" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับอุปกรณ์ห้องน้ำ สุขภัณฑ์  
Article ครบเครื่องเรื่องสุขภัณฑ์ ตอนที่ 2 ระวังจะตกคอห่าน

วันที่ลง : 25-Jun-2011
สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ  คงแปลกใจกันแล้วว่าทำไมผมใช้ชื่อตอนที่ 2 ว่า ระวังจะตกคอห่าน  มันมีที่มาครับเพราะว่าสมัยเด็ก ๆ คุณแม่ผมชอบหลอกอยู่บ่อย ๆ ว่าเวลาเข้าห้องน้ำห้องท่าว่าให้นั่งระวัง ๆ น่ะ ไม่งั้นจะตกไปตายแน่ ๆ ผมก็งงจนถึงทุกวันนี้ว่าทำไมแม่ผมชอบหลอกผมแบบนี้  โตขึ้นมาผมก็มาลองนั่งคิด ๆ ดูว่าทำไม ก็เลยลองเดา ๆ ดูว่าคงเพราะไอ้เจ้าคอห่านที่ว่าเนี่ย  อืม....มันใช้ทักษะอย่างสูงเหมือนกันน่ะ ในการนั่ง  ลองจินตนาการตามผมนะครับว่าท่าในการนั่งเป็นอย่างไร  แรกเริ่มเมื่อคุณเปิดประตูเข้าไปคุณจะพบเจ้าคอห่านจะติดตั้งอยู่มุมใดมุมหนึ่งของห้องน้ำ  เจ้าคอห่านนี้จะมีลักษณะเป็นหลุมอยู่ตรงกลางมีจุดที่เราเราเหยียบเพียงแค่ 2 จุด จากนั้นให้เราขึ้นไปยืนครับ ต้องบอกว่ายืนถ่างขาด้วยไม่งั้นตกลงไปอย่างที่แม่ผมบอกแน่ ๆ เมื่อขึ้นไปยืนแล้วก็นั่งครับ ไม่ใช่นั่งลงไปเลยนะครับนั่งยอง ๆ ครับ แล้วก็จัดการภาระกิจส่วนตัวซะ ทีนี้แหละ  ไอ้ตอนจะก้าวออกมาเนี่ยแหละมันช่างหวาดเสียวจริง ๆ ถ้าพลาดผมไม่อยากจะบรรยายเลยว่าสภาพมันจะเป็นอย่างไร  เอาล่ะพูดพร่ำมาซะยืดยาวแล้ว เราเริ่มไปทำความรู้จักกับมันกันเลยดีกว่า

ส้วมคอห่านหรือ สุขภัณฑ์นั่งยอง (แหม....ตั้งชื่อดูซะสวยหรูทีเดียว) เป็นสุขภัณฑ์ที่ต้องบอกว่าคนไทยนี่แหละครับเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นมาตั้งแต่ พ.ศ.2476 โดยพระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) อดีตสมุหเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการมณฑลพิษณุโลก  โดยท่านได้ทดลองทำหัวส้วมที่ช่องปล่อยทิ้งของเสียด้านใต้โถมีลักษณะเป็นท่อกลมที่โค้งกลับขึ้นด้านบนจึงสามารถขังน้ำไว้ในคอท่อนั้นได้ จากภาพประกอบจะสังเกตุได้ว่าท่อที่โค้งกลับขึ้นด้านบนนั้นมีลักษณะเหมือนคอห่านจริงผมยืนยันได้ครับ (ที่คอของห่านมีลักษณะโค้งดังภาพประกอบ)  ส้วมชนิดนี้ใช้น้ำราดให้อุจจาระตกลงไปในบ่อฝังอยู่ใต้ดิน แมลงวันจะไม่สามารถตามลงไปได้เพราะติดน้ำกั้นไม่ให้ลงไปอยู่ อุจจาระและน้ำในบ่อจะไหลซึมลงไปในดินจึงเรียกวิธีการนี้ว่า “ส้วมซึม”  ซึ่งไอ้เจ้าส้วมซึมนั้นชื่อมันก็ได้บอกอยู่แล้วครับว่าซึม คือเมื่อถ่ายเสร็จ อุจจาระปัสสาวะของเราก็จะลงไปในถังเก็บแล้วเจ้าถังเก็บด้านล่างจะไม่มีอะไรมารองครับ  ทุกอย่างก็จะค่อย ๆ ย่อยสลาย ตกตะกอนแล้วก็ซึมลงสู่ดินในที่สุด แต่เจ้าส้วมซึมนั้นก็ยังแก้ปัญหาเรื่องโรคระบาดได้ไม่หมดเพราะว่าของเสียมันยังซึมลงสู่ดิน แล้วก็ซึมไปเรื่อย ๆ ลงสู่แหล่งน้ำ เค้าจึงประดิษฐ์ถังเก็บขึ้นมาใหม่เป็นสองถัง ถังหนึ่งไว้เก็บของเสีย อีกถังหนึ่งไว้ระบายน้ำออกสู่บ่อซึม พอเมื่อมีการเก็บของเสียในรูปแบบนี้ขึ้นมา  ของเสียนี้มันก็ไม่มีที่จะไปและเมื่อมันเต็มก็ต้องพึ่งรถดูดส้วมนั่นเอง

 

สำหรับสุขภัณฑ์ชิ้นนี้ในปัจจุบันยังเป็นที่นิยมของคนไทย เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังติดวิธีการนั่งยอง ๆ แบบนี้อยู่ ขนาดคุณแม่ของผมเองยังไม่ยอมใช้สุขภัณฑ์แบบนั่งราบเลย  ถึงขนาดว่าสั่งสุขภัณฑ์แบบนั่งราบมาจะติดตั้งอยู่แล้วแม่ผมเห็นก็บอกให้คนส่งของว่าเอากลับไปเดี๋ยวนี้น่ะ เอาไปเปลี่ยนมาใหม่ สุดท้ายก็ต้องไปเปลี่ยนมาให้สมใจแม่ของผม แล้วสุขภัณฑ์ชิ้นนี้ก็ยังเป็นที่นิยมในห้องน้ำสาธารณะโดยทั่วไป  โดยการสังเกตของผมคือห้องน้ำสาธารณะส่วนใหญ่นั้นกว่า 80 % จะสกปรก ส่วนคนไทยเองก็รักสะอาด (เฉพาะตัวเอง) ก็ไม่กล้าที่จะนั่งทับรอยที่เค้านั่งไว้ก่อนหน้า  ก็จัดการขึ้นไปเหยียบสุขภัณฑ์นั่งราบแล้วก็นั่งยอง ๆ ทำภาระกิจมันซะเลย  คนสร้างห้องน้ำสาธารณะกลัวว่ามันจะพังก่อนถึงเวลาอันควร เค้าจึงสร้างให้มีสุขภัณฑ์ทั้งสองแบบไว้ให้เลือกใช้นั่นเอง 
สุขภัณฑ์นั่งยองจะมีให้เลือกทั้งแบบมีฐานและไม่มีฐานครับ วิธีการติดตั้งก็เหมือนกับการติดตั้งโถสุขภัณฑ์ทั่ว ๆ ไป คือต้องทำการวัดระยะท่อน้ำทิ้งกับโถสุขภัณฑ์ให้ชัวร์ก่อนการติดตั้ง ไม่งั้นต้องแก้ไขกันยาวครับ สำหรับระบบบ่อเกรอะหรือบ่อซึม ในปัจจุบันนี้มีการผลิตวงส้วมมาให้ติดตั้งกันง่ายขึ้น เราก็ทำเพียงแค่ขุดหลุมพอที่จะวางวงส้วมนี้ลงไปได้ก็เท่านั้นเอง ที่ผมเห็นนิยมส่วนใหญ่ก็จะใช้วงส้วมมากกว่า 3 หรือ 4 วงในการเป็นถังกักเก็บ แต่ก็จะมีบางบ้านที่จะใช้วงส้วมเองเป็นฐานสุขภัณฑ์สำหรับโถสุขภัณฑ์ที่ไม่มีฐานมาในตัว  ในว่าจะติดตั้งง่ายกว่าโถที่มีฐานมาให้อยู่แล้ว  และอีกเหตุผลหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่นิยมสุขภัณฑ์แบบมีฐานในตัวก็คงเนื่องมาจากฐานที่ว่านี้มันสูง แล้วสรีระร่างกายของแต่ละคนของสมาชิกในบ้านไม่เหมือนกันคือ บางคนเหยียบลงไปตรงที่วางเท้าได้พอดี บางคนเหยียบได้ครึ่งเดียวอย่างเช่นผมเอง  มันก็จะเสี่ยงอย่างมากในการนั่งปลดทุกข์  เปรียบได้กับการยืนอยู่บนที่สูงก็มักจะพลาดตกลงมาได้ง่าย  คงไม่มีใครอยากพลาดตกลงมาใช่ไหมครับ เพราะมันคงไม่ใช่แค่เจ็บอย่างเดียวคงได้มีอย่างอื่นแถมมาด้วย   พออ่านมาถึงตรงนี้ผมเชื่อว่าทุกคนคงได้รู้จักกับ คอห่าน หรือโถสุขภัณฑ์นั่งยองมากขึ้นอย่างแน่นอน  ครั้งหน้าผมจะพูดถึงโถสุขภัณฑ์อีกเช่นกันนั่นคือ “ชักโครก” กับตอนที่มีชื่อว่า    “ชักโครก....ชักครอก” แบบไหนถึงจะใช้ได้  แล้วพบกันใหม่สวัสดีครับ







ระพีพัฒน์

ข้อมูลประกอบจาก  วิกิพีเดีย

ภาพประกอบจาก    อเมริกันสแตนดาร์ด




ครบเครื่องเรื่องสุขภัณฑ์

ตอนที่ 1 กว่าจะมาเป็น “ส้วม” (ห้องน้ำ)

ตอนที่ 3 ชักโครก......ชักครอก แบบไหนถึงจะใช้ได้



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.