" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป  
Article ขั้นตอนการก่อสร้างที่ได้มาตรฐานและข้อกำหนด

วันที่ลง : 26-Jun-2009

ขั้นตอนการก่อสร้างเริ่มตั้งแต่งานฐานรากจนเสร็จสิ้น ล้วนต้องใช้ทักษะ ความรู้ความสามารถ เงินทุน การประสานของทุกฝ่าย จนได้เนื้องานที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานตามข้อกำหนด มีดังนี้

งานเสาเข็มฐานราก

                       

     เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงรูปตัว I ขนาด 22 ยาว 18.00 เมตร (2 ท่อน)ต่อกันด้วยวิธีการเชื่อมด้วยไฟฟ้าโดยรอบ เพื่อให้ได้มาตรฐานความมั่นคงแข็งแรงในการสร้างบ้าน ป้องกันข้อผิดพลาดในระหว่างทำการตอกเสาเข็มและเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ในขณะทำการตอกเสาเข็ม บริเวณปลายเสาเข็มจะถูกแรงกระแทกจากน้ำหนักลูกตุ้มเหล็ก ทำให้เนื้อคอนกรีตเสาเข็มบริเวณดังกล่าวอาจจะเสียหาย ดังนั้นเมื่อทำการตอกเสาเข็มแล้วเสร็จ จึงควรตัดปลายเสาเข็มทิ้งประมาณ 50 เซ็นติเมตร ก่อนทำการหล่อคอนกรีตฐานราก                      

ข้อพึงปฏิบัติ 
  1. ควรตัดปลายเสาเข็มออกความยาวประมาณ 50 เซ็นติเมตร เนื่องจากบริเวณปลายเสาเข็มได้รับความกระทบกระเทือนจากตุ้มเหล็กในขณะที่ทำการตอก จึงทำให้ปลายเสาเข็มบริเวณนั้นเสียกำลังในการรับน้ำหนัก

  2. ทำการปรับระดับก้นหลุมด้วยทรายหยาบ และเทคอนกรีตหยาบรองพื้น(1 : 3 : 5) ความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อให้เทคอนกรีตฐานรากได้ระดับเสมอกัน และป้องกันมิให้น้ำปูนไหลออกจากแบบหล่อคอนกรีต 
  3. เมื่อตัดเสาเข็มแล้วควรโผล่ปลายเสาเข็มไว้ สูงกว่าระดับคอนกรีตหยาบรองพื้น ประมาณ 15 - 20 เซ็นติเมตร เพื่อให้เสาเข็มฝังเข้าไปในคอนกรีตฐานรากที่เท ทำให้ยึดเหนี่ยวกันมั่นคงยิ่งขึ้น 
  4. เหล็กเสริมควรมีระยะห่างจากแบบหล่อคอนกรีต หรือผิวคอนกรีตอย่างน้อย 5 เซนติเมตร เพื่อหลีกเลี่ยงความชื้นจากใต้ดินกับเนื้อคอนกรีตที่เทหุ้มเหล็กเสริมไว้  

                        

     พื้นอาคารทั่วไปใช้พื้นสำเร็จรูปชนิดท้องเรียบ รับน้ำหนักปลอดภัยได้ 200 กิโลกรัม / ตารางเมตร ซึ่งโดยปกติกฎหมายกำหนดไว้ 150 กิโลกรัม / ตารางเมตร ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงแข็งแรง และมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น สำหรับการเลือกใช้พื้นสำเร็จรูปชนิด 3 ขา ของบริษัทผู้ผลิตแผ่นพื้น PCM แทนการใช้แผ่นพื้นชนิดท้องเรียบ(แบบเดิม) ทั้งนี้เพราะจุดเด่นของแผ่นพื้นชนิด 3 ขา คือเมื่อติดตั้งแผ่นพื้นไม่ต้องทำการค้ำยันกลาง เนื่องจากแผ่นพื้นถูกออกแบบมาเป็นคานรับน้ำหนักในตัวอยู่แล้ว ทำให้แผ่นพื้นไม่แอ่นกลางขณะติดตั้งและเทคอนกรีตทับหน้า

ข้อพึงปฏิบัติ 
  1. พื้นสำเร็จรูปควรใช้ชนิด 3 ขา เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจากการแอ่นตัวของพื้น ขณะที่ทำการเทคอนกรีตทับหน้า 
  2. การค้ำยันถ้าความยาวแผ่นพื้นเกินกว่า 4.00 เมตร ควรมีค้ำยันชั่วคราวตามแนวกึ่งกลางของความยาวแผ่นพื้น 
  3. หลีกเลี่ยงการสกัดหลังคาน ค.ส.ล. เพื่อปรับระดับการวางแผ่นพื้น 
  4. การเทคอนกรีตทับหน้า(Topping) ให้ใช้ตระแกรงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. ระยะห่าง 20 เซ็นติเมตร ความหนาคอนกรีตทับหน้า 4 เซ็นติเมตร หรือตะแกรง Wire Mesh ขนาด 4 มม. @ 20 เซนติเมตร ควรหลีกเลี่ยงการเทคอนกรีตทับหน้าหนากว่าที่กำหนด เพราะจะทำให้เพิ่มการรับน้ำหนักของพื้นและโครงสร้างอาคาร 
  5. คอนกรีตพื้นชั้นล่างควรผสมน้ำยากันซึม เพื่อป้องกันความชื้นจากพื้นดินที่อาจส่งผลกระทบต่อวัสดุปูผิวพื้น เช่น กระเบื้อง ไม้ปาร์เกต์ เป็นต้น โดยได้รับความเห็นชอบจากวิศวกร

 



 

งานคอนกรีต

                           

     ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคารมีความสำคัญยิ่ง ที่จะทำให้บ้านที่สร้างมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญกับ คอนกรีต ในงานโครงสร้างอาคาร โดยการเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานในงานโครงสร้าง เสา, คาน, และพื้น เพราะสามารถควบคุมคุณภาพและส่วนผสมของ ปูนซิเมนต์ หิน ทราย และน้ำ ตามมาตรฐานวิศวกรรม ทำให้ได้คุณภาพที่แน่นอน กว่าการใช้โม่ผสมเอง ไม่เกิดความเสียหายแก่คอนกรีตโครงสร้าง และทำให้บ้านมีอายุการใช้งานยาวนาน

     นอกจากนี้ในส่วนของโครงสร้างคานชั้นหลังคานั้น วิศวกรของบริษัทฯ ได้กำหนดเป็นมาตรฐาน โดยให้คานโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเท่านั้น(ไม่ใช้เหล็กรูปพรรณ) ทั้งนี้เพื่อให้โครงสร้างของบ้านมั่นคงแข็งแรง มีความคงทนและมีอายุการใช้งานของอาคารที่ยาวนานขึ้น

ข้อพึงปฏิบัติ 
  1. การเทคอนกรีตโครงสร้างแต่ละประเภท ควรเทคอนกรีตให้ต่อเนื่องจนแล้วเสร็จในคราวเดียว ถ้าต้องมีการหยุดเทคอนกรีตให้หยุดเทคอนกรีตได้ตามตำแหน่งที่วิศวกรกำหนด เช่น เสา หยุดเทที่ระดับท้องคานที่เสารองรับและต้องเป็นแนวระดับ , คาน หยุดเทได้ที่กึ่งกลางคานและแนวที่หยุดต้อเป็นแนวดิ่ง ฯลฯ เป็นต้น 
  2. ขณะเทคอนกรีต ควรให้มีผู้ควบคุมงานหรือวิศวกรอยู่ประจำระหว่างเทคอนกรีต เพื่อคอยควบคุมการเทคอนกรีตให้เป็นไปตามข้อกำหนด

งานผนังคอนกรีตมวลเบา

                              

     ปัจจุบันเราให้ความสำคัญในการเลือกวัสดุก่อสร้างบ้าน ที่จะช่วยให้ประหยัดการใช้พลังงานภายในบ้าน โดยการเลือกใช้คอนกรีตมวลเบาหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า อิฐมวลเบา มาใช้ในการก่อผนังบ้านแทนอิฐมอญ ทั้งนี้เพราะมีคุณสมบัติช่วยลดและระบายความร้อนภายในอาคารได้ดี ปกติจะมีขนาดความหนาให้เลือกใช้ คือ 7.5 , 10 และ 12 เซนติเมตร ฯลฯ ซึ่งจะมีราคาแตกต่างกัน โดยทั่วไปพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเลือกใช้ความหนา 7.5 เซนติเมตร เนื่องจากมีราคาถูกกว่า ท่านจึงควรสอบถามรายละเอียดให้ดี แต่ทั้งนี้เราขอแนะนำให้ท่านเลือกใช้ขนาดความหนา 10 เซ็นติเมตร เพราะมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าแต่อาจต้องจ่ายเพิ่มอีกเล็กน้อย ดังเช่นที่ ปทุมดีไซน์ เน้นและให้ความสำคัญกับคุณภาพ จึงเลือกใช้ขนาดความหนา 10 เซนติเมตร

ข้อพึงปฏิบัติ 
  1. ใช้อิฐมวลเบา ขนาด 7.5 สำหรับงานผนังโชว์ เช่น ก่อเสาโชว์ ผนังเหนือคานหลังคา เป็นต้น  
  2. อิฐมวลเบา ขนาด 10 ซม. สำหรับงานผนังทั่วไป  
  3. ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือตามที่ผู้ผลิตแนะนำ เช่น เกรียงก่อฟันปลา , สว่านไฟฟ้าและหัวปั่นปูน เพื่อให้งานเรียบร้อยถูกต้องตามที่กำหนด 
  4. จะต้องก่อด้วยวิธีสลับแนวระหว่างแถวชั้นบนถัดไป ให้แนวที่เหลื่อมกันมีระยะไม่น้อยกว่า 10 ซม. 
  5. ปลายก้อนที่ก่อชนเสาโครงสร้าง หรือเสาเอ็นจะต้องยึดด้วยแผ่นเหล็ก Metal Strap ยาวประมาณ 20 ซม. ติดเข้ากับเสาด้วยตะปูคอนกรีต หรือพุกสกรูทุกระยะ 2ชั้น ของ Block 
  6. มุมกำแพงทุกมุมกรณีไม่ทำเสาเอ็น ค.ส.ล. ให้ก่อประสานเข้ามุม (Interlocking) 
  7. ในการก่ออิฐต้องให้เนื้อปูนก่อเต็มรอยต่อของแผ่นอิฐโดยรอบแผ่น(ไม่มีช่องว่าง) 
  8. ระดับอิฐก่อใต้ท้องวงกบ ควรอยู่ต่ำกว่าระดับท้องวงกบประมาณ 3 – 5 ซม.



งานฉาบปูน

                                

     จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและข้อกำหนดของผู้ผลิตปูนซเมนต์ชนิดฉาบ ผิวปูนฉาบจะต้องเรียบสม่ำเสมอกัน โดยเฉพาะบริเวณมุมผนัง มุมเสา จะต้องฉาบแต่งให้ได้มุมฉาก ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยการใช้แผ่นกระเบื้องเคลือบหรือเหล็กฉากทาบเข้าบริเวณมุมผนัง นอกจากนี้บริเวณตำแหน่งที่ทำการฝังบล็อคไว้ในผนังก่ออิฐเพื่อติดตั้งสวิตท์ - ปลั๊ก ควรตกแต่งผิวปูนโดยรอบเพื่อความเรียบร้อยของงานฉาบ 

ข้อพึงปฏิบัติ 
  1. ก่อนฉาบให้ทำการติดลวดตาข่าย เช่น มุมวงกบ – ด้านล่าง - บนประตู - หน้าต่าง, รอยต่อเสาคาน 
  2. ใช้ปูนฉาบชนิดฉาบคอนกรีตมวลเบาเท่านั้น ห้ามใช้ปูนฉาบชนิดธรรมดา ฉาบบนผนังคอนกรีตมวลเบา เพราะมีโอกาสหลุดร่อน และแตกร้าวสูง เพราะไม่มีคุณสมบัติยึดเหนี่ยวเพียงพอ 
  3. บริเวณมุมหรือขอบผนัง ให้ใช้เซี้ยมสำเร็จรูป ซึ่งจะทำให้งานเสร็จเร็ว และคุณภาพดีขึ้น

ที่มา:http://www.planban.net/construction-management/66.html



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

ayuth

14-Oct-2012  15:11:01
สิ่งดีดีควรเก็บไว้
Noi

15-May-2013  17:12:29
รบกวนสอบถามครับ ท่อสแตนเลส เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว.หนา 1 มม.ยาว 10.7 ม.น้ำหนักอยู่ที่เท่าไหร่ครับ
ชัยมงคล

21-Oct-2015  20:57:45
อยากทราบราคาท่อสแตนเลสกลม ขนาด1" หนา 2.4 มม. และ ขนาด 2" หนา 2.4 มม.
ทิวาพร

22-Feb-2017  15:58:16
รบกวนสอบถามราคา ท่อสแตนเลส 2" SCH5S ยาว 6เมตร
ธนรัตน์

17-Mar-2017  21:43:55
ขอราคาท่อสแตนเลส 12" หนา4มิล ครับ










สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.