" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับไฟฟ้า  
Article การประหยัดพลังงานระบบแสงส่ว่างในอาคาร

วันที่ลง : 12-Dec-2009

การประหยัดพลังงานระบบแสงส่ว่างในอาคาร

   ตาม พ.ร.บ. กำหนดไว้ว่า สำหรับพื้นที่สำนักงาน, โรงแรม, สถานศึกษา และ โรงพยาบาล/สถานพักฟื้น ค่ากำลังไฟฟ้าแสงสว่างสูงสุด (วัตต์ต่อตารางเมตรของพื้นที่ใช้งาน) ไม่เกิน 16 W/M2 หรือกรณีพื้นที่ร้านขายของ, ซูเปอร์มาร์เก็ต และศูนย์การค้า ไม่เกิน 23 W/M2 ทั้งนี้ให้สามารถคิดคำนวณพื้นที่ทั้งอาคารเฉลี่ยได้ โดยไม่รวมพื้นที่จอดรถ แต่รวมถึงไฟฟ้าแสงสว่างทั่วไปที่ใช้ในการโฆษณาเผยแพร่สินค้า ยกเว้น แสงสว่างที่ใช้ในตู้กระจกแสดงสินค้าหน้าร้าน

    ซึ่งข้อจำกัดดังกล่าว หากเลือกใช้และติดตั้งอุปกรณ์โคมไฟฟ้า, หลอดไฟ และ บัลลาสต์ สำหรับระบบแสงสว่างในอาคารอย่างไม่ระมัดระวัง ก็จะส่งผลให้เกิดการใช้กำลังไฟฟ้าแสงสว่างต่อพื้นที่เกินจากที่กำหนดไว้ ดังนั้นเราจึงควรเลือกใช้อุปกรณ์ระบบแสงสว่าง ที่มีความเหมาะสมและประหยัดพลังงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานอย่างสมบูรณ์งบประมาณ ด้วย

    ดังนั้นจึงควร
    1. พิจารณาเลือกความสว่างที่ต้องการใช้งานให้เหมาะสม ซึ่งโดยปกติผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้ค่าตามคู่มือการออกแบบทางวิศวกรรมการ ส่องสว่าง เช่น CIE หรือ IES โดยขึ้นอยู่กับประเภทพื้นที่ใช้งานนั่นเอง เช่น พื้นที่ทำงานทั่วไปของสำนักงานประมาณ 500 LUX เป็นต้น

    2. พิจารณา LPW ประสิทธิภาพแสงของหลอดไฟ และอุปกรณ์ประกอบ ซึ่งประสิทธิภาพแสงของหลอดไฟ (LUMINOUS EFFICACY) มีหน่วยเป็นลูเมนต่อวัตต์ ควรเลือกใช้หลอดไฟที่มีค่า Luminous efficacy สูง แต่ก็ควรคำนึงถึงระยะความสูงติดตั้งในการเลือกใช้ประเภทของหลอดไฟไว้ด้วย เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์จะมีประสิทธิแสงประมาณ 45-72 Im/w เหมาะสำหรับความสูงติดตั้งไม่เกิน 3.50 เมตร หากต้องการติดตั้งสูงกว่านี้ ควรเลือกใช้เป็นหลอดเมทัลฮาไลต์ หรือ หลอดโซเดียมแทน ซึ่งมีค่า Luminous efficacy สูงกว่า

    3. พิจารณาเลือกใช้โคมไฟ ที่ให้ค่าสัมประสิทธิ์การใช้ประโยชน์แสงสูง ซึ่งหน้าที่ของโคมไฟคืออุปกรณ์ควบคุมบังคับแสงให้ส่องไปในทิศทางที่ต้องการ โดยใช้อุปกรณ์ช่วยในการสะท้อนแสง เช่น เหล็กแผ่นพ่นสีขาวหรืออะลูมิเนียมเงาชุบอโนไดส์ มาทำเป็นแผ่นสะท้อนแสง ช่วยในการบังคับทิศทางการสะท้อนของแสงให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาแผ่นสะท้อนแสงให้มีค่าการสะท้อนแสงสูงมากขึ้น โดยใช้สารเงินเคลือบแผ่นอะลูมิเนียม ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะคือ

    แบบแรก ใช้ฟิล์มเงินปิดกาวทับลงบนแผ่นอะลูมิเนียม ซึ่งจะได้ค่าการสะท้อนแสงสูงมากถึง 93-94% แต่ก็มีปัญหาด้านอายุการใช้งานเมื่อใช้ไปนานๆ แสงอุลตราไวโอเลตจากหลอดไฟที่เปิดไว้หรือความร้อน, ความชื้นจากสภาพแวดล้อมจะทำให้แผ่นสะท้อนแสงพอง, เหลือง และลอกหลุดได้ มีอายุการใช้งานประมาณไม่เกิน 3-5 ปี

    แบบที่สอง คือ การนำแผ่นอลูมิเนียมที่ชุบอโนไดส์เงามาแล้วผ่านกรรมวิธีประจุอิออนเงินบน แผ่นอะลูมิเนียมเงา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงภายใต้สุญญากาศทั่วทั้งแผ่น (Dielectric Overvacuum Silver Coating) จะให้ค่าการสะท้อนแสงสูงมากถึง 95% และจะไม่มีปัญหาด้านอายุการเหมือนแบบแรกแต่อย่างใด อายุการใช้งานประมาณ 20 ปีขึ้นไป เป็นแผ่นสะท้อนแสงเงินที่มีประสิทธิภาพในการสะท้อนแสงสูงมากที่สุดใน ปัจจุบันนี้ เมื่อนำแผ่นสะท้อนแสงเงินดังกล่าวมาใช้เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ในการควบคุม บังคับแสงให้ส่องไปในทิศทางต่างๆ ซึ่งนิยมใช้ในโคมประเภทให้แสงสว่างทางตรง (Direct Luminlare) พวกโคมตะแกรงอะลูมิเนียม หรือโคมโรงงานมี Reflector จะทำให้ลดการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ของหลอดไฟได้เป็นอย่างดี

    นอกจากนี้ควรพิจารณาค่าการสะท้อนแสงของส่วนต่างๆ ของห้อง เช่น เพดาน, ผนัง และพื้น ถ้าส่วนต่างๆ เหล่านี้ได้รับการทาสีที่ให้ค่าการสะท้อนแสงสูง ก็จะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การใช้ประโยชน์สูงตามไปด้วย เนื่องจากปริมาณแสงที่ตกลงบนพื้นที่ทำงานส่วนหนึ่งได้มาจากโคมไฟโดยตรง แต่อีกส่วนหนึ่งได้มาจากการสะท้อนแสงจากส่วนต่างๆ ของห้องนั่นเอง

    4. พิจารณาการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ให้แสงสว่าง ได้แก่

    หลอดไฟและโคมไฟ ซึ่งถ้าได้รับการหมั่นดูแลทำความสะอาดเรื่องฝุ่นละอองหรือบำรุงรักษาเปลี่ยน หลอดไฟใหม่ เมื่อหมดอายุการใช้งานก็จะช่วยให้อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถให้แสงสว่างได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

    นอกจากปัจจัยที่กล่าวทั้ง 4 ข้อมานี้ ควรพิจารณาในเรื่องการให้ลักษณะแสงที่เหมาะสมแก่พื้นที่ใช้งาน เช่น พื้นที่ทำงานที่มีการทำงานกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ ห้องทำงาน, ห้องเรียน, ยิมเนเซียม ฯลฯ ควรให้แสงที่มีความสม่ำเสมอตลอดพื้นที่ โดยเลือกใช้โคมไฟที่มีค่ากระจายแสงที่สม่ำเสมอตลอดพื้นที่ โดยเลือกใช้โคมไฟที่มีค่ากระจายแสงที่สม่ำเสมอ (Unifornity Distribution) นั่นเอง หรือหากเป็นการให้แสงสว่างเฉพาะพื้นที่ เช่น ห้องทำงานขนาดเล็กส่วนตัว, บริเวณรับรอง, ทางเดินอิสระก็ควรแบ่งแยกสวิตซ์ควบคุมการทำงานแสงสว่างโคมไฟให้เหมาะสม เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานในส่วนที่ไม่จำเป็นต้องใช้ หรือหากต้องการใช้งานพื้นที่พิเศษก็ให้เพิ่มการติดตั้งโคมไฟเฉพาะพื้นที่ที่ ต้องการเท่านั้น ไม่ต้องเพิ่มโคมไฟเป็นจำนวนมากสำหรับส่องพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างเฉพาะจุด เท่านั้น

    เทคนิคสุดท้ายที่สามารถใช้ร่วมกับการประหยัดพลังงานสำหรับระบบแสงสว่างใน อาคารก็คือ การใช้แสงอาทิตย์มาช่วยร่วมกับแสงจากโคมไฟและหลอดไฟ ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกันระหว่างสถาปนิก, วิศวกรรมเครื่องกล ที่รับผิดชอบงานระบบปรับอากาศ และวิศวกรรมไฟฟ้าด้านแสงสว่าง

 โดย สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.