" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับหลังคา ผนัง เพดาน  
Article เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฉนวนกันความร้อน

วันที่ลง : 21-May-2010

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฉนวนกันความร้อน

เมืองไทยเป็นเมืองร้อน ไม่ว่าฤดูกาลใด ความร้อนมักมาเยือนก่อนเสมอ ๆ ดังนั้น ฉนวนเพื่อกั้นความร้อนจึงกลายเป็นวัสดุยอดฮิตที่เจ้าของบ้านได้รับคำแนะนำ จากผู้รับเหมา แล้วจะติดตั้งอย่างไรดี

การแก้ปัญหาอย่างหนึ่งซึ่ง จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าได้ก็คือ การปูฉนวนป้องกันความร้อน ซึ่งทำได้ไม่ยาก โดยเริ่มตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  ขั้นตอนแรกให้เราเปิดฝ้าเพดานดูก่อนว่าเป็นลักษณะอย่างไร มีสิ่งของหรือสิ่งกีดขวางอยู่หรือไม่ ขนาดกว้างยาวเท่าไหร่ แล้วเก็บของทำความสะอาดเท่าที่จะทำได้ แต่ต้องระวังสายไฟฟ้าให้ดี
ต่อมานำฉนวนกันความร้อนมาวางบนฝ้าเพดาน คลี่ฉนวนกันความร้อน ทำทีละแผ่น คลี่ตามแนวของฝ้าเพดานจนเต็มพื้นที่ ถ้าเหลือให้ใช้กรรไกรตัดออก แล้วใช้เทปใสหรืออลูมิเนียมฟอยล์ปิด เพื่อเป็นการป้องกันความชื้นและการฟุ้งกระจายของใยแก้วจากฉนวนป้องกันความ ร้อน เสร็จแล้วเปิดฝ้าจุดอื่นๆ เพื่อปูฉนวนกันความร้อนให้เต็มฝ้าเพดาน ในการปูฉนวนกันความร้อน ถ้ามีสายไฟฟ้าวางพาดบนฝ้าเพดานให้พิจารณาดูเอาเองว่าจะปูทับสายไฟฟ้าหรือปู ลอดใต้สายไฟฟ้าก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการซ่อมแซมในอนาคต ถ้าเป็นดวงไฟก็ให้เว้นระยะห่างเป็นรัศมีอย่างน้อย 3 นิ้ว เท่านี้เป็นอันเรียบร้อย ใช้เวลาไม่นาน แล้วยังช่วยเราประหยัดไฟฟ้าได้มากอีกด้วย ตอนนี้เรามาทำความรู้จักกับฉนวนกันความร้อนกันหน่อย ฉนวนกันความร้อนแบบประหยัดที่มีในบ้านเรานั้น มีราคาไม่แพง อีกทั้งยังหาซื้อไม่ยาก ราคาไม่แพง หาซื้อไม่ยาก ทำเองในประเทศ และ ติดตั้งด้วยวิธีกรรม ธรรมดาแบบช่างพื้นบ้านได้ น่าจะมีอยู่ ๔ ประเภท

1.แผ่นเงาสะท้อนความร้อน เป็นแผ่นบางๆมันวาว เช่น พวกอลูมินั่มฟลอยส์ ทำหน้าที่หลักคือ การสะท้อนรังสีความร้อนไม่ให้เข้ามาในบ้านเรา มักจะติดไว้ที่หลังคาเป็นส่วนมาก

2.แผ่นยิปซั่มบอร์ด เป็นแผ่นบางๆ ใช้กั้นผนังหรือทำฝ้าเพดาน บางแผ่นก็ติด แผ่นสะท้อนความร้อนเข้าไปด้วย แผ่นยิปซั่มบอร์ดนี้จะป้องกันการนำ ความร้อนได้

3.ใยแก้ว เป็นฉนวนกันความร้อนอีกตัวหนึ่ง มีลักษณะเป็นแผ่นฟูโปร่งด้วยเส้นใย สีเหลืองหรือสีขาว บางอย่าง จะมีแผ่นเงาสะท้อนรังสีความร้อนหุ้มอยู่ด้วย ความหนาโดยประมาณ ๒ - ๔ นิ้วฟุต น้ำหนักเบา ป้องกันความร้อนได้ดีมาก ใช้ติดตั้งทั้งที่ฝ้า เพดานและผนัง การติดตั้งก็ไม่ยาก

4.อิฐกันความร้อน เป็นอิฐสมัยใหม่ที่ตอนนี้เราผลิตได้แล้วในประเทศ เช่น พวกคอนกรีตมวลเบา ซึ่งมีรูพรุน อยู่ใน ก้อนคอนกรีตนั้น และ รูพรุนนั้นเอง ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน ใช้ก่อเป็นผนังเหมือนอิฐมอญ หรือคอนกรีตบล๊อคทั่วไป
  สิ่งที่ควรระวังคือ การก่ออาจจะต้องมีความระมัดระวังมากขึ้นกว่าการก่ออิฐมอญ เพราะหากก่อฉาบผิดกรรมวิธีที่เขากำหนดไว้ อาจจะต้องเจอ ปัญหาเรื่อง การแตกร้าวของปูนฉาบได้

ป้องกันความร้อนให้บ้าน

หน้าร้อนนี้ บ้านที่เคยให้ความร่มเย็นดูเหมือนจะสู้ไม่ไหวกับความร้อนที่รุนแรง เรามีหลากหลายวิธีคลายร้อนให้กับบ้าน บ้านเป็นที่พักผ่อนยามที่เราอ่อนล้าจากงานการที่ทำมาตลอดทั้งวัน หากว่าเมื่อกลับถึงบ้านแล้วรู้สึกถึงความรู้ภายในบ้านซึ่งไม่แตกต่างจากภาย นอก ทำให้เรารู้สึกไม่สบายทั้งร่างกายและจิตใจ
  วิธีการทำให้บ้านเย็นสบายมีหลากหลายวิธีเช่น ติดเครื่องปรับอากาศ ติดม่าน ติดฉนวนกันความร้อน ปลูกต้นไม้ใหญ่
  การติดตั้งเครื่องปรับอากาศเป็นวิธีที่ทำให้ห้องเย็นสบาย แต่เสียค่าใช้จ่ายสูง ไหนจะราคาของเครื่องปรับอากาศ ไหนจะค่ารักษาดูแลขณะใช้งาน อีกทั้งค่าไฟฟ้าที่พุ่งขึ้นอย่างน่าตกใจ
การติดม่าน ช่วยป้องกันแสงแดด ราคาถูกกว่าการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ แต่ลดความร้อนได้ไม่มากเท่าเครื่องปรับอากาศ อีกทั้งยังปิดบังไม่ให้ลมพัดผ่านเข้ามา การติดฉนวนป้องกันความร้อน เสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการติดม่าน แต่ถูกการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ให้ความเย็นได้มากกว่าการติดม่าน ฉนวนกันความร้อน ที่แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ ฉนวนป้องกันความร้อน ที่ทำจากใยแก้ว โฟม และ ฉนวนสะท้อนความร้อน มีลักษณะเป็นแผ่นมันวาว มีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อนก่อนการสะสมความร้อน บางท่านอาจใช้การระบายความร้อนโดยใช้ละอองน้ำรดบนหลังคาโดยใช้อุปกรณ์ เช่นสปริงเกอร์ ก็เป็นวิธีหนึ่งในการช่วยลดความร้อนไปได้มากเช่นกัน
ฉะนั้นการเลือกวัสดุป้องกันความร้อนขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน และงบประมาณราคาที่ตั้งไว้ด้วย แต่วิธีที่ดีที่สุด น่าจะเป็นการเตรียมพร้อมตั้งแต่เริ่มต้นสร้างบ้าน นั่นคือควรจะสร้างให้ตรงกับทิศทางลมที่สามารถผ่านเข้าออกได้สะดวก การจัดบ้านให้โปร่ง มีการระบายอากาศได้ดีก็เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการช่วยลดความร้อนไปได้มาก ถ้าบ้านคุณพอจะมีเนื้อที่อยู่บ้าง การปลูกต้นไม้รอบ ๆ บ้านจะทำให้บ้านร่มเย็นเพราะมีเงาไม้คอยคุ้มกันแดด อีกทั้งสีเขียวที่มองเห็นก็ทำให้ชื่นใจไม่ใช่น้อยในเมืองที่มีแต่ตึกเช่นนี้

ที่มา: http://www.thaiengineering.com/viewnew.php?id=330



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.