" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป  
Article พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535

วันที่ลง : 18-Jun-2009

     ปัจจุบันนี้เกิดกระแสตื่นตัวในเรื่องของการอนุรักษ์พลังงานอย่างมาก เพราะผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน (Global Warming) ในส่วนของภาคที่อยู่อาศัย ก็มีแนวคิดสร้างบ้านประหยัดพลังงานขึ้นด้วยเช่นกัน

      สำหรับอาคารขนาดใหญ่ที่มีการใช้พลังงานสูงนั้น ภาครัฐได้มีการตรากฎหมายพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและเท่าที่จำเป็น และสนับสนุนวิธีการหรือมาตรการที่สามารถลดการสูญเสียพลังงานลงได้

      มุ่งเน้นที่จะให้มีการอนุรักษ์พลังงานโดยใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ สูงและลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าตามสายส่ง รวมถึงการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัดของผู้บริโภคและสร้างจิตสำนึกในการ บริโภคพลังงาน

     พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดลักษณะอาคารที่ถือเป็นอาคารควบคุมเพื่อประโยชน์ ในการอนุรักษ์พลังงานไว้ ได้แก่ อาคารที่มีการใช้พลังงานโดยใช้เครื่องวัดไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าชุดเดียวหรือหลายชุดรวมกัน มีขนาดตั้งแต่ 1,175 กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไป และอาคารที่ใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่ 1 ม.ค. ถึงวันที่ 31 ธ.ค. ของปีที่ผ่านมา โดยมีปริมาณพลังงานทั้งหมดเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าตั้งแต่ 20 ล้านเมกะจูลขึ้นไป

     ซึ่งผู้ที่เป็นเจ้าของอาคารควบคุมมีหน้าที่ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานให้เป็น ไปตามมาตรฐานที่กำหนดและมีหน้าที่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต การใช้พลังงานและอนุรักษ์พลังงาน การกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานของอาคารควบคุม รวมทั้งตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน และรายงานผลให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

     อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มีการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2551 ที่ปรับปรุงจากปี 2535 กำหนดให้อาคารสร้างใหม่ประเภท โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า ไม่รวมอาคารที่พักอาศัยและสถานที่ราชการที่มีพื้นที่ 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป ต้องมีการออกแบบให้ประหยัดพลังงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้

     โดยจะควบคุมตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบอาคารหรือก่อนยื่นใบอนุญาตก่อสร้าง ให้เป็นอาคารที่มีการประหยัดพลังงาน แตกต่างจากพระราชบัญญัติฉบับเก่าที่ควบคุมหลังจากอาคารก่อสร้างแล้วเสร็จและ ควบคุมเฉพาะอุปกรณ์ประกอบอาคารเท่านั้น นอกจากนี้จะกำหนดมาตรฐานกลางขึ้นและกำหนดสเปกมาตรฐานของวัสดุก่อสร้างที่ใช้ ก่อสร้าง โดยแตกต่างกันไปในอาคารแต่ละประเภท ซึ่งทุกระบบภายในอาคารจะต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และมีแนวคิดจะให้กรมโยธาธิการและผังเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย เพื่อให้ได้ผลในทางปฏิบัติจริง

ที่มา: ข้อมูลจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.