" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับสี งานทาสี  
Article การย้อมสีไม้

วันที่ลง : 10-Jul-2009

                   

การย้อมสีไม้

     ในการทำ เคลือบผิวไม้ ขั้นตอนหนึ่งที่ยุ่งยากคือการย้อมสี เพราะมันอาจเกิดปัญหา บางอย่างขึ้นเช่น รอยด่าง (Splotching), รอยขวางที่เกิดจากการขัด (Steaking), การเข้ากันไม่ได้ของ สีย้อมกับ ตัวเคลือบ และเป้าหมายของการย้อม เราควรกำหนดไว้ว่าเพื่อทำให้เนื้อไม้โดดเด่นไม่ใช่ลบหรือซ่อนเนื้อไม้ เพราะถ้าหากต้องการซ่อนเนื้อไม้ควรใช้วิธี Paint สี ซึ่งจะไม่เห็นเนื้อไม้ เลย
     สี มันช่วยให้ชิ้นงานสวยขึ้น ทำให้เนื้อไม้กลมกลืนกัน ได้ โดยเฉพาะเมื่อนำไม้มาต่อกัน (Joint) สีเดิมอาจไม่เท่ากัน แต่เมื่อย้อมแล้วทำให้สีกลมกลืนกันไปได้ ไม้ที่ไม่ค่อยมีราคาเมื่อย้อมแล้วทำให้ดูมีค่ามีราคาได้ การย้อมสีเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอต่อความสวยงามจึงต้องมี การเคลือบ การทำโทน การทำเงาจะทำให้ครบสมบูรณ์ถึงความสวยงาม การย้อมสีที่ผิดพลาดส่วนใหญ่เกิดจากการเลือกสีที่ผิด
สีย้อม = Colorant (Pigment or Dye) + Binder + Thickness โดยที่ ถ้าตัวที่เป็น Colorant เป็น Dye ไม่จำเป็นต้องมี Binder เพราะ Binder เป็นตัวที่จะให้เม็ดสีที่เป็น Pigment ยึดติดกับเนื้อไม้ ส่วน Dye สามารถซึมเข้าเนื้อไม้ได้อยู่แล้ว หากคุณต้องการทราบว่า สีย้อมที่ใช้เป็นประเภทไหน ทำจากอะไร ใช้เวลานานเท่าใดจึงจะแห้ง ผู้ผลิตไม่ค่อยบอกรายละเอียดมากนัก สีแต่ละยี่ห้อ ให้ผลออกมาแตกต่างกัน สีบางอย่างเมื่อใช้แล้วได้ไม่ตรงตามความต้องการ การซึมได้ไม่เท่ากัน ไม้แต่ละชนิดมีเนื้อไม่เหมือนกันทำให้ผลของสีชนิดเดียวกัน ต่อไม้ต่าง ๆ จะให้ผลต่างกันไปด้วย Veneer ก็จะให้สีไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ได้ เพราะมีกาวมาก การซึมของเนื้อสีผ่านกาวไม่ค่อยดีนัก

Pigment
     เป็น Color ที่ได้จากการสังเคราะห์ เป็นส่วนใหญ่ ขนาดของ Particle มีขนาดใหญ่ ถ้าใช้มาก ๆ มันจะบังกันเอง ทำให้ไม่สามารถมองเห็นเนื้อไม้ได้ การใช้งานต้องเขย่าให้กระจายตัวออกก่อนใช้งาน อาจมีการตกตะกอนนอนก้นได้ดังนั้นต้องคนอยู่เรื่อย ๆ ระหว่างทา เมื่อทาสีย้อมประเภทนี้แล้วหากเช็ดออก สีที่โดดเด่นจะอยู่ในร่องรอยของเสี้ยนไม้ รอยจิก รอยสิ่ว หากไม่เช็ดออก สีจะกระจายกันอยู่ ทำให้สีหนาเข้มขึ้นได้

Dye
     ตัวอย่างเช่นสีในกาแฟ น้ำชา ผล Berries ซึ่งเป็นสีจากธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันเป็นสารสังเคราะห์ เช่น Aniline Dye มีสีให้เลือกมากมาย มันจะซึมเข้าสู่เซลของเนื้อไม้ ทำให้มีลักษณะกลมกลืนกัน และ Transparent ไม่เหมือน Pigment ซึ่งมีความทึบ และอยู่ตามร่องรอยเสี้ยนไม้ นอกจากนี้ Dye ยังไม่ต้องการ Binder อีกด้วย เนื่องจาก Dye ละลายใน Solvent ทำให้เราเปลี่ยนความสว่างของเนื้อสีที่ทาไปแล้ว ได้ โดยใช้ Solvent หรือสีที่ทาไปแล้วหากต้องการเปลี่ยน เราก็สามารถทำได้ด้วย แต่ก็ต้องระวังเรื่อง ของตัว สารเคลือบที่ทาไปแล้ว หากใช้ Solvent อาจไปละลายตัว สารเคลือบ ออกมาด้วย Dye ละลายในอะไรได้บ้าง ได้แก่ Alcohol, Water, Mineral Spirit, Thinner แล้วแต่ชนิดของ Dye เราจึงแยกเป็น Water, Alcohol, Oil บางทีเราผสม Dye ลงไปในตัว สารเคลือบ เลยเป็นต้น เช่น Dye ที่ละลายใน Alcohol จะผสมลงใน Shellac ส่วน Dye ที่ละลายใน Oil ก็จะผสมกับ Varnish เป็นต้น ในบรรดาสีทั้งสามแบบ water base จะแห้งช้าที่สุด และซึมเข้าเนื้อไม้ได้มากสุดหากทิ้งไว้ซักพักแล้วค่อยเช็ดออก ราคาถูก ไม่ติดไฟ แต่การที่มันมีน้ำ ทำให้ Grain ของไม้ยกตัวสูงขึ้นเรียกว่า ยกเสี้ยน ดังนั้น อาจจะมีการขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียดมาก ๆ เมื่อแห้งแล้ว เบอร์ 600 ต่อมาได้คิดค้นตัวทำละลายโดยไม่ใช้น้ำ เช่น Glycol Ether เป็น NGR (None Grain Raising) ผสมสารละลายไว้เรียบร้อย นำไปผสม Shellacได้เลย
     Dye ที่ละลายใน Alcohol, Thinner ไม่ทำให้ Grain สูงขึ้นอยู่แล้ว เพราะมันแห้งเร็วนั้นเอง แต่เราก็ไม่ได้เรียกว่า NGR

มีข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดระหว่าง Dye กับ Pigment
1. Dye จะมีลักษณะ Transparent
2. Dye จะแทรกซึมเข้าไปในเซลด้วย ส่วน Pigment แทรกอยู่ตามร่อง รู รอยเสี้ยนไม้
3. Dye จะละลายในสารละลายได้ ดีกว่า Pigment และ Dye ยังทำให้จางลง เข้มขึ้น และเปลี่ยนสีได้แม้จะทาไปแล้ว
     สีย้อมบางชนิดมีทั้ง Dye และ Pigment ผสมกันอยู่ และ มี Binder ช่วยทำหน้าที่เป็นเหมือนกาวยึด
Pigment ให้ติดกับเนื้อไม้ ช่าง มักจะชอบสีประเภทนี้ เพราะสีสามารถเน้นหนา ขึ้นในส่วนที่ Pigment ไม่สามารถทำได้

Binder
     เปรียบเสมือนกาวที่ยึด Pigment ให้ติดกับเนื้อไม้ ถ้าไม่มี Binder ตัว Pigment ก็จะถูกปัดออกจากเนื้อไม้ได้โดยง่าย และ Binder ส่วนใหญ่ก็คือ พวก Oil ต่าง ๆ ที่เคลือบเนื้อไม้นั่นเอง เราสามารถจะทำสีย้อม โดยผสม Pigment กับ Binder ด้วยตัวเราเอง
Oil Binder จะแห้งช้า Varnish และ Water base จะแห้งปานกลาง Lacquer แห้งเร็ว อุณหภูมิ และ ความชื้นมีผลต่อการแห้งแข็ง สีย้อมที่ใช้ Oil หรือ Varnish ใช้ Mineral Spirit เป็นตัวทำละลาย สีย้อมที่ใช้ Lacquer เป็น Binder จะใช้ Lacquer Thinner เป็นตัวทำละลาย สีย้อมที่ใช้ Water base เป็น Binder จะใช้ Water เป็นตัวทำละลาย ไม่ว่า Binder จะเป็นอะไร เมื่อมันแห้งไปแล้ว จะให้ผลออกมาเหมือนกัน แต่สำคัญที่การแห้ง และการ bond,Oil และ Varnish จะแห้งช้า โดย Oil จะแห้งช้ากว่า และถ้าใช้ Oil/Varnish ก็จะแห้งช้ากว่า อาจใช้เวลาถึง 2-3 วันDarnish Oil ใช้เวลา 1 วัน ช่วง เวลาที่เราจะต้องเช็ดสีส่วนเกินออก ขึ้นอยู่กับ Binder ว่าแห้งช้าหรือเร็ว ให้เราสังเกต ดูว่าข้างกล่องบอกว่าต้องทิ้งไว้ข้ามคืน

การใช้ Aniline Dye
     Water, Alcohol และ Oil dye Stain ส่วนใหญ่ขายในรูปผง เราต้องละลายเอง ส่วน พวก NGR จะขายในรูปสารละลายสำเร็จรูป หากคุณต้องละลายเอง ต้องแน่ใจว่าใช้สารละลายที่ถูกต้อง ในการผสมไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ ควรใช้แก้วหรือขวดปากกว้างจะดีที่สุด ยิ่งถ้ามีสีชายิ่งดี แต่ถ้าเป็นสีชาอาจมองสีไม่เห็น การผสมสีอาจไม่ตรงตามข้างขวดดังนั้นต้องสังเกต และผสมข้ามบริษัทกันได้ถ้ามันละลายในสารละลายประเภทเดียวกัน และหากคุณจดบันทึกปริมาณการใช้ สัดส่วนไว้ การผสมคราวต่อไปก็จะได้สีที่เหมือนเดิมสม่ำเสมอ การทาใช้ผ้าทอที่เป็นเส้นใยเช็ดจะให้ผลดีมาก เพราะมันช่วยกำจัดเศษฝุ่นให้ด้วย สีจะละลายในน้ำอุ่นได้ดีว่าน้ำเย็น ในการผสมสีที่ละลายน้ำ ควรใช้น้ำกลั่นจะให้ผลดีสุด
     การทา Aniline Dye หากคุณได้ทดสอบบนเศษไม้ชนิดเดียวกับที่คุณจะทาจริง ๆ ก็จะเป็นการดี วิธีการอาจใช้ผ้าชุบทาเรียกว่า Wet Staining แล้วเช็ดออก หรือ อาจจะใช้วิธีพ่นบาง ๆ หรือใช้แปลงทาบาง ๆ แต่ หลาย ๆ รอบ สีมีความโปร่งใสดังนั้นมันไม่บดบังลายของไม้
สี่ที่ละลายในน้ำ แห้งช้าดังนั้นมีเวลามากพอที่จะเช็ดมันออก ก่อนที่มันจะแห้ง และวิธีการที่ดีที่เราจะทาอะไรก็ตามที่ละลายในน้ำเราต้องกำจัด เศษเสี้ยน ไฟเบอร์ออกโดยวิธีการที่เรียกว่า Sponging คือเอาฟองน้ำชุบน้ำหมาด ๆ แล้วเช็ดไปบนไม้ที่จะทำสี ทิ้งไว้ให้แห้ง 1 คืน แล้วขัดออก เพื่อกำจัดอะไรก็ตามที่จะยกตัวขึ้นเมื่อมีการ ทาด้วยน้ำ วิธีที่ดีที่สุดในการย้อมสีก็คือใช้ Spray แล้วใช้ฟองน้ำหรือผ้าเช็ดส่วนเกิน
พวก Alcohol, Oil, NGR พวกนี้จะละเหยเร็ว ไม่มีเวลาเช็ดออก หากใช้วิธีพ่นจะให้ผลงานออกมาดี สีเท่าเทียมกัน และสีที่ใช้ทั้งในอุตสาหกรรม และ ช่างไม้ทั่วไปใช้มักจะเป็นพวก NGR โดยใช้พ่นเอา ส่วนมือสมัครเล่นใช้พวก water base เพราะทาแล้วเช็ดออกได้มีเวลามากพอ ในการพ่นต้องให้บาง มาก ๆ สีจะได้สม่ำเสมอ ในการใช้แปลงคุณต้องทาให้ยาวที่สุดจนสีแห้ง ไปตามลายไม้ สังเกตขอบที่ยังเปียก ทาออกไปทับกันเล็กน้อย โดยยังไม่ต้องจุ่มสีใหม่จนเห็นว่า พื้นเริ่ม แห้ง ๆ การเช็ดบางส่วนออก อาจใช้ผ้าสะอาดชุบตัวทำละลายพอหมาด ๆ เพื่อเช็ด
     ในการย้อม คุณอาจทำให้บริเวณตาของไม้ และบริเวณ เนื้อไม้ ไม่มีความแตกต่างกันมากนักได้ การใช้ไม้ต่างต้นกันมาต่อกัน การย้อมก็จะช่วยได้ โดยทาบริเวณที่ อ่อนกว่าก่อน ในการทำให้ขอบหรือบางพื้นที่เจือจางลงเราจะใช้ Solvent ทาบริเวณที่ ต้องการ สีจะกระจายตัวออกและเจือจางลงได้ ในการทำให้สีเข้มขึ้นคุณต้องผสมให้เข็มขึ้นแล้วทาทับเข้าไป คุณไม่สามารถทำให้เข้มขึ้นด้วยการใช้สีเดิมทาทับแล้วเช็ด ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนสี ผสมใหม่ แล้วทาทับลงไป ถ้าคุณต้องการให้อ่อนลงใช้ Solvent เช็ดออก



 

Bleaching Wood

    การกัดสีไม้ให้ขาวขึ้น ช่างบางคนต้องการทำไม้ให้ได้สีที่ต้องการและชัดเจน ดังนั้นเพื่อให้สีที่ย้อมทำงานได้เต็มที่ต้องทำไม้ให้ขาว แล้วค่อยย้อมสี ซึ่งการทำนั้นไม่ยาก สารที่นิยมใช้ได้แก่
 Sodium Hydroxide ใช้กำจัดสีธรรมชาติของไม้
 Hydrogen Peroxide ใช้กำจัดสีธรรมชาติของไม้
 Chlorine ใช้กำจัดสีที่ย้อมเนื้อไม้
 Oxalic acid กำจัดสีย้อมไม้ที่ละลายในน้ำ

     ในการทำ Bleaching มักใช้สองส่วนในการเอาสีออก ผู้ผลิตมักจะให้มาสองขวด คือ Sodium Hydroxide และ Hydrogen Peroxide โดยทา Sodium Hydroxide ก่อน แล้วใช้แปลงอันใหม่ ทา Hydrogen Peroxide มันจะทำ ปฏิกิริยากัน สีจะจางลง มีฟองเกิดขึ้นนิดหน่อย ทิ้งไว้ข้ามคืน ใช้น้ำส้มสายชูเจือจางเช็ดบริเวณที่ ทำ Bleach ทิ้งไว้อีก 1 คืน ขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 280 ขึ้นไปให้เนื้อเนียนเรียบ ก็เป็นอันเสร็จพิธี
     บางคนใช้สารเคมีทำปฏิกิริยา กับเนื้อไม้ให้เกิดสี แต่ไม่นิยมเพราะเป็นอันตราย ยกตัวอย่างใช้ Potassium Diclomate เพื่อทำให้สีไม้เข้มขึ้นเป็นต้น

Ebonizing Wood
    เป็นวิธีการทำไม้ให้ดำ โดยใช้สารเคมีทำปฏิกิริยาในปัจจุบันไม่นิยมแล้ว เพราะเราสามารถใช้สีดำที่เป็น Aniline Dye ซึ่งให้ผลที่ดีเท่ากัน

Thickness

     ความหนาของสีย้อมนั้นแตกต่างกันไป สีย้อมส่วนใหญ่เป็นของเหลว บางชนิดทำให้หนาขึ้นได้ และมักจะเป็น Gel ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวก Pigment ใน Varnish Binder บางชนิดเป็น Dye ใน Varnish หรือ Water Base และจะมีลักษณะเหมือนกันหมดคือมันจะไม่มีการไหล บางทีแม้เราคว่ำกระป๋อง ของ Gel Stain มันก็ยังไม่ไหล จุดประสงค์ของการใช้สีประเภทนี้อยู่ที่มันซึมผ่านเข้าไปในเนื้อไม้น้อยมาก ในไม้ที่มีปัญหาในการย้อมเช่น ไม้สน ที่มี Grain แตกต่างกันมาก หากใช้สีย้อมทั่วไปก่อให้เกิดความแตกต่างของสีชัดเจน แต่ถ้าใช้ Gel จะทำให้สีกระจายตัวได้เท่าเทียมกัน การเลือกใช้สีนั้นไม่มีสีใดดีที่สุด แต่มีสีที่เหมาะที่สุดในแต่ละงานเสมอ

 การเข้ากันของสีย้อมและ สารเคลือบ (ตัวเคลือบ)
      ถ้าหากคุณเลือกที่จะย้อมสีเนื้อไม้คุณต้องเลือกที่จะดูด้วยว่ามันเข้ากันได้หรือเปล่า กับ ตัวเคลือบเนื้อไม้ เพราะบางทีอาจทำให้ เลอะเทอะ เข้าไปอีก เพราะ ตัวเคลือบไปละลายสีออกมา ง่ายที่สุดก็คือคุณรู้จัก Solvent ต่าง ๆ ดีพอหรือเปล่า หากคุณรู้จักดีมันจะช่วยให้คุณเข้าใจ ง่ายขึ้น
1. ถ้าสารละลาย หรือตัวเจือจาง เป็น น้ำ, Alcohol หรือ Lacquer Thinner เป็นตัวเดียวกันทั้งสีย้อมและ ตัวเคลือบ อาจทำให้เกิดปัญหาได้
2. ถ้าตัวเจือจางเป็น น้ำมันสน ทั้งในสีย้อมและ ตัวเคลือบ จะไม่ค่อยเกิดปัญหายกเว้นถ้าคุณเคลือบ Oil soluble dye ด้วย oil หรือ Varnish
3. สี Dye ที่ละลายใน ตัวทำละลายใด ก็จะถูกตัวทำละลายนั้น ละลายออกมาได้ เช่น น้ำ จะละลายสี่ที่เป็น water base และพวก NGR Shellac จะละลายพวก Alcohol Dye
Oil Varnish และ Lacquer จะละลายพวก Oil Dye, mineral spirit dye
4. Binder ใน water base สามารถถูกละลายได้โดย Glycol Ether หรือ Lacquer Thinner
อาจแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการพ่นบาง ๆ จะไม่ทันละลาย จะสังเกตเห็นว่าหากคุณใช้แปรง อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง Solvent แต่หากคุณใช้วิธีพ่นก็แทบจะไม่มีปัญหาใด ๆ เลย ยกเว้นกรณีเดียวที่คุณย้อมด้วย สีที่เจือจางใน น้ำมันสน แล้วเคลือบด้วยตัวเคลือบ ที่เจือจางด้วย น้ำมันสน

ไม้ทำปฏิกิริยากับสีอย่างไร
     ไม้จะประกอบไปด้วยเซลเล็ก ๆจำนวนมาก บางเซลเปิดกว้างออกเป็นช่องรูเล็ก ๆ เซลเหล่านี้บางเซลเป็นเส้นทางเดินของอาหารและน้ำตอนที่มันยังมีชีวิตอยู่ ในการย้อมสี หาคุณป้ายสีย้อมลงบนกระจก แล้วคุณเช็ดออก คุณสามารถเช็ดออกได้หมด แต่หากคุณป้ายสีย้อมลงบนผิวไม้ คุณไม่สามารถเช็ดออกได้หมด เพราะเม็ดสีกรณีที่เป็น Pigment จะเข้าแทรกตัวตามเซลว่าง ๆ รอยแตก รอยเสี้ยนไม้ ความแตกต่างของสีย้อมต่อไม้นั้นขึ้นกับ

1. ขนาดของรูร่อง หรือช่องว่าง
2. การกระจาย ตัวของเซล ขนาดต่าง ๆ กัน
3. มุมของรูร่องต่าง ๆ
4. ความหนาแน่นของรูร่อง

ขนาดของช่องว่าง (Pore size)
     ขนาดจะมีความแตกต่างกันตามชนิดของไม้ เมเปิ้ล และ บีช จะมีขนาดเซลเล็ก ดังนั้นการใช้สีประเภท Pigment จึงไม่ค่อยดีต้องใช้เป็นพวก Dye

การกระจาย ตัวของช่องว่าง (Pore Distribution)
     การที่มีการกระจายตัว ของ ช่องว่างที่มีขนาดต่าง ๆ กันไม่สม่ำเสมอมักจะเป็นปัญหาการย้อมสี เช่น ไม้สน ไม้โอ๊ก โดยเฉพาะเมื่อคุณใช้สีย้อมประเภท Pigment ซึ่งพวก Pigment จำนวนมาก มันจะเข้าไปแทรกตัวอยู่ในรูใหญ่ ๆ ทำให้เกิดความแตกต่างของสีในแต่ละบริเวณมากเกินไป เราอาจลดโดยการใช้เป็นพวก Dye หรือ Gel Dye แทน

มุมของช่อง Pore Angle
     มุมที่เกิดจากการตัดไม้ ทำให้ช่องต่าง ๆ รับสีได้ไม่เท่ากัน หรือมองเห็นเม็ดสีไม่เท่ากัน ความสว่างของสีไม่เท่ากัน ด้านข้างหรือด้านตัดขวาง (Cross Cut) เมื่อเราทำการย้อมสีจะซึมเข้าได้มากกว่าทำให้สีเข้ม บางคนใช้เทคนิคหลังย้อมสีแล้วคือ ด้านเรียบขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 600 แต่ด้านข้างขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 220 ก่อนที่จะขัดด้วยเบอร์ 600 อันนี้เป็น Trick อย่างหนึ่ง

Fiber Density
     ความไม่แน่นอนของ เซล ความไม่เป็นระเบียบมีผลต่อสีย้อมเสมอ การซึมผ่านของสีย้อมเข้าไปในเซลแต่ละจุดไม่เท่ากัน ทำให้มีความแตกต่างกัน

การย้อมสีทำอย่างไร
     มีสองวิธีในการย้อมสี คือคุณทาสีย้อมลงไปบนผิวราบของไม้ดิบคือยังไม่ได้ทาอะไรลงบนไม้ จากนั้นสีจะซึมเข้าไป หรือทาลงไปบนไม้ที่มีการ Sealed รูร่องทั้งหมด หรือ Sealed บางส่วน ทำให้สีไม่สามารถซึมเข้าไปที่ร่องรูของไม้ หรืออยู่แต่บนผิวหน้า ***Bare Wood หมายถึงไม้ราบเรียบที่ยังไม่ได้ทาอะไรลงไปเลย การย้อมสีไม้ที่ไม่มีการแกะลาย หรือไม้แผ่นเรียบ ไม่มีบัว อาจจะใช้เช็ด แปรง หรือ Spray บางทีจุ่มลงไปเลยก็มี จากนั้นก็เช็ดส่วนเกินออกก่อนที่มันจะแห้ง หรือหากคุณไม่ต้องการเช็ดออกสีก็อาจจะเข้มขึ้นกับความต้องการของคุณเอง ในการทาสีครั้งที่สองแล้วเช็ดออก จะไม่สามารถเพิ่มความเข้มได้ เพราะสีจะถูกเช็ดออกจนหมด และในร่องรูก็มีสีเต็มอยู่แล้ว ยกเว้น ทาแบบไม่เช็ด จะทำให้เข้มขึ้นได้ การเช็ดสีนั้นคุณเช็ดไปในทิศไหนก็ได้ แต่การเช็ดครั้งสุดท้ายต้องเช็ดไปในแนวเดียวกับลายไม้ ดังนั้นคุณต้องพิจารณาว่าจะย้อมกี่รอบ ถ้าคุณย้อมรอบเดียว ต้องตามลายไม้ดีที่สุด แต่ถ้าสองรอบ รอบแรก ๆ คุณเช็ดตามขวางดีกว่า ในการทาสีหลายรอบ แนะนำวิธี Spray จะให้ผลงานได้ดีกว่าตรงเป้ากว่า เพราะการใช้แปรงอาจจะมีร่องรอยทับกันอย่างเห็นได้ชัด หรือแม้กระทั่งรอยของแปรงเอง



 

     การทาสีย้อมลงบนไม้ที่มีการ Sealed ไปแล้วไม่ว่าจะบางส่วนหรือเต็มร่องเสี้ยน เพื่อลดไม่ให้มีความแตกต่างกันมากระหว่าง สีด้านข้าง กับ ด้านหน้า เพื่อลดรอยด่างอันเนื่องจาก ความแตกต่างของ Grain ที่กระจายตัวอยู่ ลดความแตกต่างของสีเนื้อไม้ เน้นร่องไม้โดยไม่ให้มีการเปลี่ยนลายไม้ Washcoating หมายถึงการอุดรูร่องบางส่วนก่อนย้อมสี ด้วยตัวตัวเคลือบ Glazing หมายถึงการ Sealed ไม้ทั้งหมดก่อนแล้วตามด้วยย้อมสี Shading หมายถึงการย้อมสีโดยมีการทา ตัวเคลือบลงไปบางส่วนจากนั้นย้อมสี แล้วทา สารเคลือบ ทับลงไปอีก คือเป็นการทาระหว่างการ Coat นั่นเอง ส่วนใหญ่ใช้วิธีพ่น เพื่อเพิ่มความเข้มของพื้นผิวงาน Toning เป็นการย้อมสี ลงไปบนชิ้นงานที่ เคลือบ เรียบร้อยแล้ว วัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนโทนสี โดยผสมสีกับตัว เคลือบ

 Washcoating

     มีสองวิธี คือ ใช้ Solvent ที่ละเหยช้าทาลงไปให้มันอยู่ในช่อง ในขณะที่คุณย้อมสี เช่น Mineral Spirit โดยการทาให้ฉ่ำแล้วค่อยลงสีย้อม ใช้ ตัวเคลือบบาง ที่สุดที่ทำได้ เช่น Shellac แบบเจือจาง ก่อนย้อมต้องใช้กระดาษทรายเบอร์280 อย่างต่ำในการขัดเบา ๆ เพื่อให้ผิวเรียบเนียนดี ทั้งสองวิธีทำให้สีเข้าไปในช่องน้อย แต่ไม่สามารถลบรอยด่างทั้งหมดได้ วิธีการที่ดีกว่าการใช้ Washcoating ก็คือการใช้ Gel Stain ให้ยึดหลัก ก่อนทา ตัวเคลือบ หรือสีย้อม ต้องลงด้วยกระดาษทราย เบอร์ 280ขึ้นไป โดยขัดแบบเบา ๆ

Glazing
     เป็นการทาสีย้อมบาง ๆ ระหว่างการเคลือบ ของ ตัวเคลือบ ซึ่งสามารถทำได้ทั้ง 3 วิธี คือ ทา เช็ด และ Spray และสีย้อมส่วนใหญ่จะใช้เป็นพวก Pigment ซึ่งจะมี Binder เพื่อยึดติดกับตัวเคลือบ และควรเป็น พวกที่แห้งเร็วซักหน่อยอย่าใช้ Oil Varnish ส่วนใหญ่จะใช้ Lacquer, Shellac, Varnish, Water base งานที่มีคุณค่าทางอุตสาหกรรม จะมีชั้น Glaze อย่างน้อย 1 ชั้น ผลที่ได้จากการทำ Glazing ทำให้สีกลมกลืนกัน ไม่แตกต่างกันมาก แม้แต่ไม้ที่นำมาต่อกันมีสีต่างกันก็ช่วยลดความต่างได้ เพิ่มความลึกของเนื้อไม้ ทำให้สดใสขึ้นได้ขึ้นกับสีที่ใช้ อาจทำให้ดูเนียนขึ้น ทำให้มีลวดลายขึ้นได้ เช่นทำลายหินเป็นต้น เพิ่มความโดดเด่นของรูร่องได้ ดัดแปลงทำให้มีความรูสึกถึงความเป็นเฟอร์นิเจอร์เก่าได้ Glazes ส่วนใหญ่เป็น Pigment ในพวก Oil หรือ Varnish หรือ Water base binder คุณสามารถทำให้หนาหรือเจือจางได้ด้วยตัวเอง คุณสามารถผสมสีประเภทนี้ได้ด้วยตัวเอง Glaze ที่อยู่ใน Varnish จะดีกว่าพวกที่เป็น Water base,Oil-Varnish Glaze แห้งช้าคุณจัดการได้ Oil-Varnish Glaze ไม่ทำลายผิวล่างของ ตัวเคลือบ จึงไม่เป็นปัญหาหากคุณจะเช็ด ข้อเสียคือกลิ่นเหม็นของตัวทำละลาย

การทา Glaze
     Glaze เป็นการ Paint แบบหนึ่งอาจจะหนาหรือ บางก็ได้
1. อุดรูเสี้ยนไม้ด้วย Shellac หรือ Sealer ชนิดอื่น ๆ แล้วปล่อยให้แห้ง ตามชนิด ของ Sealer
2. ขัดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 280 ขึ้นไป เบา ๆ จนเรียบเนียน แล้วกำจัดฝุ่น
3. ทา สีย้อม อาจด้วยแปรง ผ้า หรือ Spray ให้เข้าไปทุกซอกมุม
4. ถ้าส่วนไหน หนาไปให้เช็ดออก เหลือไว้เพียงบาง ๆ
5. ใช้แปรงเกลี่ยจนได้สีเท่าเทียมกันหมด เป็นสีเนื้อเดียวกัน ไม่มีรอยแปรง หรือตำหนิ ถ้าแปลงเปื้อนมากต้องมีผ้าไว้เช็ดแปรงด้วย
6. ปล่อยให้แห้งไว้ 1 คืนเป็นอย่างน้อย จากนั้นอาจจะขัดเงาได้ด้วยผ้า ขนสัตว์ เมื่อแห้งสนิทแล้วก็ทา ตัวเคลือบ ชั้นต่อไป จนกว่าจะพอใจ ในการทำ Glaze ให้มีลักษณะแปลก ๆ เป็นเงา เช่นการลง Glaze แล้วขัดออก เหลือเพียงจุดที่ซ่อน เพื่อเน้นเงา ก็จะทำให้ดูแปลกตาดี

Shading and Toning
     เป็นการตบแต่งด้วยสีแบบหนึ่งคล้าย ๆ Glaze แต่วิธีนี้ไม่ สามารถที่จะเน้นร่องรูได้อีก เพราะเป็นการทาลงบนผิวที่เรียบ ของ ตัวเคลือบ และคุณสามารถทำสีแบบนี้ด้วยตัวคุณเอง ด้วยการผสมสีลงในตัวเคลือบที่คุณใช้ทาอยู่ แล้วใช้วิธีพ่นเท่านั้น ดังนั้นผสม Solvent ที่แห้งเร็ว
Shading จะเน้นการทำให้พื้นที่บางพื้นที่มีสีที่เข้มขึ้น เพื่อให้พื้นที่ที่เหลือ มีความโดดเด่น Toning จะเน้นการเปลี่ยนโทนสีของผิวงานมากกว่า หากสีที่ใช้เป็นพวก Pigment จะทำให้มีความรู้สึกมัว มากกว่า Dye และก่อนที่คุณจะทำ Shading หรือ Toning คุณควรทาตัวเคลือบให้หนาขึ้นก่อนเพื่อว่าเมื่อมีการผิดพลาด คุณจะได้แก้ไขได้ เพราะ ถ้าคุณพ่น Shading หรือ Toning มันไม่สามารถเช็ดออกได้ มันต้องขัดออกอย่างเดียว และหากมีตัวเคลือบที่บาง การขัดอาจไปกินเนื้อไม้ได้

การทำให้ชิ้นงานมีความเก่าและดูโบราณ
     สมัยก่อนใช้กรดแรง ๆ กัด แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไป จุดเริ่มต้นอยู่ที่มีคนเอาเฟอร์นิเจอร์เก่ามาซ่อม พยายามขัดแต่สีเก่าออกไม่หมด หรือชั้นเคลือบเก่าออกไม่หมด เมื่อเคลือบใหม่เข้าไปทำให้รูสึกได้ว่าเป็นของเก่าเก็บมานานแต่ดูสวยงาม เลยกลายเป็นแฟชั่นของเก่า ซึ่งสามารถทำมาจากของใหม่ได้ โดยการเช็ดสีย้อมประเภท Pigment ที่ลงไว้หนาๆ หรือการทำให้บางลงโดยเช็ดออกให้เห็นเนื้อไม้ ใช้วิธี Glaze หรือ Paint ก็ได้ อาจใช้ Solvent ช่วยเช็ดสีที่ไม่ต้องการออก ไม้ที่นิยมทำได้ผลดีได้แก่ ไม้สน ไม้ Oak, Ash เมื่อได้สีที่ต้องการแล้วเคลือบ อีก 2-3 รอบ

                     

ที่มา : http://www.thaihomemaster.com/showinformation.php?TYPE=12&ID=1469



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

น้องก้อย

06-Jun-2012  10:54:35
การทำให้ไม้สักใหม่เป็นไม้เก่ามีวิธีำการยังไงคะขอบคุณคะ










สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.