ทำ ระบบ Pre-Cast นั้นมักผิดพลาดตรงไหน ตอนนี้งาน ก่อสร้างกำลังขาดแคลนช่างและคนงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่างปูนที่ทั้งก่อ ทั้งฉาบ งานด้านนอกอาคาร หลายโครงการ จึงพยายามหลีกเลี่ยงจากการก่อฉาบกับที่ มาใช้ระบบ PRE - CAST (ระบบหล่อคอนกรีต เสริมเหล็กข้างล่าง แล้วยกขึ้นติดตั้งข้างบน) ซึ่งเป็นระบบ ที่สามารถ ทำให้งาน ทั้งโครงการ เร็วขึ้น เนื่องจากสามารถเตรียมแผ่น PRE-CAST ไว้ก่อน และงานก็จะดูเรียบร้อยกว่า เพราะการตกแต่งผิวด้านล่าง สามารถทำได้สะดวกกว่า จากประสบการณ ์และสิ่งที่เห็นมาถึงปัจจุบันนี้ งาน PRE-CAST กลับเป็นงานที่ทำให้ โครงการมีปัญหาได้ เพราะงาน PRE-CAST นี้ เป็นวิธีการที่นับว่าใหม่มาก สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างทั่วไปในบ้านเรา มีผู้รับเหมาและผู้บริหารการก่อสร้างเพียงไม่กี่รายที่เข้าใจในวิธีการ และการเตรียมการ ทำให้แผ่นคอนกรีต ที่เตรียมไว้ด้านล่าง ไม่พอดีกับพื้น ที่เตรียมไว้ ด้านบน หรืออุปกรณ์ การยก ไม่เอื้ออำนวย หรือการเตรียมจุดต่อเชื่อม ระหว่างแผ่น PRE-CAST กับพื้น หรือเสาไม่ถูกต้อง ฯลฯ จึง ขอเรียนเตือนไว้เลยว่า….หากไม่แน่จริง ไม่มีประสบการณ์มาก่อน อย่าเพิ่งทำงานระบบ PRE-CAST เลย… เพราะ… ท่านอาจจะต้องฝันร้าย (มาก) ในระยะเวลาต่อมา งาน Pre-Cast" ซึ่งเท่าที่พบมา มีความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ อยู่ 4 ประการคือ -
ทำ Shop Drawing ไม่ละเอียดเพียงพอ เมื่อนำมาติดตั้งแล้วไม่พอดี และทำให้งานระบบอื่น ๆ เช่น ประปา ไฟฟ้า มีปัญหา -
เพราะ Pre-Cast เป็นแผ่นคอนกรีตที่หนักมาก (บางชิ้นหนักหลายตัน) การขนส่งทางตั้งทำยากมาก หากท่อแต่ละชิ้นไม่พอดีจริง ๆ จะติดตั้งไม่ได้ -
เพื่อต้องการให้ติดตั้งได้ง่าย จำเป็นที่ต้องมีช่องว่างเผื่อไว้ระหว่างแผ่น หรือระหว่างโครงสร้าง การอุดแต่งรอยเหล่นั้นทำได้ยากและราคาแพงมาก -
หาก Pre-Cast ติดต่อ ๆ กันเป็นแผงโต ๆ ไม่มีทางที่จะให้ได้ระนาบเสมอกันหมด ยามแดดส่องกระทบ จะเห็นเป็นลูกคลื่น …. น่าเกลียดเชียว (แม้บางคนพยายามจะใช้สีระเบิดพ่นทับไปก็ยังช่วยอะไรไม่ได้) -
การติดตั้งประตูหรือหน้าต่างเข้ากับแผ่น Pre-Cast มีปัญหาเกือบทุกอาคาร เพราะตามปกติวิชาช่าง จะเอาของนิ่ม ประกบกับของแข็ง (เช่นปูนฉาบกับอะลูมิเนียม) จึงจะให้รอยต่อนั้นสนิทได้ดิ่งฉาก แต่การเอา อะลูมิเนียมมาต่อกับ Pre-Cast เป็นการเอาของแข็งมาประกบกับของแข็ง การปรับแต่งทำได้ยากมาก (จนเรียกว่าเป็นไปไม่ได้) จาก เหตุดังกล่าว หลายอาคารจึงประสบปัญหางานก่อสร้างล่าช้า และเกินงบประมาณ เพราะความผิดพลาด หรือความไม่พร้อม (ความไม่แน่จริง) ของผู้ทำ Pre-Cast ทั้งนี้ยังจะไม่พูดถึงอันตรายอั นเกิดจากระบบ Pre-Cast (เช่น แผ่นคอนกรีตหนัก 2 ตันถูกยึดด้วยเหล็ก 9 มม. 2 เส้น, ไม่มีการกันชื้นของโครงเหล็กยึด นานเข้า ๆ เหล็กเป็นสนิมแล้วเหล็กยึดนั้นก็ขาด ฯลฯ) ซึ่งจะคุญให้ฟังต่อไปครับ ที่มา:http://winyou.asia/100_1000_2/245.htm
TAG : |