทุกวันนี้ ตัวเหล็กรางน้ำอย่างที่บอกข้างต้นว่ามันคล้าย ๆ กับเหล็กตัวซีแล้วมันมีอีกตัวครับที่เหมือนกันยังกับแกะ แต่เมื่อเรารู้ข้อสังเกตเกี่ยวกับเหล็กตัวซีแล้ว ดังนั้นก็ตัดตัวนี้ออกไป สำหรับเหล็กอีกตัวที่ผมจะพูดถึงก็คือเหล็กรางครับ เห็นไหมครับเรียกคล้ายกันขนาดนี้ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเป็นเหล็กตัวไหน  เริ่มกันเลยดีกว่ากับเหล็กรางน้ำครับตัวเหล็กรางน้ำเองส่วนใหญ่เค้าเรียกกัน ว่าเหล็กรางน้ำนั่นแหละครับภาษาอังกฤษก็คือ CHANNEL ขนาดของมันก็คือ  HxB t1 t2 ครับ ดูภาพประกอบเลยก่อนดีกว่ากันสับสน อธิบายดังนี้นะครับ ตัว t1 กับ t2 ก็คือความหนาครับ โดยทั้งสองตัวนี้จะมีความหนาไม่เท่ากันนะครับ


Channel

ที่ นี้เรามาอธิบายตัวเหล็กราง ซึ่งก็มีหลายชื่อครับอันได้แก่ เหล็กรางบาง เหล็กรางพับ หรือเหล็กรางครับ ภาษาอังกฤษเค้าให้ชื่อว่า LIGHT CHANNEL ซึ่งเหมือนเป็นมาตรฐานครับเพราะผมสังเกตจากบริษัทเกือบทุกบริษัทเค้าเรียก ภาษาไทยต่างไปแต่ภาษาอังกฤษมักจะใช้ชื่อนี้ครับ โดยขนาดระบุกันก็คือ  HxBxC t1  ครับ  ถึงตรงนี้คงสงสัยว่าทำไมมีความหนาเดียวละ อธิบายแบบนี้ครับว่าเหล็กตัวนี้เหมือนเหล็กแผ่นแล้วพับขึ้นรูปครับ  ก็เลยมีความหนาเดียว ดูรูปประกอบกันเลยดีกว่า


Light Channel

จาก ที่มองรูปแล้วทุกคนคงสงสัยเหมือนผมใช่ไหมครับว่าทำไมมีตัว xC ด้วย อธิบายแบบนี้ครับเห็นตัวที่มันยื่นขึ้นไปไหมครับ ไอ้ตรงตัว H นั่นแหละครับ คือว่าทั้งสองด้านนั้นบางครั้งมันมีขนาดไม่เท่ากันครับเค้าจึงกำหนดมาเป็น ขนาด HxBxC ไงละครับ  จุดสังเกตก็มีเท่านี้ละครับ  มาที่ตัวต่อไปกันเลยดีกว่า

 เหล็กไอบีม เหล็กไวด์แฟรงค์ และเหล็กเอชบีม   ทำไมผมถึงเอาทั้งสามตัวมาพูดรวมกันเลยนั้นเพราะว่าเป็นแบบนี้ครับทั้งสามตัว มีลักษณะคล้ายกันหมดทุกตัวครับ ยกตัวอย่างเหล็กไอบีมกับเหล็กเอชบีมนะครับ ถ้าเราให้ตัวไอมันล้มตะแคงไปด้านข้างมันกลายเป็นตัวอะไรครับ ที่คิดนะถูกแล้วครับมันก็กลายเป็นตัวเอช ซึ่งเหมือนกันกับตัวเอชนั่นแหละครับถ้าเราจับมันตั้งขึ้นมันก็กลายเป็นตัวไอ ไปเลย ซึ่งก็เหมือนกันกับเหล็กไวด์แฟรงค์ เพราะถ้าเราจับตั้งก็เป็นตัวไอ จับมันนอนมันก็เป็นตัวเอช แล้วถ้าอย่างนั้นเราจะดูยังไงได้ละว่าตัวไหนเป็นตัวไหน  ผมแนะนำแบบนี้ครับให้คุณไปหาตารางเหล็กออกมากางเลยครับ กางทั้งสามตัวเลยครับว่ามันแตกต่างยังไง มันแตกต่างแน่นอนครับ จากการที่ผมเองได้ลองมองตารางเหล็กเปรียบเทียบครับ  สรุปจุดสังเกตของผมดังนี้ครับ ตัวแรกเหล็กเอชบีมจะมีขนาด HxB เท่ากันครับอย่างเช่น 100x100  150x150 จะเป็นแบบนี้เสมอสำหรับเหล็กเอชบีมครับ ถ้ามันเป็น 100x50 หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ขนาด HxB ไม่เท่ากัน มันจะไม่ใช่เหล็กเอชบีม อย่างแน่นอนครับ ผมขอฟันธง! ขอสังเกตของเหล็กตัวต่อไปครับ เหล็กไอบีม ถ้าใครได้กางตารางเหล็กออกมาดูแล้วก็จะเห็นความแตกต่างดังนี้ครับ อย่างแรกเหล็กไอบีมในบางขนาดจะมีหลายความหนา และโดยปกติเหล็กไอบีมที่ขนาดเดียวกันกับเหล็กไวด์แฟรงค์ความหนาของแต่ละด้าน จะหนากว่าเหล็กไวด์แฟรงค์ เช่น ขนาดที่ 150x75 เหล็กไอบีมจะมีความหนาแต่ละด้านที่ 5.5 กับ 9.5 ในขณะที่เหล็กไวด์แฟรงค์จะหนาแค่ 5.0 กับ 7.0 เท่านั้น ผมขอสรุปข้อสังเกตของผมเองให้มองง่าย ๆ ดังนี้   เหล็กเอชบีมให้ดูขนาดที่ HxB จะมีขนาดทั้งสองด้านเท่ากันเสมอ  เหล็กไอบีมจะมีความหนามากกว่าเหล็กไวด์แฟรงค์ และมีความหนาอยู่หลายความหนา  เอาเป็นว่าผมแนะนำให้ดูที่ตารางเหล็กเพื่อความชัวร์และถูกต้องครับ

เหล็กกล่อง   ในตัวนี้ผมหมายถึงเหล็กแป๊บนะครับ  ไม่ว่าจะเป็นแป๊บเหล็กสี่เหลี่ยม(เหล็กแป๊บ) หรือแป๊บเหล็กสี่เหลี่ยมแบน(แป๊บแบน) ลักษณะของมันนั้นถ้าเรามองพื้นที่หน้าตัดก็เหมือนกับกล่อง กล่องหนึ่งที่แค่มันกลวงตรงกลางแล้วลักษณะจะยาวเท่านั้นเองครับ  ข้อแตกต่างระหว่าง 2 ตัวนี้คือ ถ้าขนาดกว้างกับสูง (DxD) เท่ากันก็จะเป็นเหล็กแป๊บสี่เหลี่ยม ถ้าขนาดกว้างกับสูง (DxB) ไม่เท่ากันก็จะเป็นเหล็กแป๊บแบนครับ ข้อสังเกตุของเหล็กสองตัวนี้ก็มีเท่านี้ครับ ไม่มีอะไรซับซ้อนมากมายนักแล้วมันก็ไม่เหมือนกับชาวบ้านเค้าด้วย

เหล็กฉาก  เหล็กตัวนี้ก็ไม่มีอะไรมากมายครับแค่ผมจะบอกว่าในบางคน(ครั้ง) เค้าจะเขียนมาว่าเหล็กรูปพรรณ L ซึ่งมันก็คือเหล็กฉากนั่นแหละครับ  สั้น ๆ ง่าย ๆ เพราะว่าเหล็กตัวนี้ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ

มาถึงเหล็กตัวสุดท้ายที่ผมจะแนะนำคือ ท่อเหล็กดำ และ ท่อเหล็กอาบสังกะสี สองตัวนี้เป็นท่อเหมือนกันแต่คุณสมบัติของมันต่างกันครับ สำหรับการใช้งานนั้นผมก็ไม่ทราบนะครับว่าใช้งานต่างกันด้วยหรือเปล่า ข้อสังเกตของเหล็กตัวแรกคือ ท่อเหล็กดำนั้นจะมีหลายความหนาใน 1 ขนาด เช่น ที่ขนาด 1 นิ้ว ก็จะมีความหนาตั้งแต่ 1.2 1.4 1.7 2.0 2.3 2.5 มม. เรื่อยไป ซึ่งก็แล้วแต่ผู้ผลิตเองว่ามีถึงความหนาที่เท่าใด ส่วนท่อเหล็กอาบสังกะสี(Galvanized Steel Pipes) หรือ ที่เรียก ๆ กันก็คือ ท่อ GSP โดยท่อชนิดนี้จะมีความหนาเดียวใน 1 ขนาด เช่น ขนาด 1 นิ้ว ความหนาก็คือ 2.6 มม. ในชั้น BS-S  อธิบายเพิ่มเติมตรงนี้ว่า ท่อ GSP นั้นจะแบ่งเป็นชั้นการเคลือบ 3 ชั้นคือ BS-S(คาดเหลือง), BS-M(คาดน้ำเงิน), BS-H(คาดแดง) ซึ่งความหนาในแต่ละชั้นก็จะต่างกันไปเช่น ขนาด 1 นิ้ว หนาที่ 2.6 มม.ที่ BS-S หนา 3.2 มม.ที่ BS-M และหนา 4.0 มม.ที่ BS-H หลักการสังเกตก็มีเท่านี้แหละครับ  สำหรับการสังเกตเหล็กแต่ละตัวและชื่อที่เรียกต่าง ๆ กันจากประสบการณ์ที่ผมพบมาก็มีเท่านี้แหละครับ ส่วนเหล็กที่ผมไม่ได้กล่าวถึงก็คงไม่มีอะไรลึกซึ้งซับซ้อนมากเท่าไหร่ จากที่ผมรวบรวมข้อมูลมาให้ท่านผู้อ่านได้รู้กัน  คงมีประโยชน์บ้างสำหรับผู้ที่ต้องใช้มันเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเช่น เดียวกับผม แล้วคอยพบกันคราวต่อไปกับ “เหล็กเส้นและลวดเหล็ก” ที่ผมจะเอามาให้อ่านในคราวต่อไปครับ

 

โดย: ระพีพัฒน์

บทความที่เกี่ยวข้อง :เหล็ก.... คุณรู้จักมันดีแค่ไหน ? (ตอนจบ)



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

jlvuugik

13-Nov-2012  05:26:49
20










สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.