" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับงานประตู หน้าต่าง  
Article เคล็ดไม่ลับ กับการเลือกซื้อลูกบิดประตู : 2

วันที่ลง : 02-Aug-2011

จากบทความ เคล็ดไม่ลับ กับการเลือกซื้อลูกบิดประตู ที่ได้กล่าวถึงการเลือกซื้อ ว่าควรเลือกซื้อลูกบิดประตูแบบไหนให้เหมาะสมนั้น เราก็ได้จัดกลุ่มให้เจ้าลูกบิดประตูไว้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ลูกบิดแบบไม่มีกุญแจล็อค กับลูกบิดกุญแจแบบมีล็อค

ลูกบิดแบบไม่มีกุญแจล็อค ก็มีอยู่ด้วยกัน 6 แบบ คือ แบบPassage Latch, Exit door, Dummy Trim, แบบที่ใช้กับเฉลียง, ห้องน้ำและที่ใช้ในโรงพยาบาล ใครที่ได้อ่านบทความ เคล็ดไม่ลับ กับการเลือกซื้อลูกบิดประตู แล้วก็จะทราบว่าแต่ละแบบมีขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง แต่ถ้าใครที่ยังไม่เคยอ่านและไม่รู่ว่าเป็นแบบไหน หรือใครที่เคยอ่านแล้วแต่ก็ยังมีข้อสงสัยไม่แน่ใจ ก็สามารถคลิกจากลิงค์ เคล็ดไม่ลับ กับการเลือกซื้อลูกบิดประตู กลับไปอ่านได้เลยนะคะ

เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เรามาต่อกับลูกบิดประตูกลุ่มที่ 2 กันดีกว่านะ คือ ลูกบิดกุญแจแบบมีล็อค แค่ชื่อก็ฟังดูแตกต่างจากแบบแรก ถ้าจะอธิบายให้เห็นภาพก็คือ แบบแรก มีแต่ลูกบิด แบบที่สอง ก็จะมีลูกบิด กับลูกกุญแจ นั่นเอง

ลูกบิตกุญแจแบบมีล็อค ก็จะมีด้วยกันทั้งหมด 6 แบบ คือ แบบEntrance Lock แบบVestibule Lock สำหรับห้องเก็บของ ห้องเรียน แบบที่ใช้กับทางเดิน และห้องพักโรงแรม เป็นไงบ้างคะแค่อ่านชื่อแล้วรู้สึกคุ้นหน้า คุ้นตา คุ้นหู กันแล้วไหม เพราะเป็นลูกบิดแบบที่ใช้กันในชีวิตประจำวันและก็เป็นที่นิยมกันมาก ๆ

แบบที่ 1 Entrance Lock เป็นลูกบิดที่นิยมใช้กันทั่วไปในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็น บ้านหลังเล็ก หรือบ้านหลังใหญ่ ห้องเช่า ห้องพักต่าง ๆ ก็นิยมใช้กัน เพราะไม่รู้ว่าต้องใช้ลูกบิดแบบไหน กับห้องแบบไหน ก็เลยใช้แบบนี้ให้หมดเลยทุกห้อง เหมือนกับการสั่งอาหาร คิดอะไรไม่ออกก็ กะเพราไก่ ไข่ดาว (อาหารสิ้นคิด) อะไรประมาณนั้น

ลักษณ์ของลูกบิดแบบนี้ สังเกตง่าย ๆ ก็คือ ลูกบิตหน้าประตูบ้านเรานั่นเอง หลักการทำงาน กดล็อคลูกบิดจากด้านใน และใช้กุญแจไขจากด้านนอก ในการปลดล็อค หรือหมุนลูกบิดจากด้านในก็ปลดล็อคได้เหมือนกัน ตรงปุ่มที่กดล็อคบางรุ่นจะสามารถหมุนได้ด้วย ถ้ากดล็อคและหมุน การล็อคจะไม่คลายตัวเมื่อหมุนลูกบิดภายในหรือใช้กุญแจเปิดประตูก็ตาม แต่ถ้าปิดประตูเมื่อไหร่ประตูจะล็อคทุกครั้ง ใช้สำหรับประตูหน้าบ้านสำหรับคนขี้ลืม โดยเฉพาะประตูที่ควรล็อคตลอดเวลา แต่ก็อีกนั่นแหละ ถ้าเกิดลืมกุญแจเข้าบ้านขึ้นมาละก็ยุ่งแน่ ๆ เพราะถ้าไม่มีกุญแจสำรอง คงได้เตรียมตัวควักกระเป๋าซื้อลูกบิดอันใหม่เป็นแน่ ยังไงการกดล็อคลูกบิด แบบครั้งต่อครั้งก็ดีที่สุด อย่าลืมฝึกนิสัยให้ชินกับการกดล็อคลูกบิดนะคะ



แบบที่ 2 Vestibule Lock ลูกบิดแบบนี้ขอบอกตามเอียงเลย (ตามตรง) ว่าลูกบิดแบบนี้ไม่เคยใช้เลยคะ แต่เพื่อพวกเรา ก็เลยไปเสาะแสวงหามาไขข้อข้องใจให้ทราบกัน ลูกบิดชนิดนี้จะนิยมใช้กับประตูห้องโถงบริเวณทางเข้าของอาคาร เริ่ม อ๋อกันแล้วใช้ไหมคะ เพราะส่วนใหญ่เราไม่ได้เป็นคนเปิดนิเนอะ ส่วนใหญ่ ก็จะเดินผ่านเข้า-ออกไปเลย ก็เลยไม่ได้สังเกตว่ามันเป็นแบบไหน ลักษณะการทำงานของเจ้าลูกบิดประตูนี้จะปลดล็อคด้วยกุญแจด้านนอก ล็อคด้วยกุญแจด้านใน ลูกบิดด้านในเปิดได้ตลอดเวลา นั่นเอง

แบบที่ 3 ลูกบิดประตูที่ใช้กับห้องเก็บของ จะมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ

แบบธรรมดา 
ลูกบิดด้านนอกจะล็อคตายอยู่ตลอด จะต้องใช้กุญแจคลายล็อคจากภายนอกทุกครั้ง ส่วนลูกบิดด้านในสามารถเปิดได้ตลอดเวลาและไม่มีปุ่มให้กดล็อค
ส่วนแบบพิเศษ
มีลักษณะ ลูกบิดทั้ง 2 ด้านจะล็อคตายอยู่ตลอดเวลา ถ้าจะปลดล็อคก็ต้องใช้กุญแจไขทุกครั้ง เหมาะกับห้องเก็บของที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น ห้องเก็บของมีค่าต่าง ๆ
 

 

แบบที่ 4 ลูกบิดประตูที่ใช้กับห้องเรียน การใช้งานคือ ลูกบิดภายในสามารถหมุนเปิดออกได้ตลอดเวลาไม่มีปุ่มล็อค ส่วนลูกบิดด้านนอกจะล็อค หรือคลายล็อคด้วยกุญแจ ลูกบิดแบบนี้เหมาะกับโรงเรียนมาก ๆ เพราะถ้านึกถึงโรงเรียนแล้ว มองไปทางไหนก็มีแต่! ห้อง ห้อง แล้วก็ ห้อง (อย่าออกเสียงผิดเด็ดขาดนะคะ) ถ้าไม่มีลูกบิดแบบนี้ รับรองได้เลย ใครก็ตามที่เป็นนักการภารโรงคงต้องเหนื่อยกันแน่ ๆ คือ หน้าที่ของนักการภารโรง ก็จะมาเปิดห้องเรียนให้แต่เช้า โดยใช้กุญแจไข เวลาเข้าเรียนของ ครู และนักเรียนก็สามารถเปิด – ปิด ได้ตลอดเวลา แต่พอหมดเวลาเรียนของวันแล้ว นักการฯ ก็จะนำกุญแจมาบิดลูกบิดอีกครั้งเพื่อทำการล็อค แต่ไม่ต้องตกใจไปนะคะ สำหรับท่านผู้ปกครองว่า หากบุตรหลานของท่านยังคงอยู่ในห้องเรียน จะไม่โดนขังไว้หรือ? หายห่วงไปได้เลยค่ะ เพราะคนที่อยู่ข้างในห้องจะสามารถเปิดออกมาได้ตลอดเวลา ไม่โดนขังแน่นอน แต่เมื่อไหร่ที่ออกมาแล้วปิดประตู คนภายนอกก็จะเข้าห้องไม่ได้อีก ทำให้สะดวกในการควบคุมดีค่ะ


 

แบบที่ 5 ลูกบิดประตูที่ใช้กับทางเดิน นึกถึงทางเชื่อมระหว่างตึกค่ะ ติ๊ก ติ๊ก ติ๊ก บางที่ หรือบางแห่งจะมีประตูปิดไว้ก่อนจะเข้าตึกอยู่ค่ะเพื่อความปลอดภัย (จากหลาย ๆ อย่าง) ลักษณะการทำงานของลูกบิด ก็คือ เอาลูกบิดแบบที่ใช้กับเฉลียงมาผสมกับลูกบิดแบบ Entrance Lock (ลูกบิดประตูบ้านเรา ๆ นี่แหละ) ลูกบิดลูกครึ่ง การทำงานคือ เวลาล็อค จะล็อคด้วยกุญแจที่ลูกบิดด้านนอก หรือกดปุ่มล็อคที่ลูกบิดด้านใน เวลาปลดล็อคก็จะปลดด้วยกุญแจ โดยไขที่ลูกบิดด้านนอก หรือหมุนลูกบิดด้านใน หรือปิดประตู คือ ถ้าเราต้องการจะล็อค ก็ต้องปิดประตูแล้วค่อยล็อคนั่นเอง

 

มาถึงแบบสุดท้าย ลูกบิดประตูของห้องพักโรงแรม เวลาใครก็ตามที่ไปพักที่โรงแรม ก็ลองสังเกตดูนะคะ เพื่อความปลอดภัยของตัวเราและทรัพย์สิน ว่าห้องที่เราเข้าพักจะทำให้เราอยู่อย่างปลอดภัยหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว (แต่ไม่ใช่ว่าทุกโรงแรมจะใช้ลูกบิดแบบนี้นะคะ) ลูกบิดประตูแบบของโรงแรม ลูกบิดด้านนอกไม่สามารถบิดเปิดได้ ต้องใช้กุญแจไขเข้าไปภายในห้องพักเท่านั้น เมื่อกดปุ่มล็อคจากด้านใน จะใช้กุญแจเปิดจากภายนอกไม่ได้ ยกเว้นกุญแจฉุกเฉินพิเศษเท่านั้นจึงจะสามารถเปิดได้ แต่ปัจจุบันนี้หลาย ๆ โรงแรม ก็จะใช้คีย์การ์ด สแกนลายนิ้วมือ กดรหัส อะไรพวกนี้ ก็ทำให้เราปลอดภัยและสะดวกมากยิ่งขึ้น


เอ้า ครบหมดแล้วลูกบิดประตูแต่ละประเภท ที่นี้ เราก็สามารถเลือกซื้อลูกบิดประตูได้ถูกต้องตามการใช้งานแล้ว แต่ถ้าเราไม่มั่นใจว่าจะใช่แบบนี้หรือเปล่านะ ก็ลองถามกับพนักงานขายได้ เพื่อความ ชัวร์ !! และที่สำคัญที่สุด ก็คือ อย่าลืมวัดขนาดของช่องที่จะนำลูกบิดไปใส่ด้วยนะคะ จะได้พอดีกัน ถ้าไม่ลำบากก็นำลูกบิดตัวที่พังแล้ว ไปด้วยก็ได้นะ
ว่าแล้ว ก็ไปหาซื้อลูกบิดประตูใหม่ดีกว่า แหม๋ เขียนบทความเสร็จ ก็พังพอดี



หม่อม.N
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
rgbarchitects.com, บ้านและสวน.com, Homedd.com

 

*บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ www.ebuild.co.th ผู้ใดต้องการเผยแพร่กรุณาติดต่อ Webmaster eBuild.co.th

 



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.