" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอนกรีต  
Article ขั้นตอนการทำเข็มเจาะ (Bore Piles) สำหรับอาคารขนาดใหญ่

วันที่ลง : 03-May-2010

ขั้นตอนการทำเข็มเจาะ (Bore Piles) สำหรับอาคารขนาดใหญ่

การทำเข็มเจาะ มี 2 แบบ

1. เจาะเปียก (Wet Process)
2. เจาะแห้ง (Dry Process)

1เจาะเปียก (Wet Process)

ขั้นตอนที่ 1 ให้ใส่ปลอกเหล็ก WET PROCESS
1.1ให้ใส่ ปลอกเหล็ก ( STELL CASING ) เพื่อป้องกันดินส่วนบนพัง ยาวไม่น้อยกว่า 14.00 ม. และปลายปลอกเหล็กจะต้องลึกเลยชั้น SOFT CLAY ในช่วงความยาวภายในปลอกเหล็กนี้จะขุดโดยไม่เติม DRILLING LIQUID ลงในหลุมก็ได้ เนื่องจากมีปลอกเหล็กป้องกันดินพังติดตั้งอยู่แล้ว เมื่อขุดเลยระดับใต้ปลอกถ้ามีน้ำไหลเข้ามาในปลอกจะต้องใส่ LIQUID โดยใช้ BENTONITE เพื่อทำหน้าที่ต้านแรงดันภายในหลุมที่จะทำให้เกิดการพังทลายได้
1.2 เมื่อทำการเจาะจนถึงระดับที่ต้องการแล้ว ก่อนการติดตั้งเหล็กเสริมจะต้องตรวจสอบความดิ่งและการพังทลายของหลุมเจาะ ด้วยวิธี หรือเครื่องมือที่เหมาะสมหากทราบว่ามีการพังทลายเกิดขึ้นจะต้องชักโครงเหล็ก ขึ้นมาทำการแก้ไขให้เรียบร้อย จึงลงโครงเหล็กเสริมใหม่
1.3 เมื่อวางโครงเหล็กเสริม และตรวจสอบกับรูเจาะเรียบร้อยแล้ว จึงทำการเทคอนกรีตได้ BENTONITE SLURRY โดยใช้ท่อ TREMIE PIPE ที่มีขนาดพอเหมาะใส่ลงไปในหลุมเข็มเจาะจนเกือบถึงก้นหลุม โดยให้ปลายท่อห่างกับหลุมเพียงเล็กน้อย โดยมี PLUG อยู่ในท่อ ลอยอยู่เหนือ SLURRY PLUG อาจใช้ลูกบอลยาง โฟม หรือ สารชนิดอื่น ๆ ที่วิศวกรผู้ออกแบบเห็นชอบแล้ว TREMIE PIPE จะต้องฝังอยู่ในคอนกรีตประมาณ 2.00 ม. ซึ่งอาจน้อยกว่าได้ตามสภาพความเหมาะสมแต่ในขณะดัดต่อท่อ TREMIE ท่อต้องจมอยู่ในเนื้อคอนกรีตประมาณ 3-5 ม. ขณะเทคอนกรีตต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณคอนกรีตที่เท เทียบกับปริมาณตามแบบไว้ทุกระยะการเทในขณะเทคอนกรีตท่อ TREMIE PIPE จะหลุดจากคอนกรีตที่เทแล้วในหลุมเจาะไม่ได้
1.4 ให้หล่อคอนกรีตหัวเสาเข็ม สูงกว่าระดับที่ต้องการประมาณ1.20-1.50
1.5 เมื่อเทคอนกรีตจนได้ระดับแล้ว จึงทำการถอนปลอกขึ้นได้
1.6 หากวิธีการเจาะหรือตรวจสอบใด ๆ ที่มิได้กล่าวไว้แล้วก็ตาม หากระหว่างการทำงาน ผู้รับจ้างเห็นว่าควรจะมีการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมใด ๆ เพื่อให้งานที่คุณภาพดีขึ้น ผู้รับจ้างจะต้องเสนอต่อคณะกรรมการตรวจการจ้าง หรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน เพื่อให้ความเห็นชอบ
1.7 BENTONITE SLURRY
- BENTONITE SLURRY ที่ใช้ต้องมีคุณสมบัติ
ก. ค่า PH ไม่ต่ำกว่า 7 ทดสอบโดยวิธี PH indicator paper atripa
ข. DENSITY อยู่ระหว่าง 1.05 - 1.2 ตัน/ลบ.ม. และปริมาณที่ใช้ผสม 2-6%
ค. VISCOSITY อยู่ระหว่าง 30 – 90 SEC> ( MARCH`CONE TEST )
ง. SAND CONTENT ไม่เกิน 6% ทดสอบโดย NO. 200 Seive H.S.MESH ค่าเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจการจ้างในกรณีที่คณะกรรมการตรวจการ จ้างหรือวิศวกรผู้ควบคุมงาน เห็นว่า BENTONITE นั้นสกปรกหรือมีคุณสมบัติต่าง ๆ ไม่เหมาะสมที่จะใช้งานต่อไปแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบการจ้างหรือวิศวกรผู้ควบคุมงานมีสิทธิ์ที่จะห้ามใช้ BENTONITE SLURRY นั้นได้
จ. จะต้องทดสอบคุณสมบัติเหล่านี้ จาก BENTONITE SLURRY ในหลุมเจาะจริงด้ว

ขั้นตอนที่ 2 ข้อกำหนดของคอนกรีต

2.1 คอนกรีตที่ใช้ทำเสาเข็มเจาะ จะต้องมีกำลังอัดประลัยของคอนกรีตมาตรฐาน รูปทรงลูกบาศ์ก ( CUBE ) 0.15x0.15x0.15 เมื่อมีอายุ 28 วัน ไม่น้อยกว่า280 KSC. โดยมีค่ายุบตัวอยู่ระหว่าง 15-20 ซม. ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ดแลนด์ประเภทที่ 1
2.2 คอนกรีตที่ใช้งานเสาเข็มเจาะ ต้องมีเวลาการก่อตัวไม่น้อยกว่า 5 ซม. และต้องเหมาะสมกับระยะเวลาการเทคอนกรีต
2.3 ผู้รับจ้างงานเสาเข็มเจาะ ต้องเสนอ MIX DESIGN ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างพิจารณาอนุมัติ การเสนอ จะต้องส่งผลการทดสอบกำลังอัดมาด้วย อย่างไรก็ตามความรับผิดชอบในเรื่องคุณภาพ คุณสมบัติของคอนกรีตที่เทยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับจ้าง
2.4 การเก็บตัวอย่างแท่งคอนกรีตของเสาเข็มเจาะ 1 ตัน เก็บตัวอย่างไม่น้อยกว่า 3 ชุด ชุดละ 3 แท่ง และค่าใช้จ่ายในการเก็บตัวอย่าง การทดสอบ ผู้รับจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด


ขั้นตอนที่ 3 ข้อกำหนดของการเสริมเหล็กในเสาเข็มเจาะ
เหล็กยืน ให้เสริมขนาดตั้งแต่ 12 มม. ขึ้นไปให้ใช้เหล็กข้ออ้อย SD-40 ตามมาตรฐาน มอก. และมีปริมาณไม่น้อยกว่า 0.5% ขอยหน้าตัดเสาเข็ม
เหล็กปลอกให้เสริมขนาด 9 มม. ระยะ 0.30 ม.ให้ใช้เหล็กกลม SR-24 ตามมาตรฐาน มอก.


ขั้น ตอนที่ 4 การทดสอบการรับน้ำหนักปลอดภัยของเสาเข็มเจาะ โดยการทำ จะต้องทดสอบตามมาตรฐาน


ขั้นตอนที่ 5 การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเจาะ โดยวิธี




ขั้นตอนที่ 6 การบันทึกรายงานการทำเสาเข็มเจาะ
รายละเอียดดังนี้
6.1 วัน เดือน ปี าที่ทำการเจาะและเทคอนกรีตของเสาเข็ม
6.2 หมายเลขกำหนดตำแหน่งเสาเข็มเจาะ
6.3 ระดับดินเดินก่อนทำการเจาะ
6.4 ระดับปลายเสาเข็ม
6.5 ระดับหัวเสาเข็ม
6.6 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความยาวเสาเข็มเจาะ
6.7 รายละเอียดเหล็กเสริมเสาเข็มเจาะ
6.8 ความคลาดเคลื่อนของศูนย์และระยะเบี่ยงเบนของเสาเข็มในแนวดิ่ง
6.9 รายละเอียดของชั้นดิน จะต้องเก็บตัวอย่างของชั้นดิน ณ จุดที่ทำเสาเข็มส่งให้วิศวกรผู้ออกแบบ และจะต้องจัดทำรายการของชั้นดินที่ผิดแปลกไปส่งให้วิศวกรผู้ออกแบบทราบทันที
6.10 รายละเอียด อุปสรรคที่เกิดขึ้นหรือเหตุผิดปกติต่างๆจะต้องแก้ไขให้สำเร็จถูกต้องตามหลัก วิชาการ

 

2. เจาะแห้ง (Dry Process)

ขั้นตอนที่ 1 การจัดเครื่องมือเข้าศูนย์กลางเสาเข็มเจาะ
ปรับตั้ง 3 ขา ให้ได้แนวศูนย์กลางของเสาเข็ม เมื่อตรวจสอบถูกต้องแล้ว ตอกหลักยึดแท่นเครื่องมือให้แน่น แล้วใช้กระเช้าเจาะนำเป็นรูลึกประมาณ 1.00 เมตร

ขั้นตอนที่ 2 การตอกปลอกเหล็กชั่วคราว
2.1 ขนาดและความยาวของปลอกเหล็กชั่วคราว
ปลอกเหล็กชั่วคราวจะมีเส้นผ่าศูนย์ กลาง 35 ซม 43 ซม 50 ซม 60 ซม เสาเข็มเจาะซึ่งแต่ละท่อนจะมีความยาวประมาณ 1.00 เมตร ต่อกันด้วยระบบเกลียวในการทำงานจะตอกปลอกเหล็กผ่านชั้นดินอ่อน ซึ่งอยู่ด้านบนจนกระทั่งถึงขั้นดินแข็งปานกลาง เพื่อป้องกันการเคลื่อนพังของผนังรูเจาะในขั้นดินอ่อนและป้องกันน้ำ
ใต้ ดินไม่ให้ไหลซึมเข้าในรูเจาะอันจะเป็นผลให้คุณภาพของคอนกรีตไม่ดีเท่าที่ควร
2.2 การควบคุมตำแหน่งให้ถูกต้องและอยู่ในแนวดิ่ง
ในการทำงาน การตอกปลอกเหล็กชั่วคราวลงไปแต่ละท่อนจะมีการตรวจสอบตำแหน่งศูนย์กลางของ เข็มและแนวดิ่งอยู่เสมอ เพื่อเป็นการป้องงกันมิให้เข็มเจาะเอียง

ขั้น ตอนที่ 3 การเจาะ
3.1 อุปกรณ์ที่ใช้ในการเจาะ
ในช่วงดินอ่อนจะใช้ กระเช้าชนิดมีลิ้นที่ปลายเก็บดินโดยใช้น้ำหนักของตัวมันเอง เมื่อกระเช้าถูกทิ้งไปในรูเจาะดินจะถูกอัดให้เข้าใปอยู่ในกระเช้าและจะไม่ หลุดออกเพราะมีลิ้นกั้นอยู่ในเวลายกขึ้นมา ทำซ้ำกันเรื่อย ๆ จนดินถูกอัดเต็มกระเช้าจึงนำมาเทออก การเจาะจะดำเนินไปจนกระทั่งถึงขั้นดินแข็งปานกลาง จึงเปลี่ยนมาใช้กระเช้าชนิดไม่มีลิ้นที่ปลายเก็บต่อไปจนได้ความลึกที่ต้อง การ
3.2 การตรวจสอบการเคลื่อนพังของดินในขั้นที่ไม่มีปลอกเหล็กชั่วคราว
ใน ระหว่างการเจาะเอาดินขึ้น จะหมั่นตรวจสอบว่าผนังดินพังหรือยุบเข้าหรือไม่ โดยดูจากชนิดของดินซึ่งเก็บขึ้นมาควรจะต้องสอดคล้องกับความลึกและคล้ายคลึง กับเข็มตันแรก ๆ ถ้าตรวจพบว่าดินเกิดจากการเคลื่อนพังจะรีบแก้ไขในทันทีโดยตอกปลอกเหล็กชั่ว คราวให้ลึกลงไปอีก



ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบรูเจาะก่อนใส่เหล็กเสริม
4.1 การวัดความลึก
โดยวัดจากความยาวของสายสลิงรวมกับความยาวของกระเช้าตัก ดิน
4.2 การตรวจสอบก้นหลุม
ใช้สปอร์ตไล้ท์ส่องดูก้นหลุมว่ามีการยุบ เข้ามีน้ำซึมหรือไม่ ถ้ามีน้ำซึมที่บริเวณก้นหลุมจะเทคอนกรีตแห้งลงไปประมาณ 50 ซม. และกระทุ้งให้แน่นด้วยตุ้มเหล็ก จากนั้นใช้ปูนทราย 1:1.5 เทลงไปประมาณ 30-50 ซม. ก่อนใส่เหล็ก

ขั้นตอนที่ 5 ใส่เหล็กเสริม
5.1 ชนิดของเหล็กเสริม
ส่วนเหล็กเส้นกลมตาม มอก. 20-2524( SR-24 ) ส่วนเหล็กเส้นข้ออ้อยตาม มอก.24-2524 ( SD-30 )
5.2 ขนาดและปริมาณเหล็กเสริม
การต่อเหล็กใช้วิธีต่อทาบไม่น้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางและใช้ลวดผูกเหล็กผูกบิดแน่น
5.3 การใส่เหล็กเสริม
หย่อนกรงเหล็กให้อยู่ตรงกลางของรูเจาะจนถึงระดับที่ ต้องการ และยึดให้แน่นหนาเพื่อที่ขณะเทคอนกรีตกรงเหล็กจะไม่ขยับเขยื้อน

ขั้นตอนที่ 6 การเทคอนกรีต
6.1 ชนิดของคอนกรีต
คอนกรีตที่ใช้ เป็นคอนกรีตผสมหน้างาน หรือคอนกรีตผสมเสร็จ ( READY MIX ) มีกำลังอัดประลัยที่ 28 วัน เมื่อทดสอบโดยแท่งทรงกระบอกขนาด 15 x 30 ซม. ( cylinder ) ไม่น้อยกว่า 210 กก/ซม3 ซีเมนต์ที่ใช้เป็นซีเมนต์ปอร์มแลนด์ ประเภท 1 และใช้ความยุบของคอนกรีตประมาณ 8-12 ซม. เพื่อให้คอนกรีตเกิดการอัดแน่นด้วยตัวเองเมื่อเทลงรูเจาะไปแล้ว
6.2 วิธีเทคอนกรีต
เมื่อรูเจาะได้รับการตรวจสอบและอนุมัติให้เทคอนกรีตได้ จะรีบทำการเทคอนกรีตทันทีเพื่อไม่ให้รูเจาะอ่อนตัวหรือกระทบความชื้นในอากาศ นานเกินไปจนสูญเสียแรงเฉือนได้ การเทคอนกรีตจะเทผ่านกรวย ปลายกรวยเป็นท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม. ยาว 3.0 เมตร คอนกรีตจะหล่นลงตรง ๆ โดยไม่ปะทะผนังรูเจาะหรือกรงเหล็กจะช่วยลดการแยกตัวของคอนกรีต
6.3 วิธีทำให้คอนกรีตแน่นมากขึ้น
เมื่อทำการเทคอนกรีตถึงระดับ -5.00 ถึง -3.00 จากระดับดินปัจจุบันจะทำการอัดลมเพื่อให้คอนกรีตอัดตัวแน่นมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 7 การถอดปลอกเหล็กชั่วคราว
จะต้องเทคอนกรีตให้มีระดับ สูงกว่าปลอกเหล็กชั่วคราวพอสมควร จึงจะเริ่มถอดปลอกเหล็กขึ้น โดยปกติขณะถอดปลอกเหล็กจะต้องให้มีคอนกรีตอยู่ภายในปลอกเหล็กไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ชั้นดินอ่อนบีบตัว
ทำให้ขนาดเสาเข็มเจาะ เปลี่ยนไปและเป็นการป้องกันมิให้น้ำใต้ดินไหลซึมเข้ามาในรูเจาะก่อนที่จะถอด ปลอกเหล็กชั่วคราวออกหมด จะต้องเติมคอนกรีตให้มีประมาณเพียงพอและเผื่อคอนกรีตให้สูงกว่าระดับที่ต้อง การประมาณ 30-75 ซม. ในกรณีที่หัวเสาเข็มอยู่ต่ำจากระดับดินปัจจุบัน เพื่อป้องกันมิให้หัวเข็มที่ระดับที่ต้องการสกปรกเนื่องจากวัสดุหรือเศษดิน ร่วงหล่นลงไป ภายหลังการถอดปลอกเหล็กออกหมดแล้ว

ขั้นตอนที่ 8 การบันทึกรายงานการจัดทำเสาเข็ม
บันทึก ณ ที่สนง. ก่อสร้างที่ปฏิบัติงานเสาเข็ม
8.1 หมายเลขกำกับเสาเข็ม
8.2 วันที่เจาะ เวลาเริ่มเจาะ เวลาแล้วเสร็จในการเจาะ เวลาเริ่มเทคอนกรีต เวลาถอนท่อเหล็กชั่วคราวจนแล้วเสร็จ
8.3 ระดับดิน ระดับตัดหัวเข็ม ระดับความลึกปลายเสาเข็ม ความยาวของท่อเหล็ก ปลอกชั่วคราว
8.4 ความคลาดเคลื่อนของศูนย์เข็ม และระยะเบี่ยงเบนของเสาเข็มในแนวดิ่ง
8.5 รายละเอียดของชั้นดิน
8.6รายละเอียดเหล็กเสริมในเสาเข็ม และปริมาณคอนกรีต
8.7 อุปสรรที่เกิดขึ้น หรือเหตุผิดปกติต่าง ๆ
8.8 ค่าวินิจฉัย สั่งการ ของเจ้าหน้าที่อาคาร , วิศวกรผู้ออกแบบ , ผู้ควบคุมงานของเสาเข็มต้นนั้น ๆ

 

 

ที่มา:http://www.pramuanmongkol.com



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.