" รู้อย่างช่าง สร้างอย่างปราชญ์ "

 


Knowledges



Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
Banner Web eBuild
หน้าหลักบทความ     บทความเกี่ยวกับประปา สุขาภิบาล  
Article ชนิดของเครื่องสูบน้ำ ดับเพลิง (Fire pump)

วันที่ลง : 31-Jul-2010

ชนิดของเครื่องสูบน้ำ ดับเพลิง (Fire pump)

  เครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire pump) และอุปกรณ์ควบคุม มีเกณฑ์กำหนดที่แตกต่างไปจากเครื่องสูบน้ำธรรมดา ที่มีการติดตั้งเป็นประจำ เครื่องสูบน้ำธรรมดามีการใช้งานและดูแลรักษาอยู่เป็นประจำ ส่วนเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire pump) มีการใช้งานเฉพาะระยะเวลาทดสอบระบบและเมื่อเกิดเพลิงไหม้เท่านั้น ถึงแม้ว่าระยะเวลาใช้งานและทดสอบจะน้อยมาก แต่เราก็ต้องการให้ระบบดับเพลิงสามารถทำงานได้ทันทีที่ต้องการเครื่องสูบน้ำ ดับเพลิง (Fire pump) และอุปกรณ์ควบคุมจะต้องได้รับการออกแบบให้ทำงานได้ในภาวะฉุกเฉินหลายอย่าง พร้อมๆกัน เช่น ในขณะมีลมพายุ ฟ้าผ่า เป็นต้น โดยมิต้องมีคนคอยควบคุมอยู่ด้วย ในขณะที่เครื่องสูบน้ำธรรมดาได้รับการป้องกันจากไฟฟ้าลัดวงจร แรงดันไฟฟ้าต่ำหรือสภาพความเสียหายอื่นๆ แต่เครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire pump) จะต้องได้รับการออกแบบให้ทำงานต่อไปไม่ว่าจะอยู่ในภาวะใดเพื่อการจัดส่งน้ำ สำหรับการผจญเพลิง ดังนั้นเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire pump) และอุปกรณ์ควบคุมจึงต้องมีข้อกำหนดพิเศษออกไป ในสหรัฐอเมริกาผู้ที่วางข้อกำหนดของอุปกรณ์สำหรับระบบเหล่านี้ คือ Underwriters Laboratories Inc. (UL) หรือ Factory Mutual Engineering Association (FM) สำหรับคุณลักษณะของการสูบน้ำ NFPA ได้วางเกณฑ์กำหนดเอาไว้ว่า

 


สูบน้ำดับเพลิง (Fire pump) แบบ Horizontal split case centrifugal pump

-เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง (Centrifugal pump)  และแบบเทอร์บายน์ (vertical turbine pump) จะต้องสามารถจ่ายน้ำได้ 150% ของที่ระบุ (rate flow rate) โดยที่ให้ความดันน้ำไม่น้อยกว่า 65% ของที่ระบุ (rate head)

- เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง (Centrifugal pump) จะต้องให้ความดันน้ำในขณะที่ไม่มีการไหลไม่เกิน 120% ของความดันระบุ ส่วนเครื่องสูบน้ำแบบเทอร์บายน์จะต้องให้ความดันน้ำไม่เกิน 140% ของความดันระบุในขณะที่ไม่มีการไหล

 

การติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire pump) แบบ Horizontal split case centrifugal pump

 



 

Vertical shaft turbine pump installation in wet pit

ข้อกำหนดดังกล่าวนี้มีความหมายว่า เครื่องสูบน้ำจะต้องเป็นแบบที่มี flat curve หรืออีกนัยหนึ่งเมื่ออัตราการสูบน้ำเปลี่ยนไป ความดันที่เครื่องสูบน้ำจะให้กับระบบท่อจะไม่เปลี่ยนแลงไปมากนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีความดันน้ำที่สายสูบอย่างเพียงพอ

 ชนิดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire pump)
เครื่องสูบน้ำที่ใช้ในการดับเพลิงมากที่สุดมีอยู่ 2 แบบคือ

 - Horizontal shaft, double suction, split case centrifugal pump

- Vertical turbine pump

 เครื่องสูบน้ำชนิดแรกมักจะใช้กับระบบดับเพลิงซึ่งมี ระดับน้ำในถังเก็บน้ำสูงกว่าระดับของเครื่องสูบน้ำ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยง suction lift และการใช้ foot valve หรือมิฉะนั้นก็ต้องดูดโดยตรงจากท่อเมนประปา ในกรณีที่ระดับเครื่องสูบน้ำชนิดนี้อยู่สูงกว่าระดับน้ำในถังเก็บน้ำ ก็จะต้องจัดให้มี priming tank เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องสูบน้ำ พร้อมที่จะส่งน้ำให้กับระบบดับเพลิงได้ตลอดเวลา เครื่องสูบน้ำชนิดนี้ดังแสดงในรูป

 โดยทั่วไปเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire pump) ที่ใช้ในโครงการจะเป็นชนิด Horizontal split case centrifugal pump โดยจะทำหน้าที่สูบน้ำ จากบ่อกักน้ำที่มีระดับต่ำกว่า,เท่ากัน, สูงกว่าเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire pump) การต่อท่อทางด้านดูดอาจจำเป็นต้องใช้ข้อลด ในกรณีที่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อน้ำดับเพลิง มีขนาดไม่เท่ากันกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางทางด้านดูดของเครื่องสูบน้ำ ข้อลดที่ติดตั้งในแนวนอนต้องเป็น ข้อลดเยื้องศูนย์ (Eccentric reducer) เสมอ ทั้งนี้หากบ่อกักน้ำมีระดับต่ำกว่า หรือเท่ากับเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire pump) การติดตั้งข้อลดเยื้องศูนย์จะต้องให้ด้านบนเรียบ แต่ถ้าบ่อกักน้ำมีระดับสูงกว่า การติดตั้งข้อลดเยื้องศูนย์จะต้องให้ด้านล่างเรียบ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิด Air pocket และสามารถไล่อากาศออกจากท่อง่ายที่สุด อีกประการหนึ่ง ข้องอที่ใช้ต่อต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับท่อน้ำดับเพลิง ห้ามมิให้ใช้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เท่ากับขนาดของด้านดูดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire pump) โดยเด็ดขาด

 


การติดตั้งข้อลดเยื้องศูนย์บริเวณเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire pump) ที่ถูกต้อง

ในกรณีที่มีพื้นที่ในการติดตั้งจำกัด ผู้ออกแบบอาจเลือกใช้ vertical shaft, double suction, split case centrifugal pump ก็ได้ เครื่องสูบน้ำชนิดนี้ใช้พื้นที่เพียง 1/3 ของแบบแรกที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น ถ้าถังเก็บน้ำอยู่ใต้ดินระดับต่ำกว่าเครื่องสูบน้ำ ควรจะใช้ vertical turbine pump ซึ่งสามารถติดตั้งให้ตัวสูบจุ่มอยู่ในน้ำได้

ข้อมูลจาก: หนังสือการออกแบบระบบท่อภายในอาคาร ดร.วริทธิ์ อึ๊งภากรณ์

ที่มา :http://iecm.co.th/



TAG :

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ชื่อ
Comment
กรุณาป้อนข้อมูลตามที่ปรากฏ

ข้อความในส่วนแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็นข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาส่ง email มาที่ feedback@ebuild.co.thเพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้











สินค้าหมวดสถาปัตย์
สินค้าหมวดโครงสร้าง
แหล่งความรู้
eBuild Team
www..co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Privacy Policy
Copyright 2009 Ebuild Co., Ltd. All Rights Reserved.