" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับไฟฟ้า  
Article เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ช่างไฟใช้กันมีอะไรบ้าง

วันที่ลง : 09-Sep-2011

ถ้าเอ่ยถึง ไฟฟ้า แน่นอนว่า มันกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ไปแล้ว แม้แต่ในบ้านของเราเองก็ตาม เราลองมาดูเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ช่างไฟนิยมใช้ หรือที่ช่างไฟจำเป็นต้องมีติดตัวเป็นประจำ ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อที่เวลาไฟฟ้าที่บ้านของเราดับ ชำรุด เราก็หาอุปกรณ์เหล่านี้มาซ่อมเองได้ แต่ก็ต้องคำนึงถึงการใช้งานด้วยนะค่ะว่า อุปกรณ์ชนิดไหนใช้ทำอะไร เก็บรักษาอย่างไร และมีวิธีใช้อย่างไรบ้าง

 

1. ค้อน สำหรับใช้งานไฟฟ้ามีหลายชนิด เช่น ค้อนหงอน ทำด้วยเหล็กด้านหน้าเรียบ หงอนด้านบนใช้ถอนตะปู ค้อนเหลียมเล็กใช้ตอกตะปูในการเดินสายไฟ 

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

     1)  อย่าใช้ค้อนงัดจนเกินกำลังจะทำให้ด้านค้อนหัก

     2)  รักษาผิวหน้าค้อนให้ราบเรียบเสมอกัน

     3)  ห้ามใช้ค้อนที่ชำรุด

     4)  หลังใช้งานแล้ว  ควรเช็ดให้สะอาด  ทาด้วยน้ำมัน เก็บไว้ในที่เก็บเครื่องมือ

2.  คีม  เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการเดินสายไฟมาก ใช้ตัด ดัด งอ โค้งและปอกสายไฟคีมที่มีด้ามเป็นฉนวนหุ้ม จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยในการทำงาน คีมที่ใช้ในการเดินสายไฟ พอจะแยกออกได้ป็น 4 ชนิด คือ คีมปอกสายและตัดสาย  คีมปากจระเข้  คีมปากจิ้งจก  และคีมย้ำหัว ต่อสาย

วิธีใช้และการบำรุง รักษา

1) ใช้คีมให้เหมาะกับงาน

2) ไม่ใช้คีมขันสกรูหรือเกลียว  เพราะจะทำให้ปากคีมเยิน

3) ไม่ควรใช้คีมต่างค้อน

4) ก่อนใช้ตรวจฉนวนหุ้มให้เรียบร้อย  ถ้าชำรุดห้ามใช้

5) เมื่อเลิกใช้ควรทำความสะอาดเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

คีมปากจรเข้


คีมปากจิ้งจก                          คีมย้ำหัว

คีมปลอกสายและตัดสาย

 

3.  ไขควง เป็นเครื่องมือที่จำเป็นอย่างยิ่งในงานไฟฟ้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ในบ้าน เช่น  ต่อฟิวส์ ใส่สวิตซ์ใส่ดวงโคม    ขันตะปูเกลียวหรือสกรูให้แน่น ถอนตะปูเกลียวออกจากที่ยึด ไขควงมีหลาย ชนิดตามลักษณะที่ใช้งาน คือ ไขควงปากบน   ไขควงปากสี่แฉก ไขควงบล็อก

 

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1) ไม่ควรใช้ไขควงแทนสกัดหรือค้อน

2) ไม่ควรใช้ไขควงที่เปื้อนน้ำมัน  เพราะอาจเกิดพลาดพลั้งกระแทกมือได้

3) ควรเลือกใช้ไขควงที่มีปากลักษณะเดียวกับชนิดของหัวสกรู

4) การใช้ไขควง ควรจับที่ด้ามของไขควงไม่ควรใช้คีมจับด้ามไขควงขันสกรู

5) ใช้ไขควงที่มีด้านเป็นฉนวนในงานช่างไฟฟ้า

6) ถ้าไขควงชำรุดต้องซ่อมทันที

7) หลีกเลี่ยงการใช้ไขควงถอดหรือคลายสกรูเก่าที่ชำรุด

8) เมื่อเลิกใช้แล้วควรทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

 

4.  สว่านเจาะไม้  ใช้ในการเดินสายไฟมาก เพราะบางครั้งต้องเจาะรู  เพื่อยึดอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น  พุกประกับลูกถ้วย กล่องไม้  ร้อยสาย  เป็นต้น  สว่านเจาะไม้มีหลายแบบหลายขนาด  เช่น  สว่านข้อเสื่อ  สว่านเฟือง  สว่านมือชนิดกระแทก  สว่านมือด้ามเหล็กและสว่านไฟฟ้าซึ่งใช้เจาะได้ทั้งไม้และผนังตึก  ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน

 

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1) เลือกสว่านให้เหมาะสมกับงาน

2) ใส่ดอกสว่านให้ตรงแน่นก่อนใช้งาน

3) ขณะเจาะต้องตั้งดอกสว่านให้ตั้งฉากกับชิ้นงาน  จับชิ้นงานไว้ให้แน่น

4) ถ้าต้องการเจาะรูโต  ควรใช้ดอกสว่านเล็กนำก่อน

5) ขณะเจาะควรคลายให้เศษวัสดุออกบ้าง เพื่อลดแรงกด  ทั้งป้องกันมิให้ดอกสว่านร้อนหรือหัก

6) หากชิ้นงานที่เจาะเป็นไม้  ก่อนทะลุควรกลับไม้เจาะด้านตรงข้ามเพื่อป้องกันไม่ให้แตก

7) การเจาะด้วยสว่านไฟฟ้าไม่ควรล็อกปุ่มกดสวิตซ์  และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

8) เมื่อเลิกใช้งานให้ถอดคอกสว่านออกจากตัวสว่าน  ทำความสะอาด เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

 

5.  มีด  ใช้สำหรับตัด  ปอก  ขูดหรือทำความสะอาดสายไฟ  ใช้มากในการเดินสายไฟฟ้า

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

การปอกสายไฟควรตะแคงมีดทำมุม 45 องศา กับสายไฟลักษณะเดียวกับการเหลาดินสอ อย่ากดใบมีดลึกจนเกินไป  เพราะใบมีอาจตัดถูกลวดทองแดงภายในขาด หรือ ชำรุดเสียหายได้

 

 

6.  เลื่อย  มีหลายชนิดหลายแบบทั้งขนาดและรูปร่าง เลื่อยที่ใช้สำหรับงานช่างไฟฟ้า คือเลื่อยปากไม้หรือเลื่อยรอปากไม้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันด้านบนเป็นเหล็กหนา มีฟันเลื่อยละเอียด ใช้สำหรับตัดปากไม้ในการเข้าไม้ต่าง ๆ ให้ประณีตเรียบร้อย

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1) อย่าปล่อยให้ใบเลื่อยเปียกน้ำ  ควรเก็บไว้ในที่แห้ง ไม่ชื้น

2) เมื่อแต่งฟันเลื่อย  พยายามให้ฟันเลื่อยอยู่ในรูปเดิม

3) อย่าวางเลื่อยให้ถูกแดดร้อนจัด

4) เมื่อเลิกใช้แล้วต้องทำความสะอาดชโลมด้วยน้ำมันเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

7.  หัวแร้งบัดกรี หัวแร้งที่ใช้ในการบัดกรี เพื่อเชื่อมหรือประสาน มีอยู่ 2 ชนิดคือ หัวแร้งชนิดเผาด้วยถ่าน และหัวแร้งไฟฟ้า หัวแร้งไฟฟ้าเหมาะที่จะใช้กับงานเดินสายไฟ และงานซ่อม งานประสานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ใช้ความร้อนไม่มากนัก

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1) ต้องรักษาปลายหัวแร้งให้สะอาดอยู่เสมอ

2) อย่าให้หัวแล้งบัดกรีร้อนจัดเกินไป

3) หัวแร้งเมื่อใช้แล้วต้องจุ่มน้ำกรดอย่างเจือจาง แล้วจึงเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

8.  เครื่องมือวัดไฟฟ้า เช่น มัลติมิเตอร์ ใช้วัดได้หลายอย่าง คือ โวลต์  แอมแปร์และโอห์ม

วิธีใช้และการบำรุงรักษา

1) ศึกษาวิธีใช้เครื่องมือวัดให้เข้าใจก่อนใช้ เพราะหากใช้ผิดจะเกิดความเสียหายได้ 

2) เลือกใช้เครื่องวัดให้ถูกกับชนิดของกระแสไฟฟ้า

3) ใช้แล้วต้องเก็บรักษาให้ดี อย่าให้ตกหรือกระทบกระเทือนมาก ๆ อาจชำรุดหรือเกิดความเสียหาย


วัสดุอุปกรณ์

1.  สายไฟฟ้า  เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าจนครบวงจร  สายไฟแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ชนิดสายเปลือย และชนิดสายหุ้มฉนวน

สายเปลือย เป็นสายที่ไม้มีฉนวนหุ้ม มักจะเป็นสายขนาดใหญ่ ใช้กับงานไฟฟ้าแรงสูง  มีทั้งสายที่ทำด้วยทองแดง และสายชนิดผสมอะลูมิเนียม สายไฟฟ้าตามถนนที่เป็นสายเปลือย ถ้าสัมผัสแม้โดยทางอ้อมก็อาจเกิดอันตรายได้

สายหุ้มฉนวน มักจะมีฉนวนหุ้มในลักษณะต่างๆ ฉนวนที่หุ้มสายอาจเป็นยาง ด้าย ไหม พีวีซี สายหุ้มฉนวนเป็นสายที่นิยมใช้กันตามอาคารบ้านเรือน  เพราะราคาถูกและใช้งานได้ดีสายไฟฟ้ามีหลายขนาด  การเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับการใช้สอยจึงเป็นสิ่งจำเป็นการเลือกใช้ขนาดสายไฟฟ้าในบ้าน (สายไฟฟ้าที่ใช้กับอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส)

 

ขนาดพื้นที่หน้าตัดของสาย (ตร.มม.)

ทนกระแสไฟฟ้า (แอมแปร์)

การนำไปใช้งาน

0.5

4

สายต่อชั่วคราว (ปัจจุบันไม่นิยมใช้)

1.0

6

ดวงโคม

1.5

8

สายปลั๊ก

2.5

14

สายเมนวงจรแสงสว่าง

4.0

19

สายเมนย่อยภายใน

6.0

27

สายเมนภายในบ้าน

10

35

สายเมนภายนอกบ้าน

2.         เข็มขัดรัดสาย ทำด้วยอลูมิเนียม มีรูตรงกลาง 1 - 2 รู แล้วแต่ขนาดของเข็มขัด รัดสาย ซึ่งมีขนาดเบอร์ต่างๆ กันตั้งแต่เบอร์ 0 - 6 รูตรงกลางนี้ใช้สำหรับตอกตะปูยึดกับผนังให้แน่น เข็มขัดรัดสายเบอร์ 0 สำหรับสายที่มีขนาดเล็กเส้นเดียว เข็มขัดรัดสายขนาดใหญ่ใช้กับสายไฟขนาดใหญ่ หรือสายไฟขนาดเล็กหลายๆ เส้นรวมกัน
3.   ตุ้ม หรือลูกถ้วยใช้สำหรับเดินสายนอกอาคาร  หรือในโรงฝึกงาน  เพื่อยึดสายให้แน่น เช่น ยึดสายไฟจากบ้านไปยังเสาไฟฟ้า ตุ้มมีหลายขนาดทั้งเล็กและใหญ่ตามขนาดของสายไฟ
4.  ตลับและกล่องแยกสาย  มีลักษณะกลมๆ  มีฝาเกลียวปิด ทำด้วยพลาสติก มีรูเจาะออกโดยรอบ 4 รู เพื่อสายไฟฟ้า  สำหรับกล่องแยกสายมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า   มีทั้งชนิดที่ทำด้วยไม้ เหล็ก และ พลาสติกเจาะสายได้ตามความ ต้องการ  ตลับและกล่องแยกสายใช้สำหรับต่อแยกสายไฟ เพื่อนำไฟไปใช้ในจุดต่างๆ และเพื่อความเรียบร้อยปลอดภัย
5.  ผ้าพันสายไฟ เป็นฉนวนใช้สำหรับพันสายไฟ  เมื่อต่อสายไฟเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันไฟฟ้าไม่ให้รั่วอาจทำให้เกิดอันตรายได้  ผ้าพันสายไฟฟ้ามีลักษณะเป็นม้วน  ทำด้วยวัสดุหลายอย่าง  เช่น  ยาง  ผ้า
6.  ฟิวส์  อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง  ซึ่งต่อไว้ในวงจรไฟฟ้าเพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้ามาเกินพิกัดของ ขนาดสายไฟ เพราะฟิวส์จะหลอมละลายตัดทางเดินของกระแสไฟ  ก่อนที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับไฟฟ้าขึ้น  ฟิวส์มีหลายชนิดและหลายขนาด  ได้แก่  ฟิวส์เส้นลวด  ฟิวส์ก้ามปู  และปลั๊กฟิวส์  ฟิวส์ก้ามปูและปลั๊กฟิวส์  สามารถเปลี่ยนได้ง่ายใช้สะดวก
7.  สะพานไฟหรือคัทเอาท์ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ตัดต่อกระแสไฟฟ้าในวงจร การใช้สะพานไฟต้องใช้ควบคู่กับอุปกรณ์อื่นๆ ด้วย เช่น ฟิวส์เส้นลวด
8.  ปลั๊ก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อกระแสไฟฟ้าชั่วคราว ไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้ามีลักษณะต่าง ๆ กัน แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ชนิดปลั๊กเสียบ หรือปลั๊กตัวผู้ และชนิดเต้ารับหรือปลั๊กตัวเมีย
9.  สวิตซ์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตัดต่อวงจรไฟฟ้าเมื่อเราต้องการ ส่วนใหญ่จะใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างภายในบ้านเรือน สวิตซ์ 2 ทาง (สวิตช์บันได) สามารถปิดเปิดไฟฟ้าได้ 2 จุด มักนิยมใช้กันตามบ้านเรือนทั่ว ๆ ไป


เครื่องมือและอุปกรณ์หาซื้อได้ตามร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ที่สำคัญอย่าลืมศึกษาวิธีใช้งาน จากคู่มือให้ละเอียด ถ้าไม่แน่ใจ ก็สอบถามกับคนขาย หรือช่างผู้ชำนาญงาน เพื่อความปลอดภัย กับตัวเราเอง และคนรอบข้างนะค่ะ

 

หม่อม.N



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

อาริสา

24-May-2013  20:17:15
อาริสา

24-May-2013  20:17:47
นนทกร ดีบุญพ่วง

13-Jun-2013  18:55:04
กดกดกด










สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.