" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับปูนซีเมนต์ คอนกรีต  
Article บ้านร้าว จากปูนซีเมนต์และอัตราที่ใช้ในการผสมคอนกรีต

วันที่ลง : 22-Jun-2009

 

บ้านร้าว สาเหตุบ้านร้าว

      วันนี้จะขอพูดถึงอายุของอาคารและสาเหตุของการวิบัติอันเป็นสาเหตุที่สำคัญ ในการทรุดร้าว ขอเรียกสั้น ๆ ว่า “บ้านร้าว” ซึ่งพบว่าเป็นปัญหาหนักอกสำหรับหลาย ๆ ท่าน สอบถามกันมามากมายหลายราย จนนับได้ว่าเป็นปัญหายอดฮิตกันเลย แต่ละปัญหาก็มีความยากง่ายในการวิเคราะห์หาสาเหตุและวิธีการแก้ไขแตกต่างกัน ไปตามกรณี ในการออกแบบอาคารบ้านเรือนนั้นนอกจากจะต้องคำนึงถึงความแข็งแรงของโครงสร้าง และความสะดวกสบายในการใช้สอยตัวอาคารแล้วยังต้องคำนึงถึงอายุการใช้งานของ อาคารด้วยว่าใช้ได้นานเท่าใด ยกตัวอย่างเช่นหากเราสามารถสร้างบ้านที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 20-30 ปี โดยไม่ต้องมีการซ่อมแซมครั้งใหญ่นั้นถือว่าเป็นบ้านที่ช่วยท่านประหยัดเงิน ในกระเป๋าได้ไม่น้อย แต่จะให้ดีและถือว่าประหยัดที่สุดคือ การออกแบบและสร้างให้อาคารมีอายุเกิน 50 ปี โดยไม่จำเป็นต้องซ่อมแซมใหญ่ ๆ โดยเฉพาะโครงสร้างแต่อย่างใด

      นิยามคำว่า ”การวิบัติ” หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า “บ้านร้าว” ในที่นี้หมายถึงการชำรุดของตัวอาคารบ้านเรือนหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของตัว อาคารบ้านเรือนชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ฉะนั้นการที่พบว่าผนังก่ออิฐมีรอยร้าวเล็ก ๆ แต่ลายงาทั่วไปหรือมีรอยร้าวเดียวแต่ยาวไม่ได้หมายความว่าอาคารนั้นถึงแก่ ”การวิบัติ” เสมอไป อาจเกิดจากความผิดพลาด ความมักง่ายของช่างในการก่อฉาบที่ไม่ถูกหลักวิธีก็เป็นได้ครับการร้าวที่ โครงสร้างหลักของอาคารกับการร้าวของผนังมีสาเหตุแตกต่างกันและมีวิธีแก้ไข แตกต่างกันไปด้วย  ณ. ตอนแรกของบ้านร้าวนี้ขอพูดให้อุ่นใจกันไว้ก่อนว่าบางปัญหาอาจไม่ได้ร้าย แรงอย่างที่ท่านคิดก็เป็นได้ แต่ถ้าหากพบว่าปัญหาเรื่องร้าวเกิดกับบ้านของท่านแล้วก็อย่านิ่งนอนใจ พูดไปแล้วหากจะแก้ไขปัญหาเรื่อง “บ้านร้าว” แบบขุดรากถอนโคนแล้วหล่ะก็ คงต้องหาสาเหตุและต้นตอให้พบเสียก่อนถึงจะเป็นการแก้ปัญหาอย่างถาวร
      การ ตรวจสอบหาสาเหตุของ”บ้านร้าว” ซึ่งปรกติรอยร้าวในบ้านหรือตัวอาคารนั้นเป็นอาการที่แสดงให้เห็นว่าได้เกิด การชำรุดขึ้นแล้ว ณ ที่ใดที่หนึ่ง การชำรุดอาจเกิดในบริเวณที่พบรอยร้าวหรือเกิดที่ส่วนอื่นของอาคารแต่ส่งผล กระทบมาปรากฏให้เห็นรอยร้าวก็ได้ ฉะนั้นในการซ่อมแซมการชำรุดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาสาเหตุให้พบเสียก่อน การซ่อมแซมแต่เพียงบริเวณรอยร้าวเป็นแค่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น ตราบใดที่ต้นเหตุของการแตกร้าวไม่ได้รับการแก้ไขปัญหารอยร้าวที่รบกวนใจ เหล่านั้นจะกลับมาทักทายคุณอีกแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น รอยร้าวที่เกิดจากการฉาบและการที่ช่างไม่ได้ทำการเตรียมปูนที่ฉาบให้ถูกต้อง นั้นสามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้ปูนยิปซั่ม มายาแนวตรงรอยร้าว ก็เพียงพอแล้วแต่ ในขณะที่รอยร้าวที่เกิดจากการทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานรากนั้นจำเป็นต้องได้ รับการแก้ไขที่ฐานรากเสียก่อนจึงจะมาแก้ไขที่รอยร้าว เป็นต้น
สาเหตุที่อาจทำให้เกิด”การวิบัติ” หรือทำให้”บ้านร้าว” สามารถจำแนกเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ ได้ 6 ประการ
1. ความผิดพลาดในการออกแบบ ที่กำหนดขนาดและวัสดุต่าง ๆ ไม่เพียงพอต่อการรับน้ำหนักของอาคาร
2. ปัญหาการก่อสร้าง ที่ไม่ถูกหลักวิธี ทำให้ความแข็งแรงของอาคารน้อยกว่าที่น่าจะเป็น
3. ปัญหาฐานราก ซึ่งเกิดได้จากการผิดพลาดจากการคำนวณและการก่อสร้าง
4. แรงกระทำทางข้าง เป็นแรงที่วิศวกรผู้คำนวณมองข้ามไป เช่น แรงลม หรือเกิดจากเหตุสุดวิสัย เช่นแผ่นดินไหว การเคลื้อนตัวของชั้นดินเป็นต้น
5. การกระทำทางกล ได้แก่แรงของเครื่องกลที่ติดตั้งไว้อาคารที่กระทำต่ออาคาร
6. ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ,การเปลี่ยนแปลงอันเกิดการปฏิกิริยาทาง เคมีและจุลินทรีย์ อาทิเช่น ความชื้นการเกิดสนิม,คอนกรีตเสื่อมสภาพ,ความแตกต่างของอุณหภูมิ ความร้อนหนาว เป็นต้น
      สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น สาเหตุหลักที่อาจทำให้เกิด ”การวิบัติ” หรือ”บ้านร้าว” คนรักบ้านก็ลองกลับไปตรวจสอบบ้านของท่านดูว่ารอยร้าวที่เกิดขึ้นนั้น เกิดมาจากสาเหตุใด ก่อนมาดูกันว่ารายละเอียดของปัญหาในเรื่อง “บ้านร้าว” แต่ละประเภทเป็นอย่างไรกันบ้าง

      ปูนซีเมนต์เป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้อาคารบ้านเรือนนั้นเกิดการวิบัติ ได้ ถ้าเลือกปูนซีเมนต์ที่ไม่ได้มาตรฐานแข็งตัวหมดอายุการใช้งานหรือเลือกปูน ซีเมนต์ผิดประเภท อย่างเช่นในงานคอนกรีตนั้นเป็นงานที่จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการเท ถ้าหากเป็นการเทคอนกรีตประเภทที่ให้กำลังอัดสูงกับพื้นที่ที่เป็นแผ่นขนาด ใหญ่หากสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงโดยมิได้ทำการบ่มคอนกรีตซะก่อนการสูญเสียน้ำใน คอนกรีตอย่างฉับพลัน ก็อาจจะทำให้เกิดรอยแตกร้าวได้ เพราะปูนซีเมนต์ประเภทนี้ให้กำลังอัดที่สูงก็จริงแต่การยืดหดตัวจะมีมากกว่า ปูนซีเมนต์ประเภทอื่น นอกจากนี้กรรมวิธีในการที่จะเก็บปูนซีเมนต์นั้นก็ ควรจะแยกประเภทของปูนซีเมนต์ด้วยเพื่อป้องกันการสับสนและผิดพลาดในการใช้งาน ถึงแม้ปูนซีเมนต์แต่ละประเภทจะมีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกันก็จริง แต่จะมีสารบางชนิดที่ไม่เหมือนกัน เช่นปูนซีเมนต์ที่มีซัลเฟตสูง ถ้าไม่จำเป็นจริงไม่ควรใช้ผสมกับปูนซีเมนต์ประเภทอื่นและไม่ควรจะให้ปนกัน เป็นอันขาด เพราะจะมีความต้านทานซัลเฟตที่มีอยู่ในน้ำถ้าผสมกันอาจทำให้ปูนซีเมนต์ ปอร์ทแลนด์นั้นเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่อาจจะทำให้เกิดการวิบัติของอาคารได้ ส่วนปูนซีเมนต์ซิลิการ์ก็เหมาะที่จะใช้ในการฉาบมากกว่าไม่ควรที่จะนำมาใช้ทำ โครงสร้างเป็นต้น

      ส่วนการผสมคอนกรีตมีความสำคัญพอ กัน กับงานประเภทอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานโครงสร้างอาคาร เพราะจะต้องเลือกวัสดุผสมคอนกรีตอัตราของส่วนผสมให้เหมาะสมกับการใช้งาน วัสดุผสมคอนกรีตที่ว่านี้ประกอบไปด้วย ปูนซีเมนต์ปอร์ทแลนด์ มวลรวมหยาบ มวลรวมละเอียดและน้ำ ในการผสมนั้นจะต้องวัดปริมาณของวัสดุผสมให้ถูกต้องที่สุดโดยการชั่งน้ำหนัก วัสดุ แต่ถ้าเป็นวิธีการวัดปริมาตรนั้นจะเป็นวิธีที่ไม่ค่อยแน่นอนนัก เพระไม่สามารถควบคุมอัตราของส่วนผสมให้สม่ำเสมอกันได้แต่ถ้าเป็นวิธีที่ สะดวกต่อการทำงานกว่าแบบแรก การออกแบบอัตราส่วนผสมของโครงสร้างนั้นควรจะให้ได้คอนกรีตที่ข้นที่สุดที่ ยังสามารถจะไหลลงแบบหล่อได้ดี แต่ช่างปูนส่วนใหญ่จะนิยมผสมคอนกรีตให้เหลวเพื่อที่จะได้เทคอนกรีตลงแบบหล่อ ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องใช้เครื่องเขย่าคอนกรีต ในกรณีนี้จะทำให้มอร์ต้าหรือน้ำปูนไหลออกมาตามร่องระหว่างแบบหล่อ ซึ่งอาจทำให้เกิดโพรงในคอนกรีตได้ การทำเช่นนี้จะทำให้คอนกรีตมีกำลังอัดต่ำลง ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งผู้ควบคุมงานนั้นควรคำนึงถึงอัตราส่วนผสมให้ถูก ต้องตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด ทำให้ดีเสียตั้งแต่แรกจะได้ไม่ต้องยุ่งยากลำบากใจทีหลัง

วิธีตรวจสอบรอยร้าวในบ้าน

      มาดูกันว่าเราจะมีวิธีสังเกตการณ์หรือตรวจสอบ อาการทรุดร้าวของอาคารบ้านเรือนของท่านในรูปแบบต่างๆ กันได้อย่างไรบ้างการสังเกตอาการของรอยร้าวที่เกิดขึ้นนั้น นับเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำอย่างละเอียดถี่ถ้วนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับนำมาใช้วินิจฉัยอาการทรุดร้าวที่ได้เกิดขึ้นซึ่งจะ เป็นผลดีต่อการแก้ไขที่ต้นเหตุได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไปไม่ต้องมานั่งแก้ กันซ้ำกันซ้อนเปลืองทั้งเวลาและเงินทองกันเปล่าๆ

      เริ่มต้นจากการพิจารณาดูว่ารอยร้าวที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นรอยร้าวชนิด เส้นเดียวหรือชนิดหลาย ๆ เส้น จำนวนและตำแหน่งของรอยร้าวดังกล่าว มีขนาดความกว้าง ความยาว และความลึกของรอยร้าวเท่าไร ทะลุถึงอีกด้านหนึ่งหรือไม่ ทิศทางของรอยร้าวเป็นเช่นใด เช่นอยู่ในแนวราบ แนวดิ่ง หรือทำมุมเท่าไหร่เมื่อเทียบกับแกนในแนวดิ่งและแนวนอนของอาคาร ทิศทางของรอยร้าวเมื่อเทียบกับแนวหลักของอาคาร ทิศทางของรอยร้าวเมื่อเทียบกับแนวของเหล็กเสริมนั้นเป็นเช่นไรและที่สำคัญ ต้องสังเกตดูว่ารอยร้าวนั้นหยุดการขยายตัวหรือยัง หากยังไม่หยุดร้าวแล้วรอยร้าวดังกล่าวนั้นจะกว้างมากขึ้นหรือยาวขึ้น หรือมีอาการทั้งสองอย่างเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน การตรวจสอบการร้าวนี้อาจทำได้เองง่ายๆ โดยการนำแผ่นกระจกหรือแผ่นพลาสติกแข็ง ชิ้นบาง ๆ นำมาติดขวางคร่อมรอยร้าวด้วยกาว อย่างดี เช่น Epoxy เมื่อรอยร้าวขยายกว้างมากขึ้นกระจกที่ติดขวางรอยร้าวไว้ก็จะแตกออกมาให้เห็น ได้ชัดเจน ในการสังเกตรอยร้าวนั้นควรจะต้องมีการทำเครื่องหมายไว้ ตรงปลายสุดของรอยร้าว จดบันทึกและเฝ้าสังเกตดูอาการร้าวดังกล่าวเป็นระยะ ๆ เช่น ทุก ๆ สัปดาห์หรือทุก ๆ เดือน เพื่อสำรวจแนวโน้มของอาการทรุดร้าวว่าหนักหนาสาหัส และลุกลามรวดเร็วเพียงใดเพื่อจะได้หาทางแก้ไขปรับปรุงซ่อมแซมเพื่อป้องกัน อุบัติภัย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการทรุดร้าวได้อย่างทันท่วงที

ที่มา:

พิจารณ์ แจ้งสว่าง

jarn tag

http://www.planban.net/home-and-design-knowled/27-2008-06-05-18-45-25/218-2008-09-13-03-09-46.htm

 



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.