" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับงานประตู หน้าต่าง  
Article การเลือกใช้ UPVC

วันที่ลง : 09-May-2011

ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่ผู้บริโภคมีทางเลือกใหม่ๆ มากมาย เราจึงต้องมีเกณฑ์ต่างๆ ในการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ
หน้าตา คุณสมบัติ ราคา แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ "วัสดุ" และท่ามกลางทางเลือกเหล่านี้สิ่งที่ต้องพิจารณา คือการที่
ผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ ได้เลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติได้ตรงกับหน้าที่ใช้สอยภายใต้สภาพแวดล้อมที่มันอยู่อย่างถูกต้องเหมาะสม

UPVC หรือที่นิยมเรียกกันว่าไวนิล (Vinyl) เกิดจากการผสม UPVC (Unplasticized Poly Vinyl Chloride)
ซึ่งเป็นสารปิโตรเคมี มีส่วนผสมของ PVC เป็นหลัก 70-85% ที่ไม่ใส่สารเสริมสภาพพลาสติกนั้นจะทำให้มีความคงตัวสูง
ไม่ยืดหยุ่น ไม่ซีดจางและทนทานต่อทุกสภาพทุกภูมิอากาศเหนือกว่า PVC ทั่วไป อีกทั้งมีการใส่สารเพิ่มประสิทธิภาพ
หลายชนิด เช่น สารเพิ่มความทนทานต่อสภาวะอากาศ (Complex Stabilizer), สารเพิ่มความทนทานต่อแรงกระแทก
(Impact Modifier), สารเพิ่มความทนทานต่อแสงแดดหรือรังสี (UV Stabilizer) เข้าไปด้วย

UPVC ในท้องตลาดบ้านเราจะเป็นสีขาวเนื่องจากมีส่วนผสมของไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide)
เพื่อป้องกันรังสี UV เหมาะกับสภาพเมืองร้อนอย่างบ้านเรา ทั้งยังทนกรด, ด่าง, น้ำมัน, แอลกอฮอล์ และสารเคมีต่างๆ
แต่ยกเว้นคลอรีน ทั้งยังเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีโดยเมื่อติดไฟจะดับได้ด้วยตัวเอง แต่แน่ล่ะค่ะลำพังเมื่อเกิดอัคคีภัยนั้น
ไฟไม่ได้ทำอันตรายมากเท่ากับควัน เมื่อถูกเผาให้ร้อนจะสลายตัวให้ไอพิษของ Phosgene ออกมา ตอนหนีไฟ
จึงต้องคลานต่ำเพราะควันจะลอยตัวสูง

UPVC จึงถูกคิดค้นขึ้นเพื่อตอบสนองผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนที่มีการใช้งานภายนอก โดยเฉพาะใช้ทำเป็นประตูหน้าต่าง
โดยสามารถใช้ทดแทนวัสดุจากธรรมชาติ เพราะระบบประตูหน้าต่าง UPVC จะมีความคงทนและแข็งแรง สามารถ
ทดแทนและกำจัดข้อด้อยของประตูหน้าต่างไม้และอะลูมิเนียมได้ คุณผู้อ่านท่านใดที่กำลังสร้างบ้านและกำลังมองหา
ประตูหน้าต่างใหม่ หรือเจ้าของบ้านเก่าที่ต้องการเปลี่ยนประตูหน้าต่างให้ดีกว่าเดิมหรือคิดจะเปลี่ยนใหม่อยู่นั้น
ขอนำเสนอดาวรุ่งพุ่งแรงที่มีคุณสมบัติติดตัวที่โดดเด่นดังนี้

1.เป็นทางเลือกของวัสดุธรรมชาติได้ดี คือการทนน้ำทนแดดทนรังสี UV การเชื่อมชิ้นส่วนต่างๆ ให้เป็นประตูหน้าต่าง
เป็นการเชื่อมด้วยความร้อนจนรอยต่อเชื่อมสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน (Fusion) ทำให้เหมาะแก่การผลิตเป็นกรอบหน้าต่าง
และประตู เนื่องจากสามารถขจัดปัญหาการกัดกินของปลวกและแมลงต่างๆ ที่มักเกิดกับไม้ และขจัดปัญหาการรั่วซึม
ของน้ำฝนบริเวณรอยต่อที่มักเกิดกับประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมได้ เนื่องจาก UPVC สามารถดูดซับน้ำได้น้อยมาก
คือ เพียง 0.1% เท่านั้น จึงไม่ผุเปื่อยบิดงอเมื่อเจอฝน

ทั้งนี้ส่วนผสมของ UPVC ต้องถูกนำไปเข้ากระบวนการรีดเส้น (Extrusion) ออกมา ตามการออกแบบหน้าตัด
ที่เรียกทับศัพท์ว่าโพรไฟล์ (Profile) ต่างๆ กันให้มีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพภูมิอากาศต่างๆ แล้วจึงเอาโพรไฟล์
เหล่านี้ไปประกอบเชื่อมต่อเข้ากันเป็นกรอบประตูหน้าต่าง ทั้งชุดบานเปิด, บานเลื่อน, บานสวิง, บานเฟี้ยม

ดังนั้นการเลือกประตูหน้าต่าง UPVC จึงสมควรอย่างยิ่งที่ต้องเลือกโพรไฟล์ที่มีคุณภาพดี อันจะส่งผลโดยตรงต่อ
อายุการใช้งานประตูหน้าต่างนั้นๆ เราควรเลือกโพรไฟล์ที่ผ่านการทดสอบภายใต้มาตรฐานสากล เช่น BS EN
12608 ซึ่งเป็นมาตรฐานโดยเฉพาะของผู้ผลิตประตูหน้าต่าง UPVC ซึ่งกำหนดโดย British Standards Institution
(BSI) ซึ่งใช้ในภาคพื้นยุโรปหรือ GBT8814 ของประเทศจีน ภายใต้มาตรฐาน BS EN 12608 เราสามารถหาข้อมูล
เกี่ยวกับประตูหน้าต่าง UPVC ที่เราต้องการได้ดังนี้

แบ่ง Class ของโพรไฟล์ตามความหนาเป็น

Class A  ผนังด้านนอกสุดทั้งสองด้านหนากว่า 2.8 มม.
Class B ผนังด้านนอกสุดทั้งสองด้านหนา 2.5-2.8 มม.
Class C ผนังด้านนอกสุดทั้งสองด้านบางกว่า 2.5 มม.

2.มาตรฐาน BS EN 12608 ยังได้ทดสอบความสามารถในการรับแรงกดที่จุดเชื่อมต่อ, ความแข็งแรงในการรับแรง,
การลามไฟ และอื่นๆ มากมาย อันสามารถอ้างอิงถึงคุณสมบัติที่ดีที่คุณสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกซื้อประตูหน้าต่าง
UPVC สำหรับบ้านของคุณได้อย่างสบายใจ

3.ในด้านการประหยัดพลังงาน เนื่องจากประตูหน้าต่าง UPVC มีค่าการนำความร้อนจากภายนอกเข้าสู่อาคารน้อยกว่า
อะลูมิเนียม จึงสามารถช่วยลดภาระของเครื่องปรับอากาศภายในตัวอาคาร อีกทั้งทนทานต่อแสงแดด (UV Protection)
ไม่ผุกร่อน ไม่บิดงอ ไม่เป็นเชื้อไฟ ทั้งยังป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก เพราะโพรไฟล์ที่ถูกออกแบบให้สามารถ
ดูดซับเสียงจากภายนอกได้ โดยโครงสร้างโพรไฟล์ที่ซับซ้อนเอง หรือที่รองรับการติดตั้งกระจก 2 ชั้นหรือด้วยซีลยาง
รวมเข้าด้วยกัน จะสามารถลดความดังของเสียงลงได้ 30 เดซิเบล (คลื่นเสียงการจราจรทั่วไปอยุ่ที่ 75 เดซิเบล)
ทำให้ประหยัดทั้งพลังงานไฟฟ้าและประหยัดเงินอีกด้วย

ทั้งนี้เพราะมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ คุณจึงสามารถดูแลรักษาและทำความสะอาดประตูหน้าต่าง UPVC
ได้เองแบบสบายๆ โดยใช้น้ำยาทำความสะอาด UPVC ที่มีวางขายทั่วไป ซึ่งมีทั้งแบบสเปรย์และแบบครีม หรืออาจใช้
น้ำยาล้างจานผสมน้ำสะอาดในอัตราส่วน 1 : 6 ใช้ฟองน้ำเช็ดถูแล้วใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ดตาม จากนั้นจึงเช็ดให้แห้ง
ด้วยผ้าสะอาดอีกครั้ง คราบสกปรกจะหลุดออกจากผิว UPVC โดยง่าย UPVC จึงยังคงมีผิวเรียบมันเงา ขาวนวล
สีคงทนตลอดอายุการใช้งานที่ยาวนาน


ที่มา : www.home.co.th



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

จิรศักดิ์ กาญจน

06-Nov-2020  09:28:21
เมื่อได้ผสมไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide)คุณสมบัติการทนต่อแสงยูวีโดยไม่จำเป็นต้องทดสอบตามมาตรฐาน BS EN 12608 แต่เมืองนอกอายุประกันไปถึง 20 ปีแล้วน่ะ










สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.